ชีวิตดีสังคมดี

สรุป '1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ' ทำไมยังไงถึงจะมีรายได้ 2 แสนต่อปี

สรุป '1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ' ทำไมยังไงถึงจะมีรายได้ 2 แสนต่อปี

06 ก.ย. 2566

สรุปโครงการ '1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ ' ทำยังไงให้ครอบครัวมีรายได้ 2 แสนบาทต่อปี ฝ่ากระแสคำวิจารณ์ 30 ล้านครัวเรือนต้องทำทุกคนเลยหรือไม่

โครงการ "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์" ถูกพูดถึงมากขึ้นหลังจากที่ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เริ่มประเดิมทำงานกันไปแล้ว โดยหลายคนยังคงสงสัยว่า โครงการ "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์" แท้จริงแล้วเป็นโครงการที่จะให้ประชาชนทำอะไรกันแน่  ต้องบอกว่าโครงกล่าวเป็นอีกหนึ่งนโยบายการหาเสียงของพรรคเพื่อไทยในการเลือกตั้งที่ผ่าน โดยได้มีการประกาศว่า จะยกระดับทักษะคนไทยให้เป็นแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน สร้างรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี และสร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง   

 

ส่วนสำคัญของโครงการ "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์"  คงไม่ให้การให้แต่ละครอบครัวออกมาทำคอนเทนต์อะไรเบาๆ แน่นอนเพราะก่อนจะมาเป็น "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์" จะต้องผ่านการเฟ้นหาศักยภาพของคนไทยทุกครอบครัว อย่างน้อยครอบครัวละ 1 คน เพื่อนำมาส่งเสริมบ่มเพาะศักยภาพ ไม่ว่าทักษะด้านการทำอาหาร ร้องเพลง ออกแบบ ศิลปะ กีฬา และอื่นๆ  ผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ทั้งหมดนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย คมชัดลึกสรุปโครงการ "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์"

  • โครงการ  "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์"  คืออะไร 

 

1.ส่งเสริมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปทั่วโลก โดยเริ่มต้นจากการ ‘พัฒนาคน’ (นโยบาย 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์) 

2.เฟ้นหาศักยภาพของคนไทยทุกครอบครัวอย่างน้อยครอบครัวละ 1 คน เพื่อนำมาส่งเสริมบ่มเพาะศักยภาพผ่าน ‘ศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์’ ที่จะมีในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้านไปจนถึงระดับประเทศ
 

3.ทุกคนสามารถเข้ามาเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะสร้างสรรค์ของตัวเองในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นทักษะด้านการทำอาหาร, ร้องเพลง, ออกแบบ, ศิลปะ, กีฬา และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้จะไม่เสียค่าใช้จ่าย
 

 4.สร้างแรงงานทักษะสูง 20 ล้านคน ที่มีรายได้อย่างน้อย 200,000 บาทต่อปี
 

5.สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง เพื่อรองรับแรงงานทักษะสูง โดยจะสนับสนุนทุกอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ผ่านการปลดปล่อยเสรีภาพ, ปลดล็อกกฎหมาย, ทลายทุกอุปสรรค, สนับสนุนเงินทุน และขยายการส่งออกผ่านนโยบายต่างประเทศ
 

6.มีเครื่องมือชื่อ THACCA (Thailand Creative Content Agency) ที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ และมีงบประมาณเพียงพอสำหรับทำหน้าที่สร้างระบบนิเวศทั้งหมด เพื่อสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทยให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด

 

 

  • หน่วยงานที่จะดูแล "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์" 

1.THACCA ดูทั้งระบบ จบที่เดียว เป็นเจ้าภาพหลัก ดูทั้งระบบเบ็ดเสร็จองค์กรเดียว ไม่ต้องประสานงานวิ่งหลายหน่วยงาน

2.กองทุนรวมซอฟต์พาวเวอร์ รวมกองทุนที่กระจัดกระจายในหลายหน่วยงานให้อยู่ภายใต้การดูแลของ THACCA และเติมทุนให้ทุกสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ลดหย่อนภาษีสร้างแต้มต่อให้รายเล็กและรายใหม่

