ย้อนรอยเหตุการณ์ 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง' ปีนี้ชิ้นส่วนหลุดซ้ำซาก 2 ครั้งแล้ว
ย้อนรอยเหตุการณ์ 'รถไฟฟ้าสายสีเหลือง' ขัดข้องปีนี้เกิดแล้ว 2 ครั้ง โชคดีไร้เจ็บ-ตาย ประชาชนถามหาความปลอดภัยของระบบสาธารณะไทยอยู่ที่ไหน
"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ลาดพร้าวสำโรง แจ้งเกิดเหตุขัดข้องล่าสุด (28 มี.ค. 2567) หลังจากที่มีผู้ใช้ถนนศรีนครินทร์ แจ้งได้ยินเสียงมีสิ่งของตกลงมาจากราง "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" บริเวณก่อนถึงศรีนคริน 39 มุ่งหน้าซีคอน ศรีนครินทร์เป็นระยะทางยาว และคาดว่าจะเป็นชิ้นส่วนของ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เพราะสังเกตเห็นว่าด้านบนมี โมโนเรลสายสีเหลืองค้างอยู่
หากยังจำกันได้เหตุขัดข้องของ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเมื่อประมาต้นปี 2567 เกิดเหตุการณ์ ล้อหลุดและตกลงมาใส่รถแท็กซี่ไปแล้ว 1 ครั้ง แต่โชคดีที่ไม่ได้มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ และ เหตุการณ์ชิ้นส่วนหลุดในครั้งก็นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ 1 "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ขัดข้องอีกรอบ
ย้อนกลับไปเมื่อต้นม.ค. 2567 เหตุ"รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เกิดเหตุการณ์ล้อประคองรถไฟฟ้าหลุด (Guide Wheel) ด้านล่างฝั่งขวา (ด้านนอกของคานทางวิ่ง) ของ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" หมายเลข YM 17 (ตู้หมายเลข YA117) หลุดออกจากแคร่ล้อ (Bogie) จำนวน 1 ล้อ ได้หลุดร่วงลงมา ใส่รถแท็กซี่สีเขียวเหลือง บริเวณถนนเทพารักษ์ ระหว่างสถานีทิพวัล (YL22) และสถานีศรีเทพา (YL21) ฝั่งขาขึ้น (ปลายทางสถานีลาดพร้าว)
เหตุการณ์ครั้งนั้นไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือ เสียหาย แต่จำเป็นจะต้องปิดให้บริการเป็นการชั่วคราวก่อนเพื่อตรวจสอบ โมโนเรลทุกขบวน ซึ่งมีการปรับรูปแบบการให้บริการโดยมีความถี่ทุก 30 นาที จนถึงวันที่ 6 ม.ค. 2567 ที่จะมีการตรวจสอบจนครบและทยอยปรับความถี่ในการให้บริการจนเป็นปกติ (ทุก 5-10 นาที) ภายในวันที่ 8 ม.ค. 2567 ทั้งนี้จะให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองฟรีโดยไม่คิดค่าโดยสาร ตั้งแต่วันที่ 3 -5 ม.ค. 2567 เหตุการณ์นี้นับเป็นเหตุความขัดข้องครั้งแรกของ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" ตั้งแต่เปิดให้บริการมา
เหตุขัดข้องครั้งที่ 2 เกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ โดยมีคนพบว่าเศษชิ้นส่วนร่วงหลุดลงมายังพื้นถนน โดยเหตุดังกล่าวขึ้นบริเวณถนนศรีนครินทร์ ช่วงระหว่างห้างธัญญาพาร์ค มุ่งหน้าห้างพาราไดซ์ทั้งนี้ ผู้ใช้เส้นทางพบเศษอุปกรณ์โลหะร่วงหล่นจากราง "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" เบื้องต้นพบรถยน์เสียหายจำนวน 2 คัน
จากเหตุขัดข้องดังกล่าว ส่งผลให้เกิดผู้โดยสารตกค้างจำนวนมาก และทางผู้ให้บริการ "รถไฟฟ้าสายสีเหลือง" จำเป็นจะต้องปิดให้บริการ โมโนเรลสายสีเหลือง ชั่วคราว ส่วนสาเหตุอยู่ระหว่างการตรวจสอบจากผู้ให้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองอีกครั้ง
อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ระบบขนส่งสาธารณะชำรุดซ้ำแล้วซ้ำเล่ากลายเป็นที่วิจาณณ์ในสังคมอย่างมาก โดยเฉพาะกับรถไฟฟ้าที่มีผู้ใช้บริการจำนวนมาก หลายคนกังวลถึงความปลอดภัยในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับรถไฟฟ้าที่มักจะเกิดเหตุบ่อยครั้งเช่นนี้