ชีวิตดีสังคมดี

รู้จักโครงการ 'แลนด์บริดจ์' อภิมหาเมกกะโปรเจ็กต์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

รู้จักโครงการ 'แลนด์บริดจ์' อภิมหาเมกกะโปรเจ็กต์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามัน

18 ต.ค. 2566

รู้จักโครงการ 'แลนด์บริดจ์' อภิมหาเมกะโปรเจ็กต์ เชื่อมอ่าวไทย-อันดามันอนาคตรองรับเรือขนส่ง 400,000 ลำต่อปี 16-18 ส.ค. นี้เปิดรับฟังความเห็นประชาชนระนอง-ชุมพร

การขยายรากฐานเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง เพื่อให้ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งและการค้าของเอเชียเป็นเป้าหมายที่สำคัญ โดยที่ผ่านมาสำนักงานขนส่งและจราจร ( สนข.) ศึกษาจัดทำโครงการเเลนด์บริดจ์ (LandBridge) ให้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการด้านคมนาคม เพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน ที่สำคัญหากเมื่อโครงการ "เเลนด์บริดจ์" สามารถทำได้และสำเร็จ จะเป็นการเปลี่ยนทิศทางการขนส่งของโลกให้มาที่ไทย จนไทยกลายเป็นฮับทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยมีการคาดการว่าในอนาคตจะสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าได้ประมาณ 400,000 ลำต่อปี

เพื่อให้โครงการ "เเลนด์บริดจ์" เป็นโครงการที่สร้างประโยชน์และไม่มีผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) รายงานว่าปัจจุบันโครงการ "เเลนด์บริดจ์"ยังอยู่ในขั้นตอนศึกษาการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) โดยจะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นครั้งแรกจากทั้งหมด 3 ครั้ง ในวันที่ 16-18 ส.ค. 2566 ในพื้นที่จ.ระนอง และจ.ชุมพร เพื่อให้ได้ข้อมูลจากผู้ได้รับผลกระทบทุกฝ่ายอย่างครบถ้วน รอบด้าน และรอบคอบเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชนและประเทศชาติ  จึงได้จัดรับฟังความคิดเห็นสำหรับผู้ได้มีส่วนได้เสียและพี่น้องประชาชนในพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบโครงการแลนด์บริดจ์ ดังนี้

ท่าเรือระนอง วันพุธที่ 16 ส.ค. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. จัดขึ้นที่ห้องราชาวดี ชั้น 3 เฮอริเทจ แกรนด์ คอนเวนชั่น อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง

 

วันพฤหัสบดีที่ 17 ส.ค. พ.ศ. 2566 เวลา 08.30-12.00 น. ที่ห้องประชุมอุทยานแห่งชาติแหลมสน ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง

 

ท่าเรือชุมพร ในวันศุกร์ที่ 18 ส.ค. พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 12.00 น. ที่ห้องอวยชัยแกรนด์บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมอวยชัยแกรนด์ อ.หลังสวน จ.ชุมพร

 

 

สำหรับโครงการ "แลนด์บริดจ์" ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนอง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร โครงการระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร - ระนอง และโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงชุมพร – ระนอง  ซึ่งมีการคาดการไว้ว่าหากโครงการแล้วเสร็จ  จะสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่เติบโตและหันมาใช้เส้นทางนี้กว่า 400,000 ลำต่อปีได้ในปี 2594 รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นไปตามอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย

 

 

สำหรับโครงการดังกล่าวมีการสรุบรายงานฉบับสมบรูณ์ ไปแล้ว โดยโครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย จัดทำโดย สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ และ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ระบุว่า ทางเลือกที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงเส้นทางขนส่งทางทะเลฝั่งอ่าวไทย-อันดามัน คือ การให้ความสำคัญกับการสร้างเส้นทางเข้าถึงพื้นที่พัฒนาตามแผนปฏิบัติการการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้อย่างยั่งยืน (SEC) โดยเน้นการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่และดำเนินการพัฒนาต่อจากสิ่งที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการรับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้อาจจะจับตาว่าประชาชนในพื้นที่จะมีความคิดอย่างไร เพราะที่ผ่านมาโครงการดังกล่าวถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง