28 ส.ค. 2566

เดินหน้ารุกแผน 'AI' แห่งชาติ สวทช. ร่วมสธ. และ รพ.รามาธิบดี ส่งข้อมูลป้อนหุ่นยนต์หนุนการแพทย์ไทยให้รวดรวดเร็ว แม่นยำ เสริมประสิทธิภาพวงการแพทย์ไทย

ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ Artificial Intelligence "AI" ที่สามารถทลายขีดจำกัดของมนุษย์ และพัฒนาได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังเช่น ChatGPT และMidjourney ที่ทำงานได้ซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ทุกวันนี้ทั่วโลกไม่อาจปฏิเสธต่อการนำ AI มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมแทบทุกภาคส่วน เช่น ด้านอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์ การศึกษา การท่องเที่ยว หรือแม้แต่ในด้านการตลาด "AI" ยังมีบทบาทสำคัญในการวางกลยุทธ์ เจาะลึกพฤติกรรมลูกค้า และสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่เป็นกระแสความนิยมบนโซเชียลมีเดียเพื่อสร้างยอดขายให้ธุรกิจ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐเริ่มนำ "AI" มาใช้เพิ่มคุณภาพการบริหาร การให้บริการ รวมถึงการร้องเรียนต่าง ๆ เพื่อดูแลประชาชนได้อย่างทั่วถึง

เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับการพัฒนา "AI" ที่จะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศในทุกมิติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จัดทำ แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย พ.ศ. 2565–2570 (Thailand National AI Strategy and Action Plan 2022-2027) โดย สวทช. และ สดช. ร่วมเป็นเลขานุการคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนฯ ซึ่งปัจจุบันดำเนินงานมาครบรอบ 1 ปี แผนปฏิบัติการปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย และก้าวสำคัญในการขับเคลื่อน Medical AI

 

สวทช.รุกแผน \'AI\' แห่งชาติ ปั้นหุ่นยนต์วินิจฉัยโรคให้แม่นยำ รวดเร็ว

ศ.ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในฐานะเลขานุการร่วมของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า การจัดทำแผนปฏิบัติการ AI ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมามีผลการดำเนินงานที่สำคัญในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านจริยธรรมและธรรมาภิบาล มีการจัดทำคู่มือจริยธรรม "AI" เล่มแรกของไทย การจัดหลักสูตรจริยธรรมที่เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง และการเปิดตัวศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้ AI อย่างถูกต้องและมีความรับผิดชอบ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการพัฒนาแพลตฟอร์มกลางบริการ "AI" บนคลาวด์ภาครัฐ (GDCC) รวมทั้งเปิดให้บริการ LANTA ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพการคำนวณอันดับ 1 ในอาเซียน และอันดับที่ 70 ของโลก สำหรับการวิจัยและพัฒนาของภาครัฐและเอกชน

 

 

ด้านการพัฒนากำลังคน ขณะนี้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้าน AI ได้เห็นชอบภาพรวมข้อเสนอการพัฒนากำลังคนด้าน AI เพื่อสร้างบุคลากรที่มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญด้าน AI ในทุกระดับและทุกสาขาตรงตามความต้องการของเอกชน ส่วนผลงานด้านนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ เช่น มีหน่วยงานภาครัฐใน 76 จังหวัด นำระบบวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจนแบบชี้เป้า (TPMAP) เข้าไปขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย แผนการดำเนินการดังกล่าวจะช่วยผลักดันประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการแพทย์ (Medical Hub) ของเอเชีย

 

สวทช.รุกแผน \'AI\' แห่งชาติ ปั้นหุ่นยนต์วินิจฉัยโรคให้แม่นยำ รวดเร็ว

 

 

“สวทช. มีนักวิจัย แต่เราไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านสาธารณสุขได้ ทำให้ที่ผ่านมาการวิจัย และหาเทคโนโลยีที่จะเข้ามาตอบโจทย์ทางกาแพทย์นั้นเป็นไปอย่างลำบาก แต่การร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้ สวทช. มีข้อมูล อาการ ของโรคต่างๆ เพื่อให้  "AI" ได้เรียนรู้และจดจำโรค อาการ เพื่อสร้างเทคโนโลยีที่มีความแม่นยำ และมีการมาตรฐานตามที่ อย. กำหนด ดังนั้นหน้าที่หลักของ สวทช. คือการพัฒนาให้ "AI"ลดภาระแพทย์ เพิ่มความแม่นยำในการวินิจัฉัยโรค รู้โรคได้เร็วขึ้นเพื่อให้คนไทยได้เข้าสู่ระบบการรักษาที่รวดเร็ว ภายใต้การเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวของผู้ป่วยตามกฎหมายPDPA นอกจากนี้ สวทช. ยังมองไปถึงการพัฒนา AI การวิจัยเครื่องมือทางการแพทย์ เพื่อลดการนำเข้าในอนาคต” ศ.ดร.ชูกิจ กล่าวสรุป

 

 

ด้านนพ.ภัทรรินวินฑ์ อัตตะสาระ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารสุข กล่าวว่า การมี "AI" ทางการแพทย์จะช่วยให้ระบบการรักษาโดยเทคนิคทางการแพทย์ของไทยดียิ่งขึ้น และช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางกาแพทย์ และการนำเข้าอุปกรณ์ทางแพทย์จากต่างประเทศซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่า บางเทคนิคที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่สามารถเข้ากับคนไทยได้ ดังนั้นความร่วมมือในการพัฒนา Medical AI ของทั้ง 3หน่วยงานในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้นักวิจัยด้าน AI ได้เข้าถึงคลังข้อมูลทางการแพทย์ เช่น ภาพเอกซเรย์ทรวงอก ภาพ MRI/CT มะเร็ง ภาพจอประสาทตา (โดยข้อมูลมีการจัดการด้านข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ผ่านคณะกรรมการ Medical AI DATA Consortium) เพื่อให้สามารถนำความเชี่ยวชาญด้าน "AI" เข้าไปส่งเสริม ขยายผล และต่อยอดการใช้ประโยชน์ของข้อมูล ดังเช่น กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ประสบความสำเร็จในการพัฒนา “AIChest4All” ซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้แพทย์คัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งปอด วัณโรค โรคทรวงอก และความผิดปกติอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำใน 1 นาที เครือข่ายความร่วมมือที่ครบวงจรเช่นนี้จะดึงดูดให้โรงพยาบาลวิจัย และหน่วยงานสาธารณสุข นับเป็นอีกความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI จะเข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้มีความทันสมัย

สวทช.รุกแผน \'AI\' แห่งชาติ ปั้นหุ่นยนต์วินิจฉัยโรคให้แม่นยำ รวดเร็ว

 

 

ด้าน ศ.นพ.ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร หัวหน้าศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล  กล่าวว่า ความก้าวหน้าทาง "AI" จะช่วยให้แพทย์สามารถวิเคราะห์การรักษาโรคได้แม่นยำมากขึ้น ดังนั้นแผนพัฒนา "AI" แห่งชาติ จึงถือเป็นแผนที่จะเข้ามาช่วยให้ระบบการเรียนการสอน การรักษาผู้ป่วยในประเทศไทยมีประสิทธิภาพ เพราะที่ผ่านมาเรามีข้อมูลของผู้ป่วยจำนวนมาก แต่ยังไม่สามารถวิเคราะห์โรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ 100% เพราะจำเป็นจะต้องใช้แพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น แต่เทคโนโลยี "AI" จะช่วยลดข้อจำกัดในด้านดังกล่าว ดังนั้นทางคณะแพทยศาสตร์ จึงยืนดีอย่างยิ่งที่จะร่วมทำงานกับ สวทช. และกระทรวงสาธารณะสุขในการส่งต่อข้อมูลที่เป็นประโยช์เพื่อนำไปให้ AI ได้เรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพ และสร้างวิวัฒนาการทางการแพทย์ของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น  ประชาชนได้เข้าถึงระบบการรักษาที่ด รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาการคลาดแคลนแพทย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านด้วย

 

สวทช.รุกแผน \'AI\' แห่งชาติ ปั้นหุ่นยนต์วินิจฉัยโรคให้แม่นยำ รวดเร็ว