ชีวิตดีสังคมดี

'นายจ้าง' เช็กด่วน เดดไลน์ 'ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567' ก่อนเจอความผิด

'นายจ้าง' เช็กด่วน เดดไลน์ 'ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567' ก่อนเจอความผิด

15 ม.ค. 2567

'ส่งเงินสมทบประกันสังคม' ที่ 'นายจ้าง' ต้องรู้ เดดไลน์ 'ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567' ก่อนเจอความผิด ทั้งคุก ทั้งปรับ

“ประกันสังคม” คือ สวัสดิการขั้นพื้นฐานที่ทางรัฐบาลมอบให้แก่ลูกจ้าง โดยหลักการแล้ว จะมีการหักเงิน จากฐานเงินเดือน 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันสังคม ให้กับ “ผู้ประกันตน” โดยผู้ที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคม ประกอบด้วย ผู้ประกันตน, นายจ้าง และรัฐบาล โดยเฉพาะ “นายจ้าง” เมื่อมี ลูกจ้าง อยู่ในความดูแล จะต้องมีหน้าที่ในการ ขึ้นทะเบียน และ “ส่งเงินสมทบประกันสังคม 2567” คมชัดลึก ได้รวบรวมเรื่องที่ นายจ้าง ต้องรู้ เพื่อไม่ให้ลูกจ้างเสียสิทธิ

“ส่งเงินสมทบประกันสังคม นายจ้าง”  นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้าง พร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้าง เป็นผู้ประกันตน ภายใน 30 วัน และเมื่อมีการรับลูกจ้างใหม่เพิ่มขึ้น ต้องแจ้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างใหม่ภายใน 30 วัน เช่นกัน มิฉะนั้น จะมีความผิดระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

วิธีการ ส่งเงินสมทบประกันสังคม

 

นายจ้างจะต้องเป็นผู้หักเงินสมทบในส่วนของลูกจ้าง ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง โดยต้องมีการคำนวณเงินสมทบค่าจ้าง ฐานของเงินค่าจ้างขั้นต่ำ ตั้งแต่ 1,650 บาท แต่ไม่เกิน 15,000 บาท โดยพนักงานจะถูกหักจ้างเงินเดือน 5% ตามด้วยเจ้าของกิจการจ่ายสมทบ 5% และรัฐบาลจ่ายสมทบอีก 2.75%

 

 

จากนั้น ให้นำส่งเงินสมทบ พร้อมจัดทำเอกสารตามแบบ สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ สปส.1-10 ส่วนที่ 2 หรือจัดทำข้อมูลลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือนำส่งทางอินเทอร์เน็ต ผ่านเงื่อนไขดังนี้

  1. นำส่งสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัดด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ เป็นเงินหรือเช็ค ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  2. ชำระเงินผ่านทางธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน), ธนาคากรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) หรือ ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด โดยต้องเป็นสาขาในจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่

 

 

ขั้นตอนการ “ส่งเงินสมทบประกันสังคมออนไลน์”

 

  • เข้าสู่ระบบ และเลือกเมนู “ส่งข้อมูลเงินสมทบ”
  • เลือก “วิธียื่นข้อมูลการส่งเงินสมทบ”
  • เลือกสถานประกอบการ
  • เลือกวิธีการนำส่ง พร้อมกรอกเดือน ปี และอัตราเงินสมทบ
  • เลือกอัปโหลดไฟล์ “ข้อมูลเงินสมทบ”
  • สรุปข้อมูลเงินสมทบ
  • ส่งข้อมูลเงินสมทบสำเร็จ

 

 

จากนั้น ระบบจะส่งข้อมูลยืนยันตามแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10 ส่วนที่ 1 และ 2) เข้าทางอีเมลของนายจ้าง เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการชำระเงินต่อไป

 

 

ทั้งนี้ นายจ้างที่ชำระเงินผ่านช่องทางดังกล่าว จะได้รับการขยายเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ และการชำระเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ 15 ของเดือน ถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยไม่มีเงินเพิ่มตามกฎหมาย สำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือน ม.ค. 2567-ธ.ค. 2567 เป็นระยะเวลา 12 เดือน

 

 

ตารางวันสิ้นสุดการนำ ส่งเงินสมทบประกันสังคม

 

  • งวดค่าจ้าง มกราคม 2567  วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 27 ก.พ. 2567
  • งวดค่าจ้าง กุมภาพันธ์ 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 มี.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง มีนาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 เม.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง เมษายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 27 พ.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง พฤษภาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 มิ.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง มิถุนายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ก.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง กรกฎาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 ส.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง สิงหาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ก.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง กันยายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ต.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง ตุลาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 26 พ.ย. 2567
  • งวดค่าจ้าง พฤศจิกายน 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 25 ธ.ค. 2567
  • งวดค่าจ้าง ธันวาคม 2567 วันสิ้นสุดกำหนดชำระเงินสมทบ 24 ม.ค. 2567

ตารางสิ้นสุดส่งเงินสมทบประกันสังคม

 

 

นายจ้างไม่ส่งประกันสังคม

 

หากนายจ้างดำเนินการส่งเงินสมทบไม่ทัน หรือส่งเงินสมทบไม่ครบ จะต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน ของจำนวนเงินที่ไม่ได้ส่ง หรือจำนวนเงินที่ขาดอยู่ โดยต้องนำส่งด้วยตนเอง ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดเท่านั้น

 

 

แต่ถ้านายจ้างเกิดกรอกแบบแสดงการส่งเงินสมทบ (สปส. 1-10) ผิดพลาด เจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจจะดำเนินการสั่งให้นายจ้างกรอกแบบฟอร์มให้ถูกต้อง หากยังไม่ปฏิบัติตามหรือยังทำไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับ 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