3.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ขยาย TCDC ครบทุกจังหวัด เพิ่ม Co-Working Space สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกครบวงจร เชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวด้วยระบบขนส่งมวลชน และลงทุนถนน ราง เรือ ขยายสนามบิน

4.ยกระดับคนทำงานด้วย 1 ครอบครับ 1 ซอฟต์พาวเวอร์ (OFOS) สร้างศูนย์บ่มเพาะเพื่อยกระดับศักยภาพสร้างสรรค์ทุกพื้นที่ เรียนฟรีมีเงินเดือนผ่านการเรียนไปทำงานไป สนับสนุนให้ตั้งสหภาพคนทำงานในทุกสาขา เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจ้างงานและคุ้มครองสวัสดิการ 

5.รื้อกฎหมาย ทลายอุปสรรค เลิกงานเอกสาร ลดขั้นตอน ลัดเวลา ในการประสานงานและขอใบอนุญาตทุกฉบับ แก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรค ปลดล็อคสุราเสรี 
6.ปลดล็อคเวลาเปิดปิดธุรกิจกลางคืน กวาดล้างขบวนการรีดไถ่จ่ายส่วนให้หมดไป

7.ปลดปล่อยเสรีภาพในการแสดงออก เลิกเซนเซอร์ เปิดพื้นที่แสดงออก ไม่ตีกรอบความคิดสร้างสรรค์
เร่งผลักดัน 8 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป้าหมาย เร่งส่งออกสินค้าสร้างสรรค์ เจรจาเปิดตลาดใหม่ ขยายขนาดอุตสาหกรรม สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง

 

 

  • กระแส  "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์" แรงจนต้องชี้แจง 


หลังจากที่กระแส "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์"  ก็กลายเป็นที่วิจารณ์ในสังคมอย่างมาก ว่าจะดำเนินการอย่างไร และนโยบายยังฟังดูจับต้องไม่ได้ จนล่าสุด นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ระบุถึงข้อสังเกตที่ประชาชนมีต่อ นโยบาย "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์"  ว่าจะทำให้มีจำนวนมากถึง 30 ล้านซอฟต์พาวเวอร์คงไม่ใช่ และต้อง ขอทำความเข้าใจ ดังนี้

 

ต้องเป็นครอบครัวที่มีรายได้ไม่ถึง 20,000 บาทต่อเดือน และซอฟต์พาวเวอร์เหล่านี้เป็นพรสวรรค์ของคน จะต้องไปสำรวจก่อนและลงทะเบียนให้ชัดเจน ไม่ใช่จะต้องแยกเป็นครอบครัวละ 1 งาน อาจจะเป็น 1 หมู่บ้านที่ถนัดงานเหมือนกัน ว่าใครถนัดด้านไหน แต่เราจะแยกเป็นครัวเรือนเพื่อสามารถตรวจสอบรายได้ ยืนยันว่า ไม่ได้ต้องทำให้มี 30 ล้านซอฟต์พาวเวอร์ เพราะความถนัดของทุกคนมีระดับ เช่น 5F ของกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งอาชีพที่เราส่งเสริมจะมีอยู่ประมาณ​ 20 ล้านคน

 

เพราะนโยบายการแก้จนของเรา ต้องแก้ที่ครอบครัวเป็นหน่วยที่เล็กที่สุด ซึ่งเราต้องเข้าไปส่งเสริมอาชีพที่ตนเองถนัดหากเงินไม่ถึง 20,000 บาทก็เติมให้เต็ม ส่วนงบประมาณที่จะนำมาใช้เราเป็นรัฐบาลก็จะมีกระทรวงการคลังส่วนหนึ่ง เราประมาณการแล้วว่า สามารถจัดเก็บภาษี หรือปรับงบบางส่วนมาใช้ตรงนี้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ของประชาชน 

 

ทั้งนี้ นโยบาย "1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์" เป็นการต่อยอดนโยบายดั้งเดิมของพรรคไทยรักไทย คือ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งสร้างรายได้ระดับตำบล