![แลนด์บริดจ์คือ อะไร ทำไมเป็นประตูสู่เอเชีย โปรเจ็กต์ 1 ล้านล้านซ่อนอะไรไว้ แลนด์บริดจ์คือ อะไร ทำไมเป็นประตูสู่เอเชีย โปรเจ็กต์ 1 ล้านล้านซ่อนอะไรไว้](https://media.komchadluek.net/uploads/images/md/2024/01/MLWqibur4hiif7bi3qqV.webp?x-image-process=style/lg-webp)
แลนด์บริดจ์คือ อะไร ทำไมเป็นประตูสู่เอเชีย โปรเจ็กต์ 1 ล้านล้านซ่อนอะไรไว้
โครงการ แลนด์บริดจ์คือ อะไร ทำไมอนาคตจะกลายเป็นประตูสู่เอเชีย โครงการอภิมหาโปรเจ็กต์ 1 ล้านล้าน มีอะไรบ้างซ่อนอยู่ข้างใน
โครงการแลนด์บริดจ์ โครงการก่อสร้างมูลค่า 1 ล้านล้านบาทที่หลายคนยกให้เป็นเมกะโปร์เจ็กต์สำคัญอีกหนึ่งโครงการที่รัฐบาลหลายยุคพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นอย่างเต็มที่ นับตั้งแต่ช่วงปลายปี 2566 ที่ผ่านมา โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการที่ถูกพูดถึงมาอย่างต่อเนื่อง เพราะรัฐบาลได้พา แลนด์บริดจ์ ไปโรดโชว์อยู่บ่อยครั้ง และล่าสุด โครงการแลนด์บริดจ์ กลับมากลายเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง หลังจากที่ ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล หนึ่งในกรรมาธิการที่ประกาศลาออก พร้อมกับโพสต์ผ่าน X @SirikanyaTansa1 ว่า ตนยืนยันว่าพรรคก้าวไกลเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับท่าเรือระนอง รถไฟทางคู่สำหรับขนส่งสินค้า หรือการสร้างนิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ แต่สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ในเมื่อรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ออกมาเป็นเช่นนี้
โครงการ "แลนด์บริดจ์คืออะไร" แลนด์บริดจ์ หรือ สะพานเศรษฐกิจ คือการสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างท่าเรือในชุมพรและระนอง (อ่าวไทย-อันดามัน) โดย โครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบด้วยทางหลวงพิเศษขนาด 6 ช่องจราจร ระยะทาง 90 กม., ทางรถไฟเชื่อมทั้ง 2 จังหวัด, สร้างระบบการขนส่งทางท่อ (pipeline) และสร้างท่าเรือน้ำลึก 2 ฝั่ง ให้เป็นท่าเรือ เพื่อรองรับตู้สินค้าที่จะเข้ามาดรอปในบริเวณท่าเรือ โดยกระทรวงคมนาคมจะบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ ให้มีการเชื่อมกันแบบไร้รอยต่อ ส่งเสริมการขนส่งทางน้ำให้มีความทันสมัย
จากตำแหน่งที่ตั้งของประเทศไทยที่มีความได้เปรียบทางที่ตั้งและภูมิศาสตร์ที่มีลักษณะทางกายภาพสามารถเปิดสู่ทะเลทั้ง 2 ด้านจึงเป็นโอกาสที่จะได้ใช้ประโยชน์จากทำเลที่ตั้งดังกล่าวเพื่อนำมาพัฒนาเป็นเส้นทางทางเลือกในการขนส่งสินค้าทางทะเลเพื่อเชื่อมโยงฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน นอกเหนือจากการขนส่งสินค้าผ่านช่องแคบมะละกาในปัจจุบัน อันเป็นการสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและศักยภาพทางการค้าของประเทศไทยกับกลุ่มประเทศที่อยู่ทางด้านมหาสมุทรอินเดีย อีกทั้งยังรองรับและส่งเสริมโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor:EEC) ซึ่งเป็นนโยบายหลักที่สำคัญของประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่ามีความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อใช้ประโยชน์จากจุดยุทธศาสตร์ของไทยที่เชื่อมมหาสมุทรแปรซิฟิกเข้ากับมหาสมุทรอินเดีย ทั้งนี้ โครงการแลนด์บริดจ์ ทำให้ประเทศไทยอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการผลิต การคมนาคมขนส่งของเอเชีย
สำหรับ โครงการแลนด์บริดจ์ ประกอบไปด้วย การสร้างท่าเรือชุมพร บริเวณแหลมริ่ว อ.หลังสวน จ.ชุมพร ให้เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ทันสมัย นำระบบออโตเมชันมาใช้ เพื่อให้กลายเป็น Smart Port ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยจะมีการพัฒนาให้เป็นสะพานเศรษฐกิจ เชื่อมฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย
นอกจากนี้ใน โครงการ แลนด์บริดจ์ ยังมีการพัฒนาท่าเรือระนอง ให้เป็นท่าเรือสินค้าคอนเทนเนอร์และเป็นประตูการค้าฝั่งอันดามัน เชื่อมโยงระหว่างท่าเรือระนองกับท่าเรือกลุ่มประเทศแถทบเอเชียใต้ BIMSTEC ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ประโยชน์ของ โครงการแลนด์บริดจ์ จะช่วยยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางของภูมิภาค เปิดเส้นทางเดินเรือแห่งใหม่ของมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก เพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการขนส่งสินค้าทางน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลก ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนสร้างโอกาศสร้างงาน และรายได้
รายละเอียด โครงการแลนด์บริดจ์ จะมีการก่อสร้าง โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกระนอง, โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึกชุมพร, โครงการระบบรถไฟทางคู่ ช่วงชุมพร – ระนอง และโครงการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ช่วงชุมพร – ระนอง ซึ่งมีการคาดการไว้ว่าหากโครงการแล้วเสร็จ จะสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าที่เติบโตและหันมาใช้เส้นทางนี้กว่า 400,000 ลำต่อปี รวมถึงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบให้เป็นไปตามอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วย
อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ว่า เดือน เม.ย.-มิ.ย. 2568 จะเริ่มกระบวนการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน เมษายน-มิถุนายน 2568 ก่อนที่จะดำเนินการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดิน และจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินระหว่างเดือน ม.ค. 2568-ธ.ค. 2569 และเสนอ ครม.อนุมัติลงนามในสัญญาได้ในเดือนก.ค.-ส.ค. 2568 ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างโครงการแลนด์บริดจ์ในเดือน ก.ย. 2568-ก.ย. 2573 เปิดให้บริการในเดือน ต.ค. 2573
ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนการจนส่งและจราจร