ชีวิตดีสังคมดี

'เงินดิจิทัล 10,000' จุดเริ่มต้นพาเศรษฐกิจไทยพ้นอ่อนแอ แต่ต้องแจกถ้วนหน้า

'เงินดิจิทัล 10,000' จุดเริ่มต้นพาเศรษฐกิจไทยพ้นอ่อนแอ แต่ต้องแจกถ้วนหน้า

10 พ.ย. 2566

นักเศรษฐศาสตร์ชี้โครงการ 'เงินดิจิทัล 10,000' จุดเริ่มต้นปั้มเศรษฐกิจไทยให้พ้นอ่อนแอ แต่ควรแจกแบบถ้วนหน้า ไม่สร้างเงื่อนไขรวยหรือจน

รศ.ดร.ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการ "เงินดิจิทัล 10,000" กับ คมชัดลึกออนไลน์ ว่า เงินดิจิทัล 10,000 บาทนับว่าเป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทไสทยขนาดใหญ่โครงการแรก เพราะมีการคำนวณจำนวนเงินที่จะใช้ในโครงการดังกล่าวไว้ที่ 5 แสนล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าสจะเป็นจุดเริ่มต้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซ้าและมีระบบเศรษฐกิจที่อ่อนแอมานานกว่า 10 ปี หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในแถบอาเชียน เราพบว่าประเทศไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุด และต่ำกว่า มาเลเชีย ฟิลิปินส์ อินโดนีเซีย

‘การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่นับว่าเป็นก้าวสำคัญในการทำให้เศรษฐกิจกระโดดขึ้นหลังจากที่อ่อนแอมานาน ซึ่งแนวคิดดังกล่าวตนเห็นว่าเป็นแนวที่จะช่วยให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย และสร้างเม็ดเงินหมุนเวียนได้ดีกว่า เพราะเป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่มาก หากเทียบกับมาตรการช่วยเหลือเยียวยาในช่วงโควิด19 ระบาดไม่ว่าจะเป็นมาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือแรงงาน และแน่นอนว่าโครงการ "เงินดิจิทัล 10,000" จะมีเอฟเฟคทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการกรอบกู้เศรษฐกิจไทยให้หายอ่อนแอได้แน่นอน’ นี่คือความเห็นจากอาจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์

 

รศ.ดร.ชัยรัตน์ เอี่ยมกุลวัฒน์

แม้ว่าเงื่อนไขโครงการ "เงินดิจิทัล 10,000" จะยังไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าจะแยกทุกคนที่มีอายุ 16 ปี ขึ้นไป หรือจะให้เกณฑ์เส้นแบ่งความยากจนด้วยการวัดที่เงินเดือน หรือเงินฝากในบัญชีเป็นตัวกำหนดว่าจะได้หรือไม่ได้นั้น

 

 

รศ.ดร.ชัยรัตน์ มีมุมมองถึงหลักเกณฑ์ในการแจก "เงินดิจิทัล 10,000" ไว้ว่า หากรัฐบาลต้องการจะกระตุ้นระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยตนเห็นว่าเราจะต้องให้ "เงินดิจิทัล 10,000" แบบถ้วนหน้า เพื่อความทั่วถึงและเกิดการใช้จ่ายแบบเต็มกำลังของประชาชน การแจกแบบเฉพาะกลุ่มลักษณะที่คล้ายกับการให้เงินบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะไม่สามารถกระตุ้นระบบเศรษฐกิจให้ดีได้มากพอ และยังจะเป็นช่วงว่างให้เกิดการทุจริตได้อีกด้วย ดังนั้นหากจะแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท ก็ควรจะให้ทุกคนอย่างเท่าเทียม

 

ส่วนระยะเวลาในการใช้จ่ายมี่จะต้องใช้ 6 เดือนนั้น สามารถช่วยกระตุ้นระบบเศรษฐกิจได้โดยเฉพาะหลังจากที่จบโครงการจะเห็นผลได้อย่างชัดเจนมากขึ้นว่า ภาพรวมเศรษฐกิจของไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่วนตัวเห็นด้วยกับมาตรการโครงการเงินดิจิทัล 10,000 แต่สนับสนุนให้แจกแบบถ้วนมากกว่าการสร้างเงื่อนไขแบ่งความรวยความจน

 

 

รศ.ดร.ชัยรัตน์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับโครงการแจก เงินดิจิทัล 10,000 บาท เพิ่มเติมด้วยว่า การใช้เงินกูผูกพัน 4 ปี ซึ่งเป็นแหล่งเงินที่รัฐบาลจะนำมาแจกในโครงการนี้ ไม่ก่อให้เกิดภาระหนี้ผูกพันติดตามประชาชนคนไทยไปแน่นอน เพราะหนี้สาธาณะเป็นหนี้ของรัฐบาลที่จะต้องดำเนินการหาเงินมาจ่ายให้หมด ส่วนหนี้ของประชาชนคือหนี้ครัวเรือน ซึ่งมันจะเพิ่มหรือลดลงมักจะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจหากประชาชนมีรายได้น้อย แต่รายจ่ายเยอะย่อมมีหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว

 

 

“แม้ว่าโครงการเงินดิจิทัล 10,000 บาท จะเป็นโครงการที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้ดีมากพอที่จะทำให้ประเทศไทยฟื้นตัวได้ แต่ส่วนตัวผมได้มีการปรียบเทียบเอาไว้ว่าหากนำเงินที่จะเอามาใช้ในโครงการเงินดิจิทัลไปอุดหนุนเบี้ยยังชีพคนชรา ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายสูง แต่มีเงินออมน้อยมากก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้เช่นกัน” รศ.ดร.ชัยรัตน์ เปรียบเทียบการใช้งบประมาณเอาไว้

 

 

ท้ายที่สุดโครงการเงินดิจิทัลจะมีการสรุปเงื่อนไขไปในทิศทางใดนักเศรษฐศาสตร์ยังบอกไว้ว่า หากจะทำให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผล กระบวนการใช้เงินดิจิทัลจะต้องเป็นการซื้อสินค้าภายในประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีกฎตายตัวว่าประชาชนจะนำเงินไปซื้ออะไร ใช้จ่ายส่วนไหน แต่หากประเทศไทยต้องการจะหลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางโครงการ "เงินดิจิทัล 10,000" จะเป็นจุดเริ่มต้นของระบบเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และจะตกกระทบไปจนถึงการปรับขึ้นเงินเดือนของพนักงาน และแรงงานในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ.