ชีวิตดีสังคมดี

เปิด 'ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ' เช็กไทม์ไลน์ ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ

เปิด 'ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ' เช็กไทม์ไลน์ ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ

30 ม.ค. 2567

เปิด 'ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ' เช็กไทม์ไลน์ ขอ ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ ได้ถึงเมื่อไหร่ ตรวจสอบรายละเอียดก่อนพลาดได้ลดหนี้สินที่ติด กยศ. ทั้งหมด

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)  เปิด "ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ" พร้อมเริ่มทำสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ  โดยให้เวลาผ่อนชำระสูงสุด 15 ปี ในการชำระเงินงวดสุดท้ายผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปี ให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% ปลดภาระผู้ค้ำประกันหลังจากทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ปรับเปลี่ยนลำดับการตัดชำระใหม่จากเดิม เบี้ยปรับ ดอกเบี้ย เงินต้น เป็นตัดเงินต้นส่วนที่ครบกำหนด ดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ โดยเปิดให้ผู้กู้ยืมเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้กับกองทุนได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.  2567 เป็นต้นไป ผู้กู้สามารถลงทะเบียนนัดหมายวันเข้าทำสัญญาล่วงหน้าทางเว็บไซต์ www.studentloan.or.th ทั้งนี้ ในช่วง 3 เดือนแรก กองทุนจะเปิดให้เข้ามาทำสัญญาทุกวันไม่เว้นวันหยุด เวลา 09.00 - 20.00 น. และจะเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ได้ทำสัญญาตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศต่อไป

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้เปิดเผยว่า  ขณะนี้กองทุนฯ ได้เตรียมดำเนินการทำสัญญา ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ โดยการเปิด "ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ" เพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระของผู้กู้ยืมที่อยู่ระหว่างการชำระเงินคืนให้เป็นไปตามประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 โดยผู้กู้ยืมที่มีสิทธิ์เข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ ได้แก่ กลุ่มก่อนฟ้องคดี กลุ่มที่บอกเลิกสัญญาแล้วแต่ยังไม่ฟ้องคดี กลุ่มที่ฟ้องคดีแล้วแต่ศาลยังไม่มีคำพิพากษา กลุ่มที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วแต่ยังไม่บังคับคดีและได้บังคับคดีแล้ว รวมทั้งกลุ่มอื่น ๆ ทั้งหมด โดยกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กู้ยืมจะต้องผ่อนชำระเงินคืนกองทุนฯ เป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน ผู้กู้ยืมต้องชำระภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี และในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ 

ขั้นตอน  "ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ"  ผู้กู้สามารถทำได้ดังนี้  

แจ้งความประสงค์ขอปรับโครงสร้างหนี้ได้ที่แอปพลิเคชัน กยศ.Connect  หรือทางเว็บไซต์ https://wsa.dsl.studentloan.or.th ทั้งนี้ ผู้กู้ยืมสามารถ "ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ" นัดหมายเข้าทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ กยศ  ได้ตั้งแต่วันที่ 27 ม.ค. 2567 ทางเว็บไซต์ www.studentloan.or.th และจะเริ่มทำสัญญาได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ. 2567 เป็นต้นไป   ที่สำนักงานของกองทุนฯ หลังจากนั้นจะเริ่มเปิดให้ผู้กู้เข้าทำสัญญาได้ตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนฯจะได้ประกาศให้ทราบต่อไป โดยผู้กู้ยืมต้องตรวจสอบข้อมูลของตนเองและผู้ค้ำประกัน และ Update ข้อมูลต่างๆให้เป็นปัจจุบัน เช่น เบอร์โทรศัพท์ e-mail ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ สถานที่ทำงาน

 

 

ขั้นตอนการแจ้งความประสงค์เพื่อขอ  "ลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้กยศ"  ดังนี้ 

  • ลงชื่อเข้าใช้งาน กรอกเลขประจำตัวประชาชน และรหัสผ่าน
  • เลือกเมนูขอปรับโครงสร้างหนี้ “ยื่นคำขอปรับโครงสร้างหนี้”
  • เข้าสู่หน้ายืนยันข้อมูล ระบบจะให้ตรวจสอบข้อมูลที่ปรากฏ พร้อมให้ระบุ “เบอร์โทรศัพท์มือถือ

(เบอร์ปัจจุบันที่ติดต่อได้)” ทำเครื่องหมายถูกหน้าช่อง “ข้าพเจ้ายืนยันข้อมูลฯ” จากนั้นกดปุ่ม “ยืนยัน”
หากสำเร็จระบบจะแสดงข้อความว่า “ระบบได้ส่งคำขอปรับโครงสร้างหนี้แล้ว ท่านมีหน้าที่ตรวจสอบและบันทึกข้อมูล
เพิ่มเติมเมื่อได้รับแจ้งจากกองทุน”

