ชีวิตดีสังคมดี

ผ่าร่าง 'ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร' ใช้ปี 68  แจกโบนัส ปลดล็อกพื้นที่เขียวลาย

ผ่าร่าง 'ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร' ใช้ปี 68 แจกโบนัส ปลดล็อกพื้นที่เขียวลาย

02 ส.ค. 2566

ผ่าร่าง 'ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร' แจกโบนัสเอกชนเพิ่มพื้นที่ให้อีก 20 % หากทำแล้วสาธารณะได้ประโยชน์ ปลดล็อกพื้นที่เขียวลายรองรับเมืองโต ตั้งเป้าปี 2568 ประกาศใช้

กรุงเทพมหานครเมืองหลวงที่เติบโตแบบก้าวกระโดด โดยเแพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ที่ยิ่งทำให้ความเจริญกระจายไปตามพื้นที่ชายขอบ ดังนั้นการปรับปรุงผังเมืองกรุงเทพมหานครจึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ทันต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงขอพื้นที่ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครให้ "ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร" ปี 2556 กว่า 10 ปี แล้วที่ไม่ได้มีการปรับบปรุงเมืองทำให่หลายพื้นที่ติดล็อกการพัฒนาพื้นที่ สร้างตึกสร้าง ได้แบบไม่เต็มประสิทธิภาพ 

 

 

 

ล่าสุดกรุงเทพมหานครได้มีการ่าง "ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร" (ปรับปรุงครั้งที่ 4) ซึ่งที่ผ่านมาประชุมครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม และจะนำเสนอรายละเอียดเข้าที่ประชุม คณะกรรมการที่ปรึกษากรุงเทพมหานครในเดือน ส.ค. 2566 และคาด่าจะสามารถประกาศใช้   "ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร" ฉบับ 10 ได้ประมาณปี 2568 สำหรับในการปรับปรุง ผังเมืองใหม่กรุงเทพณ ในครั้งนี้จะมีการปลดล็อกพื้นที่เขียวลาย ให้เป็นพื้นที่สีเหลือง เพื่อรองรับการขยายตัวของที่อยู่อาศัยที่ปัจจุบันมีการขยายของไปในพื้นที่แถบชานเมืองมากยิ่งขึ้น พื้นที่อนุรักษ์  รวมไปถึงการปรับพื้นที่ฟลัดเวย์ ให้ตอบโจทย์การขยายตัวของเมือง และโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น

สำหรับแนวคิดในการปรับปรุง  "ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร" จะมีการปรับปรุงรายละเอียดให้สอดคล้องกับทิศทางการขยายพื้นที่ที่อยู่อาศัยหนาแน่น รวมไปถึงการพัฒนาศูนย์พาณิชยกรรมและชุมชนในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร  ขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพาณิชยกรรม โดยยึดตามศักยภาพจาการให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน  

 

ร่างผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่

 

ปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากที่ดินประเภทอนุรักษ์ เป็นการใช้ประโยชน์ประเภทพาณิชยกรรม เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและประเภทสถาบันราชการ  รวมทั้งได้มีการปรับปรุงแก้ไขข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายควบคุมอาคารเพื่อกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับรูปแบบอาคารที่เหมาะสมกับย่านอนุรักษ์  

การขยายพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในพื้นที่ประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก หนาแน่นปานกลาง และหนาแน่นน้อย เพื่อส่งเสริมให้กรุงเทพมหานคร กลายเป็นเมืองน่าอยู่  และเป็นเมืองที่เติบโตทางเศรษฐกิจ รองรับการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการจ้างงาน 

 

 

 

ปรับปรุงและกำหนดพื้นที่น้ำหลาก (พื้นที่เขียวลาย) โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม บางส่วน เป็นที่ดินประเภทชทบทและเกษตรกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันน้ำท่วมและการระบายน้ำ ในพื้นที่เขตหนองจอก บางขุนเทียน โดยการจัดรูปที่ดิน เพื่อรองรับที่อยู่อาศัยขนาดเล็ก โรงแรม หมู่บ้านจัดสรรขนาดเล็ก

 

 

 

นอกจากนี้ร่าง "ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร" ฉบับใหม่ ยังมีมาตรการส่งเสริมการพัฒนาตามผังเมืองรวม ด้วยมาตรการเพิ่มอัตราการส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) ซึ่งเป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ภาคเอกชน และประชาชนในการเพิ่มพื้นที่อาคารได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่อาคารรวมต่อที่ดิน โดยเจ้าของที่ดินจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายสาธารณะหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยการจัดให้มีที่โล่ง เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือสวนสาธารณะ จัดให้มีที่จอดรถยนต์ เพื่อเปลี่ยนถ่ายการสัญจรบริเวณสถานีขนส่งมวลชน จัดให้มีที่อยู่อาศัยราคาถูก  จัดทำที่กักเก็บน้ำฝน รวมทั้งจะต้องเป็นอาคารสีเขียวหรืออาคารประหยัดพลังงาน 
 

ผังเมมืองรวมกรุงเทพมหนครฉบับใหม่

 

 

มาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) ด้วยมาตรการเพิ่มอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน โดยการให้สิทธิแก่ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการเพิ่มพื้นที่อาคารได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของพื้นที่อาคารรวมต่อที่ดิน ทั้งนี้เอกชนเจ้าของอาคารจะต้องดำเนินการตามมาตรการและสิทธิประโยชน์ของภาครัฐ 

 

ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับใหม่

 

 

มาตรการวางผังโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ (Planned Unit Development หรือ PUD) ซึ่งเป็นมาตรการที่ส่งเสริมการพัฒนาให้มี การใช้ประโยชน์พื้นที่ได้อย่างเต็มศักยภาพ ซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้พัฒนาโครงการสามารถยื่นแผนผังพัฒนาโครงการขนาดใหญ่ เพื่อขอปรับปรุงข้อกำหนดผังเมืองให้ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับรูปแบบและช่วงเวลาการพัฒนาโครงการ เช่น การปรับปรุงข้อกำหนดการใช้ ประโยชน์ที่ดิน การปรับปรุงข้อกำหนดการควบคุมความสูงอาคาร เป็นต้น

 

 

สิทธิพิเศษการพัฒนาสำหรับที่ดินที่อยู่ใกล้เคียงและอยู่ในระยะ 500, 650 และ 800 เมตร รอบสถานีรถไฟฟ้า  รวมไปพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ริมคลอง สายสำคัญ และย่านสำคัญในพื้นที่กรุงเทพมหานคร