ชีวิตดีสังคมดี

วิเคราะห์พฤติกรรม 'เด็ก 14 ปี' อาชญากรเด็กรายแรก ยังไม่โทษเกม ครอบครัว

วิเคราะห์พฤติกรรม 'เด็ก 14 ปี' อาชญากรเด็กรายแรก ยังไม่โทษเกม ครอบครัว

04 ต.ค. 2566

จิตแพทย์วิเคราะห์พฤติกรรม 'เด็ก 14 ปี' นับเป็นอาชากรเด็กรายแรก ยังไม่ควรมองข้ามช็อตแนะอย่าเพิ่งโทษเกมหรือครอบครัว เผยวัยรุ่นเข้ารับคำปรึกษาจิตเวชมากขึ้น

กลายเป็นเรื่องที่สังคมให้ความสนใจทั่วประเทศสำหรับเหตุการณ์ "เด็ก 14 ปี" ก่อเหตุรุนแรงในห้างพารากอน จนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก หลังจากเกิดเหตุสะเทือนขวัญ สะเทือนสังคม ก็ทำให้หลายคนเกิดความสงสัย และวิเคราะห์ถึงปัจจัย และสิ่งเร้าที่ทำให้ "เด็ก 14 ปี" ก่อความรุนแรงได้ขนาดนี้  ประกอบกับกระแสข่าวที่ระบุว่า เด็กคนดังกล่าวมีประวัติการเข้ารับการรักษาโรคด้านจิตเวช ยิ่งทำให้สังคมสงสัยมากยิ่งขึ้น 

ดร.นพ.วรตม์ โชติพิทยสุนนท์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โฆษกกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก เกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาวะจิตใจ หรือสุขภาพจิตของเด็กว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ ว่า จากเหตุการณ์ยิงในพารากอนที่ผู้ก่อเหตุเป็น "เด็ก 14 ปี" หากจะวิเคราะห์ว่ามีความเกี่ยวกับข้องกับสภาวะทางจิต การเล่นนเกม หรือครอบครัวนั้นอาจจะยังไม่สามารถระบุได้โดยตรง เพราะ ณ ตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่ยังน้อยเกินไปที่จะสรุปได้ว่าสาเหตุ หรือ แรงจูงใจที่แท้จริงของเด็กนั้นมาจากอะไร  หากจะบอกว่ามาจาการเล่มเกมอาจจะยังไม่ใช้ซะทีเดียว เพราะปัจจุบันมีเด็กที่เล่นเกม และเด็กติดเกมจำนวนมาก แต่ก็ยังไม่เคยเห็นที่เด็กออกมาก่อเหตุรุนแรงจนส่งผลให้มีคนเสียชีวิตแบบนี้ ซึ่งเหตุยิงในพารากอนนับว่าเป็นการก่อเหตุที่มีคนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนหลายรายจากผู้ก่อเหตุที่เป็นเด็กรายแรกของไทย  

ส่วนที่หลายคนตั้งข้อสงสัยว่าอีกปัจจัยที่อาจจะมีส่วนให้ "เด็ก 14 ปี" เครียดหรือกดดันจนเกินไปมาจากครอบครัวหรือไม่ ดร.นพ.วรตม์ ระบุว่า ความเข้มงวดของครอบครัวไม่ใช่แรงกระตุ้น 100% เพราะมีเด็กไทยจำนวนไม่น้อยที่พ่อ แม่ ให้เรียนพิเศษอย่างหนัก แต่นั่นไม่ใช่ฉนวนเหตุ หรือปัจจุบันที่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรงได้  ดังนั้นตนในฐานะจิตแพทย์อยากให้มององค์ประกอบที่อาจจะก่อให้กิดความรุนแรงขึ้นได้ 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ชีววิทยา อารมณ์ นิสัย, สุขภาพด้านจิต, ปัจจัยแวดล้อมทางสังคม ครอบครัว ชุมชน  ซึ่งคนรอบข้าง ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการสอบสวน จะต้องรู้ให้ครบทั้ง 3 ด้านก่อน เพราะภูมิหลังของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน 

 

 

"ผมไม่อยากให้การวิเคราะห์ปัญหาความรุนแรงที่ก่อโดยเด็กในครั้งเป็นการวิเคราะห์แบบมองข้างช็อตไป เพราะมันจะไม่เกิดผลดีและเราจะไม่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงแบบนี้ได้อีก  หากตอนนี้เราด่วนตัดสินเกินไปว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะเกมมันจะกลายเป็นว่าเราตัดสินแบบก้าวกระโดด และท้ายที่สุดปัญหาที่เกิดขึ้นกับเด็กคนนี้ และเด็กคนอื่นๆ จะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง" ความคิดเห็นจาก จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น 

 

 

อย่างไรก็ตามข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันด้วยสภาวะสังคมที่เปลี่ยนไปเราพบว่ามีเด็กเข้ารับคำปรึกษาด้านสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีต และยังพบว่ามีความเครียดและซึมเศร้าพบในคนอายุน้อยลงเรื่อยๆ ในสภาพที่รุนแรงมากขึ้นด้วย   โดยกลุ่มเด็กอายุน้อยที่พบภาวะเครียด ซึมเศร้า เสี่ยงฆ่าตัวตาย เท่าที่พบจากการที่เด็กเข้ามาประเมินออนไลน์อยู่ที่ 10 กว่าขวบ ส่วนการโทรมายัง 1323 ก็พบอายุประมาณ 10 ปีกว่าๆ