 

ขั้นตอนการตรวจสอบคำขอปรับโครงสร้างหนี้ กยศ.
กลับมาที่หน้าหลัก กดเลือก “ตรวจสอบรายละเอียดคำขอ”
ระบบจะแสดงหน้ารายละเอียดข้อมูลคำขอ จากนั้นให้ตรวจสอบตรงช่องสถานะ ระบบจะขึ้นข้อความว่า
“ลงทะเบียน/รอตรวจสอบและบันทึกข้อมูล”

 

 

เงื่อนไขปรับโครงสร้างหนี้ กยศ

  • ผู้กู้ยืมจะต้องผ่อนชำระเงินคืนกองทุนเป็นรายเดือนในอัตราเท่ากันทุกเดือน
  • ผู้กู้ยืมต้องชำระภายในวันที่ 5 ของทุกเดือนให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี
  • ในการชำระเงินงวดสุดท้าย ผู้กู้ยืมต้องมีอายุไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์

 

 

การคำนวณยอดหนี้ที่จะนำมาปรับโครงสร้างหนี้

  • กองทุนฯ จะนำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณใหม่ตามที่กฎหมายกำหนด
  • ในกรณีคำนวณยอดหนี้ใหม่แล้วไม่มียอดหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยคงเหลือ กองทุนฯจะปรับโครงสร้างหนี้ให้ผู้กู้ยืมและให้ส่วนลดเบี้ยปรับ 100% โดยถือว่าผู้กู้ยืมได้ชำระหนี้ปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว
  • สำหรับผู้กู้ยืมที่มียอดหนี้คงเหลือและอยู่ระหว่างการผ่อนชำระ กองทุนฯจะนำรายการชำระหนี้ของผู้กู้ยืมเงินแต่ละรายนับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ครั้งแรกมาคำนวณตัดชำระหนี้ใหม่ จากเดิมตัดเบี้ยปรับ ดอกเบี้ย และเงินต้น แต่เมื่อปรับโครงสร้างหนี้ใหม่จะตัดเงินต้น (เฉพาะส่วนที่ครบกำหนด) ดอกเบี้ย และเบี้ยปรับตามลำดับ
  • อัตราดอกเบี้ย 1% ต่อปี และอัตราเบี้ยปรับ 0.5% ต่อปี
  • ในส่วนของเบี้ยปรับทั้งหมด กองทุนฯจะพักแขวนไว้ เมื่อผู้กู้ได้ทำการชำระหนี้ปิดบัญชีจะได้รับส่วนลดเบี้ยปรับ 100%
  • เมื่อทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แล้วผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากสัญญาค้ำประกันเงินกู้ทันที
  • ในกรณีที่ผู้กู้ยืมผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สะสมถึง 6 งวด หรือเมื่อผู้กู้ยืมมีงวดผ่อนชำระเหลือไม่ถึง 6 งวด หากผิดนัดชำระงวดใดงวดหนึ่งถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด ให้ถือว่าสัญญาปรับโครงสร้างหนี้สิ้นสุดลงและให้ผู้กู้ยืมผูกพันรับผิดตามสัญญาเดิม กองทุนฯจะนำเบี้ยปรับที่ตั้งพักแขวนไว้กลับมาเป็นทุนทรัพย์เพื่อดำเนินการฟ้องร้องหรือบังคับคดีกับผู้กู้ยืมต่อไป

 

 

ปรับโครงสร้างหนี้ กยศ คือ อะไร  ตาม พ.ร.บ. กยศ. ฉบับใหม่มีผลบังคับใช้แล้ว กยศ.ได้ดำเนินการออกระเบียบลำดับรองที่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ. กยศ. ฉบับใหม่ ครบถ้วน และพร้อมดำเนินการคำนวณหนี้ของลูกหนี้ กยศ. ใหม่ทั้งหมด โดยเฉพาะการปรับลำดับการชำระหนี้ เป็นตัดหนี้เงินต้นก่อน แล้วจึงจะนำไปตัดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ ซึ่งจะทำให้ยอดหนี้ของลูกหนี้ กยศ.ลดลง ทั้งนี้ลูกหนี้ กยศ. ทุกรายจะได้รับสิทธิ์ประโยชน์ตามกฎหมายใหม่ เช่น การลดเบี้ยปรับเหลือ 0.5% จากเดิม 18% และการปรับลำดับการตัดชำระหนี้ใหม่ 
 

 

ที่มา: กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)