ชีวิตดีสังคมดี

'คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ' หยาบโลนแต่สะท้อนความเหลื่อมล้ำ อาวุธของผู้อ่อนแอ

'คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ' หยาบโลนแต่สะท้อนความเหลื่อมล้ำ อาวุธของผู้อ่อนแอ

12 ก.ย. 2566

นักวิชาการสะท้อน เพลงคนจนมีสิทธิ์ไหมคะ หยาบโลนแต่แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมที่มีมานาน ชี้เป็นอาวุธจากการแสดงของคนที่อ่อนแอ

กระแสเพลง "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ" เพลงรำวงย้อนยุคที่มีเนื้อหาบางท่อนหยาบคาย แต่ก็สามารถสะท้อนภาพสังคมไทยเมื่อ 30 ปี ก่อนได้เป็นอย่างดีว่าเกิดความเหลื่อมล้ำมากแค่ไหน เพราะหากมองลึกลงไปเนื้อเพลง "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ" เสียดสีสังคมได้อย่างเจ็บปวด แต่สิ่งสร้างความดราม่าให้เพลง "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ" ถูกตีความและมองในเชิงมากขึ้น คงมาจากกรณีดาราชายได้ออกมาวิจารณ์ถึงเนื้อเพลง ส่งผลให้นักวิชาการจะต้องออกมาอธิบาย ว่าแท้จริงแล้วเพลงมีความลึกซึ่งมากกว่าภาษาที่นำเสนอ

ผศ.ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ระบุว่า  "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ"  ถ้าคุณป๋อไม่เข้าใจ ผมจะอธิบายให้ฟัง

 

1.เพลงนี้ที่ติดหูและถูกใจโลกโซเชียลอย่างล้นหลาม แม้ร้องเมื่อ 30 ที่แล้ว เพราะเพลงได้สะท้อนความเหลื่อมล้ำทางสังคม แม้ผ่านไป 30 ปี แต่ความจริงนี้ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย

2.เพลงนี้ยังสะท้อนความเหลื่อมล้ำทางเพศสภานะด้วย และความเหลื่อมล้ำนี้ ผ่านไป 30 ปีแล้ว แต่ก็ยังดำรงอยู่ในสังคมไทย

 

 

3.การที่นักร้องคือคุณเดือนเพ็ญหยิบท่อนนี้มาจากเพลงสมองจนจนของพลอยมาแปลงเล่นต่อ ไม่ใช่เพื่อความสนุกสนานอย่างเดียว แต่การแสดงนี้คือศิลปะการแสดงที่เป็นอาวุธของผู้อ่อนแอ (weapons of the weak) หรือศิลปะของผู้อ่อนแอ (art of the weak) ลองนึกดูครับว่า ถ้ายุคนั้นหรือแม้แต่ยุคนี้ หากคนจนลุกขึ้นมาเดินขบวนชุมนุมประท้วงเรื่องความเหลื่อมล้ำ ก็ย่อมถูกปราบปรามจากรัฐได้ง่าย หรืออาจนึกภาพว่าคนจนเดินไปหานายกฯ หรือข้าราชการระดับสูง

 

 

ผศ.ดร. ไชยณรงค์ ระบุเพิ่มเติมว่า ถามว่า “คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ” คุณคิดว่าเขาจะฟังหรือในสังคมไทย อาวุธหรือศิลปะของผู้อ่อนแอไม่ได้มีแค่หมอลำ แต่ยังมีในศิลปะการแสดงและประเพณีอย่างอื่น เช่น หนังตะลุง ขบวนแห่บั้งไฟ  นิทานก้อม ฯลฯ สำหรับชาวบ้านชาวช่อง เขาถือว่าปกติ เช่น นายหนังตะลุงเดี่ยว เอาประยุทธ์มาล้ออย่างหนักเป็นที่ตลกขบขันของผู้ชม แต่ผู้มีอำนาจไม่มีสิทธิ์ที่จะโกรธเคือง

 

 

 

ประเด็นท่อนเพลง "คนจนมีสิทธิ์ไหมคะ"  จึงควรให้ความสำคัญกับสาระที่แท้จริง คือความเหลื่อมล้ำ ซึ่งรวมถึงความเหลื่อมล้ำทางเพศสถานะที่เกิดขึ้นในสังคมนี้ และสาระตรงนี้ควรสะกิดต่อมความคิดแบบอนุรักษ์นิยมให้คิดมากกว่าภาษาที่หยาบโลน

 

 

"คุณป๋อไม่ได้มาจากดาวดวงอื่นหรอกครับ คุณอยู่บนโลกใบเดียวกันนี่แหละ เพียงแต่คุณอยู่ในโลกของการแสดงอีกแบบที่คิดว่าดีกว่าคนอื่น ทั้งที่คุณเกิดและดังในยุคที่พระเอกละครไทยข่มขืนนางเอก ที่หากพิจารณาแล้ว มันเลวร้ายกว่าหยาบโลนหลายพันเท่า ซึ่งคุณป๋อควรออกมาแสดงจุดยืนว่ารับไม่ได้"  นี่คือคำบอกเล่าวของ รศ.ดร.ไชยณรงค์