ชีวิตดีสังคมดี

'รถไฟฟ้าโมโนเรล' มีกี่แบบ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ใช้แบบไหนถึงมีล้อซ่อนในตัวรถ

'รถไฟฟ้าโมโนเรล' มีกี่แบบ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ใช้แบบไหนถึงมีล้อซ่อนในตัวรถ

03 ม.ค. 2567

'รถไฟฟ้าโมโนเรล' มีกี่แบบ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ของไทยใช้แบบไหนทำไมมีล้อซ่อนไว้ในตัวรถ ไขสาเหตุล้อหล่นได้ยังไง

เกิดเหตุการณ์หวาดเสียวขึ้นกับ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง หลังจากที่พบว่า ล้อประคองรถไฟร่วงลงมาใส่รถที่สัญจรอยู่บนถนน โดยล่าสุf บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด หรือ EBM  ผู้รับสัมปทาน โครงการ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 18.21 น.ได้รับแจ้งเหตุล้อประคองรรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ได้หลุดร่วงลงมา ใส่รถแท็กซี่ บริเวณถนนเทพารักษ์ ซึ่งอยู่ระหว่างสถานีทิพวัล (YL22) และสถานีศรีเทพา (YL21) โดยจากการตรวจสอบหาสาเหตุเบื้องต้นพบว่า เกิดจากเบ้าลูกปืนของล้อประคอง (Guide Wheel) เสียหายทำให้ล้อหลุดร่วงลงมา โดยขบวนรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่ประสบเหตุเป็นขบวนใหม่ ซึ่งมีการตรวจสอบ และซ่อมบำรุงตามรอบโดยปกติ

 

รถไฟฟ้าโมโนเรล

จากเหตุการณ์ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ล้อประคองยางหลุดนั้น ส่งผลให้รถไฟฟ้ามีอัตราความถี่ในการบริการประชาชนช้าลงเป็น 30 นาที ต่อขบวน จากเดิมที่เคยให้บริการ 5-10 นาทีต่อขบวน ดังนั้นประชาชนจะต้องมีการวางแผนการเดินทางให้ดี

 

 

สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวถือว่าสร้างความแปลกใจให้แก่ประชาชนมากพอสมควร เพราะระบบขนส่งสาธารณะควรจะมีความปลอดภัยมาก และมีความมั่นคงแข็งแรงมากกว่านี้ และอีกหนึ่งประเด็นที่หลายคนสงสัยคือ "รถไฟฟ้าโมโนเรล" มีกี่รูปแบบ และทำไมของประเทศไทยจึงมีล้อยาง

 

รถไฟฟ้าโมโนเรล

เมื่อหลายปีก่อนระหว่างการขึ้นโครงการ "รถไฟฟ้าโมโนเรล" ในกรุงเทพมหนครจำนวน 2 สาย คือ รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์  ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงรูปแบบของ "รถไฟฟ้าโมโนเรล" เอาไว้อย่างน่าสนใจว่า โมโนเรลมี 2 แบบ คือแบบคร่อมราง และแบบแขวนห้อยใต้ราง วันนี้ขอแนะนำให้รู้จักเพิ่มอีก 1 แบบ นั่นคือแบบวิ่งไม่ใช้ล้อ บินไม่ใช้ปีก หรือที่เรียกว่า แม็กเลฟ โดย แม็กเลฟแม็กเลฟคือรถไฟแบบแรงแม่เหล็กยก (Magnetic Levitation หรือ Maglev) โดยใช้พลังแม่เหล็กยกรถไฟขึ้นเหนือราง ซึ่งบางระบบใช้รางเดี่ยว และผลักให้วิ่งไปข้างหน้าด้วยความเร็วสูง เนื่องจากไม่มีการเสียดสีระหว่างล้อกับราง

 

หลักการทำงานของแม่เหล็กไม่ยุ่งยาก โดยมีขดลวดเพื่อรับกระแสไฟฟ้าติดอยู่ที่ราง และมีแม่เหล็กติดอยู่ที่ตัวรถไฟ ในขั้นแรกขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อยกรถไฟขึ้นเหนือราง

 

เทคโนโลยี "รถไฟฟ้าโมโนเรล" แบบ แม็กเลฟ มีให้บริการเชิงพาณิชย์ ในไม่กี่ประเทศ ได้แก่

 

  • จีน นครเซี่ยงไฮ้ ซึ่งถือเป็นโมโนเรลแบบคร่อมราง ระยะทาง 30 กิโลเมตร ใช้เวลา 7 นาทีครึ่ง วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 431 กิโลเมตร/ชั่วโมง

 

  • จีน วิ่งระหว่าง กรุงปักกิ่งกับนครเซี่ยงไฮ้ ระยะทางกว่า 1,200 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 600 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลา 2 ชั่วโมงครึ่ง

 

  • ญี่ปุ่น มีโครงการที่จะเปิดใช้ แม็กเลฟระหว่างกรุงโตเกียว-นาโกย่า ในปี 2570 มี ระยะทาง 286 กิโลเมตร วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 505 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลา 40 นาที

 

 

ส่วน "รถไฟฟ้าโมโนเรล" 2 สายของประเทศไทย ที่วิ่งให้บริการอยู่ขณะนี้ ทั้ง รถไฟฟ้าสายสีชมพู และ รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ข้อมูลจาก การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทสไทย (รฟม.) ระบว่า เป็น รถไฟฟ้าโมโนเรล รูปแบบล้อยางที่วิ่งอยู่บนทางวิ่งหรือคานรางเดี่ยวคอนกรีตหรือเหล็ก โดยคานต้องมีขนาด 1 ใน 4 ของตัวรถ ตัวรถมีล้อ 2 ชุดคือ Driving Wheels ล้อที่วางอยู่บนทางวิ่ง ซึ่งเป็นล้อรับน้ำหนักตัวรถและ Guide Wheel ล้อที่อยู่ด้านข้าง ซึ่งจะเป็นตัววิ่งไปตามทางวิ่ง สามารถวิ่งได้สูงสุด 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง ความเร็วเฉลี่ย 35 กิโลเมตร/ชั่วโมง วิ่งบนรางที่มีความชันสูงสุดได้ไม่เกิน 6% รัศมีเลี้ยวโค้งในแนวราบไม่น้อยกว่า 45-70 เมตร 

 

 

โดยขบวน "รถไฟฟ้าโมโนเรล" จะประกอบด้วย ตู้ขับเคลื่อน และตู้โดยสาร สามารถต่อตู้โดยสารเพิ่มได้ 2-8 ตู้/ขบวน รวมถึง Straddle Monorail ยังมีความเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่เขตเมืองและสามารถวิ่งได้เร็วกว่าระบบ Suspended Monorail นั้นเอง

 

อ้างอิงข้อมูล : การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

เฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ - Dr.Samart Ratchapolsitte