ชีวิตดีสังคมดี

'แอมเนสตี้' เรียกร้อง สิทธิ 'ประกันตัว' ผู้ต้องหา 'คดีการเมือง'

'แอมเนสตี้' เรียกร้อง สิทธิ 'ประกันตัว' ผู้ต้องหา 'คดีการเมือง'

23 พ.ย. 2566

ยื่น 'กรรมาธิการกฎหมาย'ฯคลอดหลักเกณฑ์ 'ประกันตัว' ผู้ต้องหา 'คดีการเมือง' เป็นไปตามหลักสากล ไม่เลือกปฏิบัติ

ข้อมูลที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ได้ทำร่วมกับโครงการอินเทอร์เน็ตกฎหมายเพื่อประชาชน (iLaw) ในโครงการ MOB DATA พบว่า ช่วงปี 2563 - 2566 เกิดการชุมนุมในประเทศไทย กว่า 3,800 ครั้ง ในจำนวนนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีการเมือง อย่างน้อย 1,930 คน ในจำนวนนี้มีเด็กและเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ถูกดำเนินคดี จำนวน 286 คน

 

คดีที่เกิดขึ้นถูกนำขึ้นพิจารณาในศาลยุติธรรม และเป็นเหตุให้มีผู้ต้องหาคดีการเมืองไม่ได้รับการประกันตัว หรือปล่อยชั่วคราว  จนต้องเข้าสู่เรือนจำ มากถึง 145 คน ( ณ วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2566) และมีผู้ที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว อย่างน้อย 24 คน ในจำนวนนี้ 15 คน เป็นผู้ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

 

นอกจากนี้ยังมีผู้ถูกคุมขังเนื่องจากคดีถึงที่สุดแล้วอย่างน้อย 11 คน รวมถึงกรณีของ ‘อัญชัญ ปรีเลิศ’ นักโทษเด็ดขาดที่ถูกตัดสินให้จำคุกด้วยความผิดตามมาตราดังกล่าวกว่า 43 ปี 6 เดือน และยังอยู่ในขั้นตอนที่ยังไม่ได้รับการพักโทษ เนื่องจากยังไม่เข้าเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 

 

นอกจากนี้ ยังมีผู้ถูกดำเนินคดีที่เกี่ยวกับการใช้หรือพกพาอาวุธ หรือการใช้ความรุนแรงในระหว่างการชุมนุม อย่างน้อย 173 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็กและเยาวชน จำนวน 65 คน ที่ยังไม่ได้รับสิทธิในการปล่อยชั่วคราว และยังมีผู้ต้องหา อย่างน้อย 7 คน ที่ไม่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว

 

ปิยนุช โคตรสาร ผู้อำนวยการแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ย้ำว่า ตามกฎหมายผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา ตามหลักการใยกฎหมายทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราว ที่สำคัญคดีที่ยังไม่พิพากษาถึงที่สุดตามหลักการแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องไม่ถูกทำให้เหมือนว่าเป็นผู้ที่ถูกตัดสินว่ามีความผิดแล้ว ทั้งที่อยู่ระหว่างการต่อสู้คดี

 

สิทธิในการประกันตัวเป็นสิทธิตามมาตรฐานระหว่างประเทศ ปัจจุบันรัฐบาลไทยได้เข้าเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศ นั่นหมายความว่ารัฐบาลไทยต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของทุกคนที่ใช้สิทธิในการแสดงออกและสิทธิในการชุมนุมประท้วงโดยสงบ ไม่ให้ถูกจับกุมตัว ควบคุมตัวโดยพลการ

 

และต้องทำและพิสูจน์ให้เห็นว่าได้ทำให้ทุกคนได้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมที่มีความเป็นธรรมจริงๆ หนึ่งในนั้นคือการให้สิทธิประกันตัวและปล่อยตัวชั่วคราว จึงยื่นหนังสือเรียกร้องให้คณะกรรมาธิการกฎหมายฯ ดำเนินการดังต่อไปนี้

  1. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาขอบเขตและข้อจำกัดทางกฎหมาย เกี่ยวกับการรับรองสิทธิในการปล่อยชั่วคราว โดยศึกษาสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายและแนวปฏิบัติภายในประเทศและความสอดคล้องกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคำสั่งของศาลในคดีการเมือง ที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม ช่วงระหว่างปี 2563-2565
     
  2. สำรวจและทบทวนสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมาย ในหมวดความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร รวมถึงความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และจัดทำชุดข้อเสนอแนะเพื่อให้มีผลในการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายและกฎหมายที่สอดรับกับหลักการระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน
     
  3. สำรวจและศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดแนวทางการพิจารณาการให้พักโทษแก่นักโทษทางการเมืองให้เป็นไปในมาตรฐานเดียวกันเเละวางอยู่บนหลักการไม่เลือกปฏิบัติ รวมถึงผู้ซึ่งถูกดำเนินคดี