'ปังชา' ทรัพย์สินทางปัญญาที่รังแกคนอื่น ความน่ากลัวของกฎหมายที่ขาดสมดุล
กรณีจดทะเบียน 'ปังชา' ตัวอย่างทรัพย์สินทางปัญญาที่เอาไว้รังแกคนอื่น ความน่ากลัวของกฎหมายที่ขาดความสมดุล สนับสนุนอย่างเดียวแต่ไม่รับผิดชอบต่อสังคม หลายธุรกิจต้องพ่ายให้กับกฎหมายสิทธิบัตร และการจดลิขสิทธิ์
กระแส "ปังชา" ทรัพย์สินทางปัญหาที่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบการ ร้านค้ารายเล็กรายน้อยไปทั่วประเทศ กลายเป็นประเด็นในสังคม รวมไปถึงกลุ่มนักวิชาการที่มีการกลับพูดถึงกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่เริ่มต้นในกระบวนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จดสิทธิบัตร จดลิขสิทธิ์ ของกรมทรัพย์สินทางปัญหากันอีกครั้ง ว่าแท้จริงแล้วกฎหมายที่มีอยู่นั้นมุ่งเน้นไปที่การเชิญชวนให้ผู้ประกอบการแห่เข้ามาขึ้นทะเบียนเท่านั้น แต่ไม่ได้มองไปถึงสิทธิส่วนร่วมในสังคมจนเกิดความไม่บาลานซ์ในการใช้กฎหมาย และทำให้ผู้ประกอบธุรกิจหลายรายต้องได้รับความเดือดร้อน
กรณีฟ้องร้องการจดทะเบียน "ปังชา" ของร้านอาหารชื่อดังไม่ใช่รายแรกในประเทศไทยที่เกิดขึ้นจากความสะเพร่าและผู้บังคับใช้กฎหมาย เพราะในประเทศไทยมีกรณีที่คล้ายๆ ลักษณะนี้มาแล้วนั้นคือ กรณีเด็กทำกระทงรูปโปเกม่อนขาย แต่กลับโดนเจ้าของลิทสิทธิ์เรียกค่าเสียหาย รวมไปถึงบริษัทยารายย่อยที่ถูกให้กฎหมายเล่นงานจนสุดท้ายต้องยอมยุติการผลิตไป เพราะกลัวจะมีปัญหา ดังนั้นหากจะบอกว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญหาให้สิทธิเฉพาะผู้ทรงสิทธิ์แต่ไม่ได้คำนึงถึงภาพรวมของสังคมก็คงจะไม่แปลกหนัก
โดย นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอว็อทช์) อธิบายถึงหลักคิดของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ขาดความสมดุลทางกฎหมาย ว่า กรณีที่กรมทรัพย์สินทางปัญญายอมให้ร้านอาหารชื่อดังจดทะเบียน "ปังชา" สะท้อนให้เห็นว่ากรมทรัพย์สินทางปัญหาอยากสนับสนุนแค่การจดทะเบียนเท่านั้น แต่ไม่ได้มององค์รวม และไม่วิเคราะห์ข้อมูลก่อนที่จะอนุญาตให้จดทะเบียน ก่อนอื่นต้องวิเคราะห์ก่อนว่าคำว่า "ปังชา" ถือว่า เป็นคำสามัญที่คนทั่วไปสามารถใช้ได้ ไม่มีใครคนใดคนนึงเป็นเจ้าของ แต่สิ่งที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ากรมฯ มีหน้าที่แค่เพียงสนับสนุนการจดทะเบียนคือ หลังจากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดยอ้างอิงข้อความจากของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ระบุว่า 'จดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเครื่องหมายการค้า สู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยร่วมกันอย่างยั่งยืน'
สิ่งที่กรมฯ ดำเนินการหลังจากเกิดเรื่องคือ การโพสต์ข้อความทางเพจเฟซบุ๊กในเชิงชื่นชม โดยระบุว่า "จากกระแสร้านอาหารชื่อดังได้โพสต์ภาพสินค้าของร้าน พร้อมระบุถึงทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับความคุ้มครอง พร้อมทั้งสงวนสิทธิห้ามลอกเลียนแบบ ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือนำชื่อไปใช้ ทำให้มีข้อสงสัยว่า เรื่องนี้เป็นมาอย่างไร กรมทรัพย์สินทางปัญญาขอชื่นชมผู้ประกอบการที่ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง"
ยิ่งทำให้เราเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่ากรมฯมุ่งหวังเพียงแค่การสนับสนุนให้เกิดการจดทะเบียนเท่านั้น
