แก้ปัญหา 'ฝาท่อทรุด' จุดก่อสร้างบ่อร้อยไฟ บ่อพักน้ำ ป้องกันเกิดเหตุซ้ำซาก
นักวิชาการแนะแก้ปัญหา 'ฝาท่อทรุด' บริเวณก่อสร้าบ่อร้อยสายไฟฟ้า บ่อพักน้ำใต้ผิวถนน ควรเสริมความแข็งแรงรอบปากต่อป้องกันเกิดเหตุซ้ำซาก
รศ.เอนก ศิริพานิชกร ประธานที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการวิศวกรรมโครงสร้างและสะพาน วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ให้สัมภาษณ์ กับคมชัดลึกออนไลน์ ถึงเหตุการณ์ "ฝาท่อทรุด" บริเวณบ่อร้อยสายไฟฟ้า ของการไฟฟ้านครหลวงทรุดตัว หลังจากที่รถบรรทุกวิ่งผ่านบริเวณซอยสุขุมวิท 64/1 และบริเวณถนนมักกะสัน ว่า ลักษณะของบ่รอยท่อสายไฟฟาเป็นการสร้างบ่อแบบใช้เทคนิคการจมบ่อใต้ดิน ซึ่งมีความลึกมากกว่า 20 เมตร มีผนังบ่อทั้ง 4 ด้าน ดังนั้นจากนั้นจึงมีการปิดหน้าบ่อดินเพื่อคืนสภาพผิวถนนให้เรียบ แต่เมื่อเกิดแรงกดทับเป็นเวลาจะส่งผลให้บริเวณรอบๆ ปากบ่อเกิดการทรุดตัว ซึ่งมีผลต่อฝาปิดบ่อให้เกิดการเคลื่อนตัว แอ่นตัว และหากมีรถที่น้ำหนักมากๆ ก็จะส่ผลให้ฝาปิดทรุดตัวลงได้
อย่างไรก็ตามสำหรับหลักการออกแบบบ่อท่อร้อยสายไฟฟ้า หรือบ่อพักน้ำ ปกติแล้วผู้รับเหมาจะออกแบบให้สามารถรองรับน้ำหนักได้ แต่หากพื้นที่รอบๆบ่อ หรือ "ฝาท่อทรุด" และเกิดการยุบลงไปด้านใดด้านหนึ่งจะทำให้ฝาปิดบ่อเกิดการแอ่นตัว โดยวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวผู้รับเหมาจะใส่เหล็กเสริมเพิ่มเข้าไป ซึ่งไม่ได้ถือว่าผิดหลักวิศวกรรมแต่อย่างใด แต่ปัจจุบันเบื้องต้นที่ทำให้ฝาท่อหลุดอาจจะมีจากกรณีที่เหล็กเสริมทรุดตัว เพราะการแบกรับน้ำหนักที่มากจนเกินไป
รศ.เอนก กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการก่อสร้างบ่อร้อยสายไฟฟ้าที่มีลักษณะเป็นทรงกลม ซึ่งจะมีการทำฝาท่อแบบโครงสร้างเหล็กที่เป็นเหล็กรูปพรรณลักษณะการวางเป็นกากบาท เมื่อรับน้ำหนักมากๆ จุดต่อระหว่าวเหล็กกับพนังจะเกิดความเสียหายและทรุดตัวได้เช่นกัน ทั้งนี้เหตุการณ์บริเวณถนนสุขุมวิท 64/1 คาดว่าจะเกิดการทรุดตัวเพราะรถบรรทุกที่บรรทุกน้ำหนักกว่า 45 ตัน ซึ่งเกินกว่ากฎหมายกำหนดเพราะปกติรถบรรทุก 10 ล้อ จะบรรทุกน้ำหนักได้ 25 ตัน ซึ่งก็จะต้องเป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตรวจสอบ
ปัจจุบันในพื้นที่กรุงเทพมหานครมีโครงการก่อสร้างบ่อใต้ดินอยู่ทั่วพื้นที่ประมาณ 700 บ่อ การที่จะปล่อยให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้ขึ้นบ่อยๆ อาจจะไม่ใช้เรื่องที่ดีมากหนัก รศ.เอนก ได้ให้คำแนะนำ สำหรับการวางแผนก่อสร้าง และการกำหนดมาตรการของหน่วยงานรัฐเอาไว้อย่างน่าสนใจเพื่อป้องกัน "ฝาท่อทรุด" ว่า ตัวบ่อพักเองส่วนมากไม่ค่อยมีปัญหาเนื่องจากตัวบ่อมีการใช้ตัวซัพพอตอยู่แล้ว แต่ส่วนมากพบปัญหาดินทรุดตัวบริเวณโดยรอยปากบ่อจึงทำให้เกิดอุบัติเหตุ และมีการทรุดตัวของฝาปิดปากบ่อได้ เพราะในกรณีที่ถนนทรุดตัวลงไปเรื่อยๆ จะเกิดบ่าของปากบ่อและถนนที่แตกต่างกัน ส่วนใหญ่แล้วผู้รับเหมาจะแก้ปัญหาโดยการเอายางมะตอยไปปะบริเวณที่ไม่เสมอกัน
สำหรับคำแนะนำเพื่อให้การก่อสร้างในพื้นที่สาธารณะมีความปลอดภัยจะต้องเสริมเสาเข็มรอบๆ บ่อโดยไล่ตั้งแต่ตรงกลางมาจนถึงบริเวณชิดปากบ่อ คล้ายๆกับการวางโครงสร้างสะพาน เพาะจะให้พื้นระหว่างถนนและฝามีความเรียบ และลดการทรุดตัวของถนนลงได้ แต่แน่นอนว่าแนวทางดังกล่าวอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากขึ้น แต่เพื่อลดปัญหา และเพิ่มความปลอดภัยเจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก็ควรจะทำหรืออีกหนึ่งวิธีคือ การเสริมความแข็งแรงของโครงสร้างพื้นฐานด้วย BOX heavy duty ซึ่งเป็นวิธีที่ทำได้ง่าย สามารถดำเนินการซ่อมได้
รศ.เอนก กล่าวอีกว่า เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสำหรับการก่อสร้างในพื้นที่กรุงเทพมหานครเกิดความปลอดภัย และไม่เกิดเหตุในลักษณะดังกล่าวซ้ำซาก เพราะเมืองใหญ่ไม่ควรจะเกิดเหตุแบบนี้ จะมีการประชุมร่วม หารือร่วมกับ กทม. เพื่อกำหนดมาตรการ และวางแผนป้องกันดูแลพื้นที่ก่อสร้างให้เป็นรูปธรรมอีกครั้ง.