'ยาเสพติด' 10 เม็ดเท่ากับผู้เสพ กฎหมายใหม่ที่ไม่อยากผลักคนติดยาเข้าคุก
ครอบครอง 'ยาเสพติด' 10 เม็ดเท่ากับผู้เสพ เจตนารมย์ของกฎหมายใหม่ที่ไม่อยากผลักคนติดยาเข้าคุก แต่หากพฤติการไม่ดีก็ยังมีโทษจำคุกไม่เปลี่ยนแปลง
แน่ชัดแล้วว่าปรับกฎหมาย "ยาเสพติด" ใหม่เป็น ครอบครอง 10 เม็ดเท่ากับผู้เสพ มากกว่า 10 เม็ดจึงจะจัดว่าเป็นค้า และไทม์ไลน์การบังคับใช้กฎกระทรวงฉบับใหม่อาจจะอยู่ราวๆ เดือนธ.ค. 2566 กฎกระทรวงเกี่ยวกับยาเสพติดฉบับใหม่นี้สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่ายไม่น้อย เพราะเกรงว่าจะสร้างเครื่อข่ายยาเสพติด ผู้ค้ารายย่อยมากขึ้นหรือไม่
แต่หากลองวิเคราะห์เจตนารมย์ของกฎหมาย "ยาเสพติด" ฉบับใหม่เพียงแค่ต้องการที่ให้ผู้เสพยาเข้าสู่กระบวนการบำบัดแบบสมัครใจมากกว่าส่งพวกเขาเข้าคุกเพียงสถานเดียวเหมือนที่ผ่านมา
โดย นายนิยม เติมศรีสุข อดีตเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) และอดีตรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ให้สัมภาษณ์กับ คมชัดลึก ถึงแนวคิดการแก้ไขกฎกระทรวงกำหนดปริมาณ "ยาเสพติด" ให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ทำให้สันนิษฐานว่ามีไว้ครอบครอง ว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะหลักในการพิสูจน์ว่าเป็นผู้เสพหรือผู้ขายที่มีการอ้างอิง และยึดตามจำนวนเม็ดที่ครอบครอง โดยในแต่ละช่วงที่ผ่านมามีการแก้ไขกฎหมายภายใต้ฐานติดการคำนวนตามความเป็นจริง ทั้งจากการสอบถามผู้ต้องโทษ และคำนวณทางวิทยาศาสตร์
โดยในช่วงแรกที่มีการกำหนดครอบครอง 15 เม็ดเท่ากับผู้เสพ และมากกว่า 15 เม็ดเท่ากับคนขายนั้นก่อนที่จะออกมาเป็นกฎหมายในครั้งนั้นเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นพนักงานสอบสวน เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ได้พิจารณาจากความเป็นจริงผ่านการตรวจวัดสารแอมเฟตามีนในยาเสพติดที่กำหนดว่าจะต้องมีสารบริสุทธิ์ 20 มิลลิกรัม รวมทั้งการสอบถามจากผู้ต้องขังซึ่งพบว่าโดยทั่วไปแล้วคนเสพยาจะมียาไว้ในครอบครองประมาณ 5-10 เม็ด/วัน เพื่อไม่ให้เกิดความถี่ในการสั่งซื้อยาที่น่าสงสัย ส่วนผู้ขายส่วนใหญ่ไม่มีได้มีการขายแบบปลีกย่อยครั้งละ 3- 5 เม็ด ดังนั้นหากคำนวนตามปริมาณการเสพแล้ว กฎหมายจึงระบุเอาไว้ว่า 15 เม็ดเท่ากับผู้เสพ และจะต้องเข้าสู่กระบวนการบำบัด และการสืบสวนพฤติกรรมของศาลตามขั้นตอน
นายนิยม กล่าวต่อว่า ต่อมามีการปรับแก้ไขกฎหมายอีกครั้ง โดยในครั้งที่ผ่านมาเมื่อปี 2566 เป็นการแก้ไขกฎหมายโดยยึดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูนำเอาคนที่ติดยาเพสติดเข้าสู่กระบวนการบำบัด โดยในขั้นตอนนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องเป็นผู้พิจารณาใช้ดุลยพินิจ ดูพฤติการของผู้กระทำความผิด รวมไปถึงพิจารณาถึงศักยภาพกำลังรับผู้เสพยาเข้าสู่การบำบัด ของกรมคุมประพฤติจึงได้ข้อสรุปที่ 5 เม็ดเท่ากับผู้เสพ จนท้ายที่ก็มีการแก้ไขรายละเอียดอีกครั้ง โดยปรับลดอัตราการครอบครองยาเสพติดเหลือ 1 เม็ดเท่ากับผู้เสพ และ 2 เม็ดขึ้นไปเท่ากับผู้ขาย ในระหว่างที่ประเทศไทยให้กฎหมายดังกล่าวปรากฎว่ามีผู้เสพยาเสพติดถูกผลักให้ติดคุกจำนวนมาก แทนที่ผู้เสพบางรายที่ไม่ได้มีพฤติการเข้าข่ายเป็นผู้ขายจะได้รับการบำบัดที่ถูก แต่กลับถูกผลักดันเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งหมด
‘สำหรับตนกฎหมายในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เปิดโอกาสให้ผู้เสพยาได้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู ซึ่งไม่สอดคล้องกับกฎหมายทั่วโลกที่มองว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาด้านระบบสาธารณสุข ไม่ใช่ปัญหาด้านกฎหมายเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงควรจะนำผู้เสพยากเข้าสู่กระบวนการบำบัดมากกว่า เพราะอย่าลืมว่าพฤติกรรมเสพติดมีหลายรุปแบบทั้วเสพติดการพนัน เสพติดสุรา เหล่านี้ก็นับว่าเป็นพฤติกรรมเสพติดเช่นกัน ดังนั้นคนที่ติดยาบางรายไม่ได้มีแนวโน้มจะเป็นผู้ขายจึงควรได้รับสิทธิในการเลือกเข้ารับการบำบัดมากกว่าติดคุก’ คำบอกเล่าของอดีตเลขาธิการ ป.ป.ส.
