ชีวิตดีสังคมดี

เหตุการณ์  'อิสราเอล-ฮามาส' ความขัดแย้งพันปีไม่รู้จบ เกิดขึ้นต่อเนื่องแน่

เหตุการณ์ 'อิสราเอล-ฮามาส' ความขัดแย้งพันปีไม่รู้จบ เกิดขึ้นต่อเนื่องแน่

09 ต.ค. 2566

เหตุการณ์ 'อิสราเอล-ฮามาส' ความแย้งพันปี ต่อสู้ ก่อสงครามไม่รู้จบ ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ไทยต้องให้ความสำคัญในการช่วยเหลือคนเป็นอันดับแรก เพราะเหตุการณ์จะเกิดซ้ำๆ ไม่จบสิ้น

เหตุการณ์ความรุนแรงใน "อิสราเอล-ฮามาส" ตั้งแต่เมื่อช่วงเย็นของวันเสาร์(ตามเวลาประเทศไทย) สร้างความกังวลให้นานาประเทศอย่างเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการจับตัวประกันที่มีทั้งแรงงานไทย และแรงงานประเทศอื่นๆ ไว้เป็นโล่ห์กำบังในครั้งนี้ ได้สร้างความหวาดกลัวให้กับทางการหลายประเทศ เพราะท่าที่การก่อสงครามระหว่าง  "อิสราเอล-ฮามาส" ในครั้งนี้ยังไม่มีท่าว่าจะจบ และส่อแววจะเกิดการปะทะกันขึ้นอีกหลายระลอก 

โดย รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและความมั่นคง ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ว่า ดูจากการรายงานข่าวจากพื้นที่การปะทะกันระหว่าง "อิสราเอล-ฮามาส" อาจจะคลายตัวลง เพราะทางกลุ่มฮามาสเข้าไปยังหลุมกำบังเพื่อรอการโจมตีกลับระลอกใหม่ ส่วนทางอิสราเอลก็รอจังหวะโจมตีอีกครั้งเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด คาดการณ์ว่าทางอิสราเอลอาจจะรอกำลังเสริมจากประเทศพันธมิตรอย่างสหรัฐอเมริกา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโต้กลับจากกลุ่มประเทศอาหรับที่เป็นพันธมิตรของกลุ่มฮามาส  โดยการโจมตีระลอกใหม่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นต้องระวังโดยเฉพาะการนำเอาตัวประกันมาเป็นโล่ห์กำบัง อาจจะเป็นเรื่องใหญ่สำหรับหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยที่จะต้องอาศัยการเจรจาทั้งทางตรงและทางอ้อม  เพราะในกรณีของประเทศไทยมีความสัมพันธุ์อันดีต่ออิสราเอล และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง รวมทั้งคนไทยที่มีความสัมพันธ์อันดีกับครอบครัวระดับสูงในปาเลสไตน์ ซึ่งตนเคยเดินทางไปกรุงเยรูซาเรมก็เคยเจอเหมือนกัน 

 

 

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร

อย่างไรก็ตามจังหวะเวลานี้เป็นเวลาที่ค่อนข้างสำคัญที่จะต้องเริ่มอพยพแรงงานไทย หรือคนไทยที่อยู่ในพื้นที่ฉนวนกาซ่า และในพื้นที่ของอิสราเองที่ถูกจับเป็นตัวประกันขณะนี้ข้อมูลระบุว่า กระทรวงการต่างประเทศของไทยกำลังรอสัญญาณจากทางอิสราเอล และรอการเปิดน่านฟ้าอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ต้องรอจังหวะเวลา รอสถานการณ์ในภาพรวมจากสหประชาชาติ (UN) หรือรอจังหวะจากทางประเทศเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ จอร์แดน ซาอุดิอารเบีย จะมีปฏิกิริยาทางการทหารมากกว่านี้หรือไม่ 

 

ขอบคุณภาพประกอบข่าวจากห้องไลน์อัศวินภัย

 

