ชีวิตดีสังคมดี

วิธี  'คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่' คิดเงินต้น ปรับดอกเบี้ย ส่งผลให้ยอดหนี้ลดลง

วิธี 'คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่' คิดเงินต้น ปรับดอกเบี้ย ส่งผลให้ยอดหนี้ลดลง

16 พ.ย. 2566

วิธี 'คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่' หลังรัฐบาลประกาศปรับโครงสร้างหนี้ คิดเงินต้นก่อนเบี้ยปรับ พร้อมลดอัตราดอกเบี้ยลง ส่งผลให้หนี้ลดลงจนปิดหนี้ได้ บางคนมีสิทธิได้เงินคืน

หลังจากที่รัฐบาลได้ประกาศแนวทางในการคำนวณยอดกนี้ กยศ. ใหม่ ตาม พ.ร.บ.กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2566 ตามที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ประธานที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ได้มีการแถลงรายะเอียดและรูปแบบการ  "คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่" โดยการคำนวณหนี้กยศ. ใหม่นั้นจะทำให้หนี้ลดลงกว่า 50%  จากเดิมที่มีหนี้สินในกองทุนกู้ยืมประมาณ 1 ล้านล้านบาท 
 

โดยจะ "คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่" ของลูกหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบันใหม่ ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยการแก้ไขปัญหาหนี้กลุ่ม กยศ. จะเป็นกลุ่มแรกที่ได้รับการช่วยเหลือ และจากนี้จะขยายความช่วยเหลือไปยังลูกหนี้กลุ่มอื่นๆ ต่อไปให้ครอบคลุมทั้งระบบ สำหรับ วิธีคำนวณหนี้ กยศ.  สรุปได้ดังนี้  

 

 

วิธี "คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่" 

จะปรับการคำนวณโดย จะหักเงินต้น ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับเป็นอันดับสุดท้าย จากเดิมที่มีการตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้นเป็นอันดับสุดท้าย พร้อมทั้งลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จากเดิม 18%  โดยการ "คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่" จะส่งผลให้ยอดหนี้ของลูกหนี้ กยศ. ลดลง จนสามามารถปิดหนี้ได้ หรือ หากลูกหนี้รายใดจ่ายหนี้เกินกว่า 150% หากมีการคำนวณหนี้สินใหม่ให้หยุดส่งได้ทันที และอาจจะได้เงินที่ชำระหนี้ส่วนเกินคืน 

 

 

อย่างไรก็ตามการ "คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่"  ใหม่นั้นจะให้กับลูกหนี้ 2 กลุ่มเร่งด่วนก่อน คือ กลุ่มลูกหนี้ที่อยู่ในชั้นกรมบังคับคดี 46,000 ราย และลูกหนี้ที่จะหมดอายุความ 40,000 กว่าราย เพื่อปรับโครงสร้างหนี้กับ กยศ. ใหม่ ก่อนที่จะขยายแนวทางการ "คำนวณหนี้ กยศ. ใหม่" ไปยังลูกหนี้กลุ่มที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้จำนวน 3.53 ล้านราย  

วิธีการคำนวณดอกเบี้ย กยศ. ตามที่ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ระบุเอาไว้ซึ่ง ลูกหนี้สามารถลองคำนวณดอกเบี้ย ดังนี้ 

วิธีคำนวณดอกเบี้ย 
ดอกเบี้ย =เงินต้นทั้งหมดxอัตราดอกเบี้ย/ 365 วัน x จำนวนวัน  

 

 

วิธีคำนวณเบี้ยปรับ (ไม่เกิน 1 ปี)
เงินต้นค้างชำระ x (0.5%) / 365 วันxจำนวนวันที่ค้าชำระ

 

 

วิธีคำนวณเบี้ยปรับ (เกิน 1 ปี)
เงินต้นค้างชำระ x (0.5%)/ 365 วันxจำนวนวันที่ค้างชำระ 

 

 

ข้อมูลจากกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ระบุว่า ปัจจุบันมีลูกหนี้ กยศ. ในระบบประมาณ6,739,085 คน เป็นลูกหนี้ที่อยู่อยู่ในระหว่างการชำระหนี้ 3,537,022 คน  ลูกหนี้ที่อยู่ในช่วงปลอดหนี้ 1,299,490 คน ลูกหนี้ที่ชำระหนี้เสร็จสิ้น 1,830,978 คน และลูกหนี้ที่เสียชีวิต / ทุพพลภาพ 71,595 คน

 

 

อย่างไรก็ตามกฎหมายฉบับใหม่ที่มีการคำนวณภาระหนี้สิน กยศ. เป็นอีกหนึ่งแนวทางในการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อยของรัฐบาล ซึ่งเป็นเรื่องนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยรวมของรัฐบาลนี้ ทั้งหนี้ กยศ. หนี้ครู หนี้นอกระบบ และ SMEs โดยในช่วงปลายเดือน พ.ย. หรือประมาณ 2 สัปดาห์ต่อจากนี้ รัฐบาลจะมีแถลงข่าวใหญ่ถึงมาตรการแก้ไขหนี้ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่ กยศ. อย่างเดียว แต่จะรวมทุกภาคส่วนเท่าที่จะสามารถทำได้