จี้รัฐบาลใหม่ปรับโครงสร้างพลังงานแก้ 'ค่าไฟแพง' เสนอ 5 ข้อคนไทยใช้ไฟถูก
ภาคประชาชนจี้รัฐบาลใหม่ปรับโครงสร้างพลังงานแก้ปัญหา 'ค่าไฟแพง' เสนอ 5 แนวทางทำแล้วคนไทยได้ใช้ไฟฟ้าถูก เปิดตัวเลขประเทศไทยสำรองไฟฟ้าเกินความจำเป็นกว่า 30%
กิจการพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย อยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านซึ่งหลักการและเป้าหมายที่สำคัญอยู่ในยุคเปลี่ยนผ่านซึ่งหลักการและเป้าหมายที่สำคัญคือการเปลี่ยนผ่านพลังงานอย่างเป็นธรรม (Just Energy transition) ด้วยการลดละเลิกการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปสู่การผลิตไฟฟ้าที่มาจากพลังงานหมดเวียนซึ่งเป็นทรัพยากรภายในประเทศ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency)เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้บรรลุตามเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรื่องกระจก
ตามข้อตกลงและความร่วมมือระดับนานาชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG) ดั้งนั้นเครือข่ายขับเคลื่อนค่าไฟฟ้าราคาที่เป็นธรรม จึงได้มีการจัดแถลงข่าว ค่าไฟฟ้าต้องแฟร์ ข้อเสนอจากภาคประชาชนถึงรัฐบาลใหม่ให้แก้ปัญหา "ค่าไฟแพง" โดยมีการ เปิดข้อแสนอแนะ เพื่อให้รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไข ก่อนที่ภาระทั้งหมดจะตกอยู่ที่ประชาชนแต่เพียงผู้เดียว
เพราะที่ผ่านมาเราทำแต่ที่ผ่านมาเราพบปัญหาสำคัญโดยเฉพาะในช่วงแซงนิวที่ผ่านมาคือ ราคาไฟฟ้าของประเทศไทยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิม 3.61 บาท ต่อหน่วย แตในปี 2564 เพิ่มขึ้นเป็น 4.70 บาทต่อหน่วย และยังมีแนวโน้ม "ค่าไฟแพง" จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะความต้องการใช้ไฟฟ้าที่มีการประมาณการสูงเกินความเป็นจริงจนเกิดการสร้างโรงไฟฟ้าที่เพื่อผลิตไฟฟ้าให้ได้ตามเป้ากลายเป็นมีโรงไฟฟ้ามากกว่าความจำเป็น ดังนั้นเมื่อมีการสร้างโรงไฟฟ้ามากเกินไปภาระต้นทุนค่าก่อสร้างก็จะตกมาอยู่ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องจ่า
อย่างไรก็ตามในปี 2557 เป็นต้น เราพบว่ากำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองของไทยเพิ่มสูงขึ้นอลัสูงถึง 55% 2564 ตัวเลขดังกล่าวยังไม่รวมโรงไฟฟ้าใหม่และเขื่อนในประเทศลาวอีก 4 แห่งที่อยู่นะหว่างการพัมนาโครงการ เช่น เขื่อนไซยบุรี ตามปกติแล้วจะมีการกำหนดเกณฑ์การผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศที่ 15% ของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด แต่ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสองรองของประเทศล้นเกินไปมากถึง 30% มามากกว่า 20 ปีแล้ว นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลให้คนไทยต้องแบกรับค่าไฟฟ้าที่ส่งเพิ่มขึ้นนั้น พบว่าไทยต้องนำเข้าก๊าซเหลว LNG ต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงอย่างต่อเนื่อง
ข้อเรียกร้อง 5 ข้อ จากภาคประชาชนไม่ว่าจะเป็น SDG MOVE Thailand สภาองค์กรของผู้บริโภค กลุ่มพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรม ตัวแทนชาวบ้านและเกษตรไร เพื่อหยุดปัญหา "ค่าไฟแพง" มีดังนี้
1.หยุดลงนามสัญญารับซื้อไฟฟ้า (PPA) จากโครงการขนาดใหญ่แห่งใหม่ทุกโครงการ ทั้งโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ โรงไฟฟ้าพลังนํ้าขนาดใหญ่จากประเทศเพื่อนบ้านและโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนกว่าไฟฟ้าสำรองจะลดลงสู่มาตรฐาน
2.เร่งเดินหน้านโยบาย Net-metering หรือ ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้า กับพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ บนหลักการที่เสรี เป็นธรรมต่อทุกฝ่ายและครอบคลุมทั้งประเทศ
3.เปิดรับฟังความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวาง โปร่งใส ตรวจสอบได้ต่อร่างแผนพัฒนากําลังผลิตไฟฟ้า (PDP) และร่างแผนพลังงานอื่นๆ
4.พัฒนาาระบบซื้อ-ขายส่งไฟฟ้าที่สร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐอย่างเหมาะสม ควบคู่กับการเจรจาลดภาระที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่มีอยู่
5.นําต้นทุนก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซที่มีราคาถูกกว่า ได้แก่ ก๊าซอ่าวไทย และ ก๊าซจากพม่าไปคิดเป็นต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
โดย รศ.ดร. ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ อนุกรรมการด้านการบริการสาธารณะ พลังงานและสิ่งแวดล้อม สภาองค์กรของผู้บริผู้บริโภค ระบุว่า ในช่วงที่ประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดตั้งรัฐบาล ซึ่งเป็นโอกาสำคัญในการปรับปรับเปลี่ยนนโยบายและแก้ปัญหาโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้า เครือข่ายจึงเป็นว่า จำเป้นอย่างยิ่งที่จะต้องสื่อสารต่อรัฐบาลใหม่และสาธารณะให้ทราบถึงสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดราคา ค่าไฟฟ้า ที่เป็นธรรม และสร้างความยั่งยืน และเพื่อเป็นการลดภาระค่าใช้จ่าย ค่าไฟฟ้า ที่หากในอนาคตไม่ดำเนินการปรับโครงสร้างจะส่งผลให้ ค่าไฟฟ้า สูงขึ้น เพราะประชาชนจะต้องมาร่วมแบกรับภาระ เพราะมีการเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุน
รวมทั้งการที่รัฐไม่บริหารจัดการ ปรับเปลี่ยนมาให้ระบบพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน และปล่อยให้มีการนำเช้าก๊าซเหลว LNG จากต่างประเทศ พร้อมกับค่าก่อสร้างจุดขนถ่ายก๊าซเหลว LNG ที่กำลังดำเนินการอยู่