- กฎหมายที่ไม่มีความบาลานซ์สุดท้ายเสี่ยงเป็นช่องว่างให้รังแกรายเล็ก
ดูเหมือนว่ากฎหมายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ จะคล้ายการสนับสนุนให้อีกรายยื่น Notice แก่ผู้อื่นได้อย่างง่ายดาย นางสาวกรรณิการ์ อธิบายเพิ่มเติมว่า สิ่งที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำลังทำอยู่ไม่ว่าจะเป็นการใช้วิจารณญาณ การใช้ข้อมูล ข้อระเบียบ โดยขาดการตรวจสอบความถูกต้องไม่ต่างอะไรกับการสร้างให้บริษัทขนาดใหญ่กลายเป็นแก๊งอาชญากรรม ที่คอยเอาทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ไปหากินกับคนอื่น และสุดท้ายก็จบที่บริษัทรายเล็กๆ ต้องยอมจ่ายเงินเพื่อแลกกับการไม่ฟ้องร้อง และท้ายที่สุดก็ต้องยุติการทำกิจการ หรือการผลิตอะไรสักอย่างไร ตนจึงเป็นว่าเรื่องแบบนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้นซ้ำๆ หลายๆ รอบเหมือนที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาไม่ควรให้ความสำคัญด้านเดียวคือการคุ้มครองผู้ทรงสิทธิ์ แต่ควรจะมีการรักษาสมดุลในสังคมเอาไว้ด้วย และควรจะมีการสร้างความเป็นกลางทางการบังคับใช้กฎหมายให้มากกว่าทุกวันนี้ ไม่ใช่สนใจแค่ผู้ทรงสิทธิ์ แต่ไม่สนใจผู้บริโภค
- ความน่ากลัวของทรัพย์สินทางปัญหาหากยังไม่แก้ไขให้ดี
นางสาวกรรณิการ์ กล่าวไปถึงสิ่งที่น่ากลัวกว่ากฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาเอาไว้ว่า กฎหมายไม่ได้เลวร้ายทั้งหมด มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ยังไม่มีความสมเหตุสมผลเช่นการกำหนดให้มีโทษทางอาญามาเกี่ยวข้องกับเครื่องหมายทางการค้าทั้งทีให้บริบทความจริงเป็นเรื่องระหว่างเอกชนและเอกชนเท่านั้น ควรจะมีแค่ความผิดทางแพ่งไม่ควรกำหนดความผิดทางอาญาเอาไว้ด้วย อีกประการสำคัญที่ต้องพูดถึงคือกฎหมายสนับสนุนให้เกิดการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกินเลย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง แต่ในความเป็นจริงแล้วกรมทรัพย์สินทางปัญญาต้องกำกับดูแลให้มีการให้ทรัพย์สินทางปัญญาเกินเลย หรือรังแกคนอื่น สิ่งสุดท้ายคือการมีข้อมูลที่ดี จะทำให้ผู้ที่ถูกยื่น Notice มีข้อมูลอ้างอิงได้ ดังนั้นกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเป็นจะต้องเอื้ออำนวยในทุกคนอย่างเท่าเทียม
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยส่วนใหญ่ทนายที่ทำเรื่องพวกนี้มักเป็นทนายทั่วไป ทางแก้ควรกำหนดในกฏหมายให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นทนายทรัพย์สินทางปัญญา แยกต่างหากเป็นแต่ละสาขา และมีบทกำหนดโทษกรณีที่ใช้สิทธิเกินเลยเช่นปรับเป็นสิบเท่าของค่าเรียกร้องที่ฟ้อง จะได้คิดมากหน่อยก่อนใช้เงินที่มากกว่ามาฟ้องเลอะเทอะ รวมทั้งต้องมีค่าเสียหายเพิ่มเติมที่ทนายรับทำด้วย
"ท้ายที่สุดหากยังไม่มีการแก้ไขกฎระเบียบ การตีความระหว่างการจดทะเบียนที่ยึดตามหลักการอย่างถูกต้องก็จะก่อให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีปังชาขึ้นอีกซ้ำๆ และกรณีที่ผู้ประกอบการรายเล็กโดนทรัพย์สินทางปัญญาเล่นงานก็จะไม่ใช่คดีสุดท้ายของประเทศไทย" นางสาวกรรณิการ์กล่างทิ้งท้าย
โดยสรุปเรายังสามารถขายสินค้าที่มีส่วนผสมของชาไทย และขนมปังได้ตามปกติแบบไม่ผิดลิขสิทธิ์ หรือละเมิดกฎหมาย ร้านดังไม่สามารถจดลิขสิทธิ์ "ปังชา" และห้ามคนอื่นทำ หรือไล่ยื่น Notice แก่คนอื่นได้อีก