กลับมาสู่ยุคปัจจุบันที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับร่างกฎกระทรวงฯ ใหม่ โดยการปรับลดปริมาณ ยาเสพติด 10 เม็ดเท่ากับผู้เสพ และมากกว่า 10 เม็ดเท่ากับผู้ขาย ที่ทำให้เกิดความกังวลขึ้นในสังคมว่าจะเป็นการเพิ่มผู้ขายหน้าใหม่ และเพิ่มผู้ขายรายย่อยให้มากกว่า ณ ตอนนี้ หรือไม่
นายนิยม อธิบายถึงเจตนารมย์ และหลักคิดของการแก้ไขกฎหมายเยาเสพติดในครั้งนี้ ว่า การแก้ไขกฎหมายการครอบครอง ยาเสพติดในครั้งนี้ คณะทำงานได้มีการพิจารณาองค์ประกอบในการกำหนดจำนวนยาเสพติดอย่างละเอียดด้วย 4 องค์ประกอบ คือ สายบริสุทธิ์ หรือ แอมเฟตามีนในเม็ดยา ปริมาณสารที่ผู้เสพนำเข้าร่างกาย พฤติกรรมของผู้เสพยา การซื้อยามาเสพไว้ในแต่ละวันตามข้อมูลของ บยส. และพฤติการที่บงชี้ว่ามีการซื้อขายคนขายจะแบ่งขายครั้งละเท่าไหร่ รวมไปถึงการพิจารณาตามหลักวิทยาศาสตร์จากการคำนวนตามการออกฤทธิ์โดยพบว่า ยาบ้า 1 เม็ดจะมีแอมเฟตามีน 10-15 มิลลิกรัม โดยข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่าหากในร่างกายมีสารแอมเฟตามีน 50 มิลลิกรัม จะอยู่ในภาวะที่ร่างกายรับได้ แต่หากแอมเฟตามีน 100 มิลลิกรัมร่างกายจะเกิดการวิตกกังวลสูงหวาดระแวง แต่หากร่างกายได้รับแอมฟิตามีนเกิน 100 มิลลิกรัมจะทำให้เสียชีวิต ดังนั้นการกำหนดจำนวนการครอบครอง 10 เม็ดเท่ากับผู้เสพจึงเป็นไปตามฐานการคำนวณปริมาณสารบริสุทธิ์
อดีตเลขาธิการป.ป.ส. ระบุเพิ่มเติมว่า สิ่งที่หลายคนกังวลจะทำให้ยาเสพติดระบาดในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นหรือไม่นั้น และเหมาะสมกับสถานการณืปัญหายาเสพติดที่เป็นอยู่ขณะนี้มากแค่ไหน ตนในฐานะคณะทำงานต้องอธิบายว่า ทั้งผู้เสพ และผู้ขายยังมีโทษจำคุกอยู่ โดยผู้เสพยังมีโทษจำคุก 2 ปี ผู้ครอบครองไว้เพื่อขายมีโทษจำคุก 15 ปี ศาลสามารถใช้ดุลยพินิจ พิจารณาโทษตามพฤติกรรมที่ผ่านมา โดนเฉพาะการเสพยาแล้วไปก่ออาชญากรรมหรือไม่ หากพบว่าเกิดพฤติกรรมซ้ำๆ และสร้างความเดือดร้อนแก่ชีวิตและทรัพสินย์ของผู้อื่นก็สามารถพิจารณาสั่งจำคุกได้เหมือนกับกฎหมายในยุคที่ผ่านๆมา
ทั้งนี้การจะแก้ไขกฎหมายยาเสพติดมีการพิจารณาอย่างรอบครอบภายใต้เจตนารมย์การส่งตัวผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้มากที่สุด เพราะการที่จะดันคนเสพเข้าไปอยู่ในคุกจำนวนมากๆ ผลที่ได้อาจจะไม่คุ้มเสีย