กทม. กางนโยบาย 'การศึกษา' เริ่มต้นดูแลเด็กอ่อน เพิ่มสวัสดิการ ลดงานให้ครู
กทม.กางนโยบายขับเคลื่อน 'การศึกษา' เริ่มต้นปีงบประมาณด้วยดารเสริมศักยภาพให้เด็กอ่อน เพิ่มสวัสดิการครูให้ดีขึ้น งบห้องเรียนปลอดฝุ่นโดนตัดไม่เป็นไรออก 3 แนวทางให้เด็กเล็กไม่ต้องเผชิญฝุ่น PM2.5
นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร (รองผว.กทม.) แถลงข่าวถึงแนวทางการยกระดับการเรียนรู้เด็กปฐมวัยช่วง 2-6 ขวบในพื้นที่กรุงเทพฯ และแนวทางการจัด "การศึกษา" ภายใต้งบประมาณ ปี 2567 โดยในปีงบประมาณ 2567 ซึ่งเริ่มต้นขึ้นในเดือน ก.ย. 2566 กรุงเทพมหานคร(กทม.) จะมุ่งเน้นการปรับปรุง ส่งเสริม และซ่อมแซม ทั้งด้ายกายภาพ ประสิทธิภาพ และสวัสดิการของครู และนักเรียน รววมทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่อยู่ในความดูแลของกทม. ทั้งหมด เพื่อเป็นการยกระดับการเรียนรู้ และปูพื้นฐานเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนในช่วงวัย 2-6 ขวบ ซึ่งเป็นวัยเริ่มต้นของการเรียนรู้ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนห้องเรียนปลอดฝุ่น ที่ถูกตัดงบประมาณไป
นายศานนท์ กล่าวว่า ปัจจุบันตามข้อมูลทะเบียนราษฎร์ในพื้นที่กรุงเทพฯ มีเด็กอายุ 0-6 ขวบประมาณ 259,264 คน จำนวนเด็กในการดูแลของ กทม. 82,990 คน แบ่งเป็นนักเรียนอนุบาลอายุ 4-5 ปี โรงเรียนสังกัด กทม. 429 โรงเรียน นักเรียนป.1 อายุ 6 ปี 431 โรงเรียน เด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กอ่อนก่อนวัยเรียน 17,213 คน อายุ 2-5 ปี 274 โรงเรียน เด็กในสถานรับเลี้ยงเด็กกลางวัน 218 คน อายุ 2.5-5 ปี ศูนย์บริการสาธารณสุข 12 แห่ง และเด็กในศูนย์เด็กเล็กน่าอยู่คู่นมแม่ 115 คน โรงพยาบาลสังกัด กทม. 8 แห่ง เด็กในช่วงวัยดังกล่าวจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลเป็นอย่างดี
โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพจิต และร่างกาย เพราะเป็นวัยแห่งการเจริญเติบโต ดังนั้นความจำเป็นที่ กทม.จะต้องของบประมาณสำหรับจัดทำห้องเรียนปลอดฝุ่นจึงเกิดขึ้น แต่ในกรณีที่ถูกตัดงบประมาณไปแล้ว กทม. จำเป็นจะต้องหาแนวทางดำเนินการต่อไป โดยมีแผนที่จะดำเนินการจัดทำห้องเรียนปลอดฝุ่นใน 3 แนวทางหลัก ดังนี้
1.สร้างห้องความดันบวก (Positive pressure) โดยการเอาวัสดุมาปิดรูอากาศจากนั้นใช้พัดลมเพื่อเติมอากาศบริสุทธิเข้าไป
2.ทดลองใช้และติดตั้งแผงโซลาร์เซล สำหรับเป็นพลังงานในการใช้แอร์เพื่อประหยัดงบประมาณสำหรับการดำเนินการ และร่วมมือกับเอกชน
3.รวมมือกับการไฟฟ้านครหลวงในการติดตั้งโซลาร์เซล สำหรับเป็นพลังงานใช้ภายในโรงเรียน
ด้านนโยบาย "การศึกษา" ด้าน อื่นๆ ในปีงบประมาณ 2567 กทม.ให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาศูนย์เด็กเล็ก และการเพิ่มศัพยภาพ ยกระดับความเป็นอยู่ เพิ่มสวัสดิการให้ครู โดยรองผู้ว่าฯ กทม. อธิบายถึงการดำเนินการนโยบายด้าน "การศึกษา" เอาไว้ว่า ด้านปรับปรุงพัฒนากายภาพของโรงเรียนเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ กทม. ให้ความสนใจ แม้ว่าจำนวนนักเรียนจะลดลงก็ตาม แต่รับพบว่าบางโรงเรียนอาคารเก่าและทรุดโทรมลงมาก หรือบางแห่งมีการขยายการเรียนการสอนไปถึงชั้นมัธยมปลาย ดังนั้นอาคารเรียนจึงไม่เพียงพอ รวมไปถึงการปรับปรุงก่อสร้างหลังคาบังแดด สนามกีฬา โรงครัว ซึ่งเป็นแนวทางตามนโยบายเส้นเลือดฝอยที่ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ให้ความสำคัญอย่างแท้จริง เนื่องจากเป็นการสำรวจความต้องการจากโรงเรียนโดยตรง
ด้านคุณภาพชีวิตของครู ก็สำคัญไม่แพ้กัน โดยในปีงบประมาณ 2567 กทม.จะเดินหน้าการก่อสร้างบ้านพักครูให้ครบทุกกลุ่มเขต ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการไปแล้วใจพื้นที่คลองเตย นอกจากนี้มุ่งเน้นการลดภาระงานของครูที่นอกเหนือไปจากการสอนให้น้อยลง ซึ่งที่ผ่านมาดำเนินการมาแล้วและพบว่าประสิทธิภาพในการสอนของครูในโรงเรียนกทม.ดีมากขึ้น รวมไปถึงการเติมกำลังครูในสาขา วิชาที่ขาดแคลนซึ่งขณะนี้ยังอยู่ะหว่างการสำรวจ และจะเพิ่มอัตรากำลังครูให้เหมาะสม
‘ในปีงบประมาณ 2567 เรามุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเพราะเราเชื่อว่า หากวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้เริ่มต้นอย่างมีประสิทธิภาพ จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในระดับชั้นที่สูงขึ้น ขณะเดียวกันเรายังให้ความสำคัญกับบุคลากรภายในศูนย์เด็กเล็กด้วย เบื้องต้นจะปรับการจ่ายเงินค่าตอบแทนให้ตรงเวลามากขึ้น ปรับเกณฑ์และรูปแบบการเลื่อนวิทยาฐานะให้เหมาะสมมากยิ่งขึ้น’ นายศานนท์ กล่าวทิ้งท้าย