ชีวิตดีสังคมดี

'ขายประกัน' แฝงในแบบฝึกหัด ตัวแทนไม่รอดมีสิทธิโดนริบใบอนุญาตขาย 5 ปี

'ขายประกัน' แฝงในแบบฝึกหัด ตัวแทนไม่รอดมีสิทธิโดนริบใบอนุญาตขาย 5 ปี

21 พ.ย. 2566

'ขายประกัน' แฝงในแบบฝึกหัด ตัวแทนขายประกันอย่านอนใจ ล้วงข้อมูลแบบเนียนๆ แต่มีสิทธิโดนริบใบอนุญาตขาย 5 ปี ซ้ำส่อผิดกฎหมาย PDPA

เกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนักหลังจากที่มีการแชร์ข้อมูลกรณีที่บริษัทประกัน แนบเอกสารสอบถามข้อมูลส่วนตัวไปกับแบบฝึกหัดของนักเรียน เพื่อให้ผู้ปกครองกรอกเบอร์โทรศัพท์ และคำถามในการวางแผนทางการเงินให้กับลูกๆ หลังจากนั้นก็มี ตัวแทน "ขายประกัน" โทรมาขายไม่หยุด ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวเกิดกระแสวิจารณ์อย่างหนักว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เพราะข้อมูลส่วนตัวบางอย่างจะต้องได้รับความยินยอมเสียก่อนจึงจะเปิดเผยข้อมูล หรือนำไปใช้ในกระบวนการ "ขายประกัน" ได้

 

 

การบ้านขายประกัน  

 

 

 

คมชัดลึก สอบถามข้อมูลถึงพฤติกรรม "ขายประกัน" แฝง ในแบบฝึกหัดไปยัง  สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ควบคุมบริษัทขายประกันทั่วประเทศ โดยกรณีดังกล่าว ทาง คภป. ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบรายละเอียดไปแล้วหลังจากที่ได้รับข้อมูล โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจสอบรายละเอียดว่าการขายประกันแฝงในแบบฝึกหัดนักเรียนนั้น มีที่ไปที่มาอย่างไร โดยล่าสุดบริษัทต้นสังกัดได้ออกมาชี้แจ้งว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งทางต้นสังกัดกำลังอยู่ระหว่างการตรวจสอบ อย่างไรก็ตามหากกระบวนการทำผิดจริงตัวแทนขายประกันจะต้องถูกเพิกถอนใบอนุญาตการขายประกันเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยระหว่างนี้จะไม่สามารถทำอาชีพตัวแทนขายประกันได้อีก 

สำหรับการเป็นตัวแทน "ขายประกัน" จะมีระเบียบกำหนดไว้ชัดเจนว่า วิธีการขายประกันจะต้องทำแบบเปิดเผย ไม่ซ่อนเร้นหรือปกปิดข้อมูล ทำด้วยตัวแทนขายประกันความสุจริตใจ โปร่งใส แต่รูปแบบการแนบเอกสารไปในแบบฝึกหัดนั้นแน่นอนว่าเข้าข่ายการประกันที่ไม่เป็นไปอย่างสุจริตอยู่แล้ว รวมไปถึงเมื่อได้ข้อมูลส่วนตัวมาแล้วมีการนำไปใช้ต่อก็จะเข้าจ่ายการทำผิดจริยธรรม อีกทั้งตัวแทนขายประกันจะต้องมีการแสดงตัวตนอย่างเปิดเผยรวมไปถึงการละเมิด กฎหมาย PDPA ที่ระบุว่าการจะใช้ข้อมูลได้จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน และข้อมูลที่ยินยอมนั้นจะนำไปใช้อย่างอื่นนอกเหนือจากการนำไปใช้ไว้ในเอกสารที่ตกลงกันไว้เท่านั้น ซึ่งทุกครั้งที่มีการซื้อ-ขายประกันจะต้องมีเอกสารให้เจ้าของข้อมูลเซ็นยินยอม  

 

 


ส่วนบริษัทต้นสังกัดนั้นจะต้องเข้าไปดูด้วยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ คปภ. จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้ง แต่ในเบื้องต้นการสร้างเงื่อนไขให้ ตัวแทนทำยอดได้ในปริมาณมากๆ นั้นส่วนใหญ่จะไม่มีบริษัทประกันทำ เพราะหากตัวแทนขาบประกันได้จำนวนเยอะก็เท่ากับว่าบริษัทจะต้องแบกรับความเสี่ยงไปด้วย และในความเป็นจริงแล้วบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ก็ต้องการได้ลูกค้าที่มีคุณภาพเพราะยิ่งขายได้มากก็จะต้องดูแลกรมธรรม์จำนวนมาก ดังนั้นบริษัทประกันเป็นต้นทางที่จะต้องแบกรับความเสี่ยงอยู่แล้ว  

 

 

สำหรับวิธีการดูแล ควบคุม และตรวจสอบตัวแทนขายประกันโดยปกติ ตัวแทนขายประกันจะต้องมีการอบรมจริยธรรม มาตรฐานของตัวแทนขายเป็นประจำอยู่แล้ว และใบอนุญาติการขายประกันจะต้องมีการต่ออายุทุกๆ 1-5 ปี ซึ่งก่อนจะต่ออายุได้จะต้องอบรมและสอบให่ผ่านเสียก่อน หากสอบไม่ผ่านก็ไม่สามารถต่อใบอนุญาตการขายได้  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของตัวบุคคลมากกว่า ทั้งนี้การซื้อประกันไม่ใช่เรื่องที่ไม่ดี  เพราะการซื้อประกันเป็นเหมือนการประกันความเสี่ยงของชีวิตและทรัพสินย์