เหตุการณ์สงครามระหว่าง "อิสราเอล-ฮามาส" อาจจะไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เป็นเหตุการณ์ที่ขัดแย้งกันมาอย่างยาวนาน ซึ่งที่ผ่านมามีเหตุการณ์ที่โจมตีกันด้วยขีปณาวุธมาบ้าง แต่ไม่เคยซับซ้อนเท่านี้มาก่อน และยังไม่เคยมีการจับตัวประกันจำนวนมากเท่านี้มาก่อน เพราะฉะนั้นเหตุการณ์โจมตี และสงครามในครั้งนี้ก็อาจจะส่งผลกระทบทั้งระยะสั้น โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว การบริหาร และด้านแรงงาน โดยเฉพาะประเทศที่มีแรงงานอยู่ในอิสราเอลหลายเหมือนคน ที่เป็นทางการมีมากกว่า 30,000 และยังไม่รวมที่ไม่เป็นทางการที่อาจจะมีมากกว่านั้น เฉพาะในฉนวนกาซ่าก็มีมากกว่า 5,000 คนแล้ว ซึ่งจะต้องรองรับและดูมาตรการส่งกลับ ส่งคืน เพราะมีเงื่อนไขเฉพาะอยู่ว่าหากแรงงานเดินทางออกมาแล้วจะกลับไปทำงานได้เหมือนเดิมหรือไม่ 

 

 

รศ.ดร.ปณิธาน อธิบายถึงสิ่งที่ประเทศไทยจะต้องเฝ้าระวังเพิ่มเติมจากสงคราม "อิสราเอล-ฮามาส"  คือ ไทยจะต้องระวังไม่ให้ตกอยู่ในสถานะที่เป็นการเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือถูกดึงไปอยู่ข้างคู่ขัดแย้งฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งฝั่งปาเลสไตน์และอิสราเอล ต้องบอกว่าทั้ง 2 ฝั่งเป็นคู่ขัดแย้งกันมานานเป็นนับ 1,000 ปี ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งในเชิงพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นดินแดนอันศักดิ์สิทธิ  เนินพระวิหาร โดยเรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่มีความขัดแย้งกันมาเป็นเวลานานและมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ซึ่งประเทศไทยก็ไม่ได้เลือกข้างใดข้างหนึ่ง และสนับสนุนให้ใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหามาโดยตลอด รวมทั้งที่ผ่านมา UN ให้การสนับสนุนตั้งรัฐปาเลสไตน์คู่ขนานไปกับอิสราเอลด้วยสันติวิธีมาโดยตลอด  ดังนั้นไทยจะต้องระวังไม่ให้ถูกดึงเข้าไปเป็นส่วนใดส่วนหนึ่งของความขัดแย้ง  "อิสราเอล-ฮามาส" ขณะเดียวกันต้องร่วมมือกับหลายประเทศเพื่อกดดันให้ทุกฝ่ายยุติความรุนแรงให้ได้ไม่เช่นนั้นจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง  อีกทั้ต้องปกป้องผลประโยชน์ของประเทศไทยที่อยู่ในประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นทั้งสหรัฐอเมริกา อาหรับ 

 

 

 

"ท้ายที่สุดเราจะต้องเรียนรู้จากบทเรียน เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่มีคนไทยโดนจับมาหลายต่อหลายครั้ง และยังมีคนเสียชีวิต ลักษณะเดียวกันกับที่เคยเกิดขึ้นของฉนวนกาซ่า โดยเรื่องนี้จะต้องวางระบบแจ้งเตือนให้ดีขึ้นกว่าที่มีอยู่ เพราะสถานการณ์ที่มีอยู่มันเปลี่ยนไปหมดแล้ว จำเป็นจะต้องมาจัดระบบใหม่ทั้งการแจ้งเตือน และการระมัดระวังในการอพยพกลับ โดยเฉพาะในเรื่องแรงงานที่จะต้องทำมากขึ้นจากนี้ไปรัฐบาลจะต้องดำเนินการ ที่ผ่านมารัฐบาลไทยก็สามารถตั้งต้นและตั้งศูนย์ดูแลได้ดี แม้ในช่วงแรกจะสับสนไปบ้าง แต่กระทรวงการต่างประเทศก็ค่อนข้างแผน และให้น้ำหนักกับการช่วยเหลือดูแลคนได้ดีมาเป็นอันดับแรก ท้ายที่สุดคือเวลาที่ไม่รอท่า โดยเฉพาะเวลาในการช่วยเหลือตัวประกันที่เป็นคนไทย ทีมพิเศษอาจจะต้องดึงมาช่วยเจรจาโดยตรงเพื่อเอาคนไทยมาก่อนในพื้นที่ที่อาจจะเกิดการโจมตีระลอกใหม่ในไม่กี่วันข้างหน้า" รศ.ดร.ปณิธาน กล่าว 

 

 


สำหรับการส่งเครื่องบินไปรับคนไทยในพื้นที่สู้รบขณะนี้ค่อนข้างเป็นไปได้ยากและมีความเสี่ยงอยู่บ้าง เพราะมีการยิงอาวุธขึ้นฟ้าอย่างต่อเนื่องส่งผลให้อิสราเอลจำเป็นจะต้องผิดน่านฟ้าไป โดยกรณีดังกล่าว รศ.ดร.ปณิธาน อธิบายเอาไว้ว่า การเข้าพื้นที่ขณะนี้ถือว่าเข้าได้ถึงได้ยาก เนื่องจากมีการปิดพื้นที่ และการควบคุมโดยอิสราเอลทำได้ค่อนข้างดีในรอบหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะการเข้าไปในพื้นที่ฉนวนกาซ่า ซึ่งจะต้องมีการประงานกับพื้นที่ใกล้เคียงโดยเฉพาะประเทศจอร์แดน ซึ่งอาจจะใช้เป็นพื้นที่สำรองที่จะช่วยให้ไทยอพยพคนไทยมาพักรอไว้ก่อน อย่างไรก็ตามขณะนี้การอพยพไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะคนไทยได้เข้าหลุมหลบภัยไปแล้ว แต่สิ่งที่น่ห่วงคือระหว่างการเคลื่อนย้ายคนที่เสี่ยงต่อการถูกโจมตี เพราะยังขาดการติดต่อทำได้ยาก ต้องชั่งน้ำหนักให้ดี และรอสัญญาณที่ขัดเจนก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณที่ชัดเจนจากฝั่งอิสราเอลออกมา 

 

 

  • สงครามกะทันหัน "อิสราเอล-ฮามาส" ลดความมั่นใจของแรงงานไทยหรือไม่ 

 ผู้เชี่ยวชาญด้านการต่างประเทศและความมั่นคง อธิบายเพิ่มเติมว่า ผลกระทบกับแรงงานมีหลายลักษณะ แต่อิสราเอลยังถือว่าเป็นแรงงานที่มีคุณภาพ และเป็นตลอดแรงงานที่มีผลตอบแทนสูง ระบบที่ดี แต่ต้องคิดถึงทางเลือกอื่นๆ ซึ่งอาจจะพิจารณาโยกย้ายแรงงานไปยังประเทศซาอุดิอารเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีระบบแรงงานค่อนข้างดีเช่นกัน อีกทั้งยัง้ป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยกว่า ค่าตอบแทนเท่ากับหรือสูงกว่า เพราะอนาคตต่อจากนี้จะยังเกิดความขัดแย้ง และเกิดการปะทุต่อเนื่อง และอาจจะมากขึ้นตามเทคโนโลยีด้วยซ้ำ  

 

 

อย่างไรก็ตามสำหรับญาติแรงงานไทยอยู่ในพื้นที่ อิสราเอลมีการดูแลที่ค่อนข้างดีพอสมควร การแจ้งเตือนทางทหารที่ดีอยู่แล้ว อีกส่วนจะต้องมีการประสานงานกับสถานกงศุล เพื่อรายงานสถานการณ์ให้ดี เพราะที่ผ่านมามีการคาดการณ์อยู่แล้วว่าจะเกิดเหตุการปะทะกันระหว่าง "อิสราเอล-ฮามาส" ซึ่งก็เกิดขึ้นจริง