'เกณฑ์ทหาร' 2567 รั้งเศรษฐกิจ ฉุดคุณภาพชีวิตวัยหนุ่ม ปีนี้ต้องการอีก 7 หมื่น
'เกณฑ์ทหาร' 2567 รั้งเศรฐกิจ ฉุดคุณภาพชีวิตวัยหนุ่ม โดยวิจารณ์อีกรอบหลังเข้าฤดูเกณฑ์ทหาร ปีนี้ยังต้องการอีก 70,000 นาย
เริ่มเข้าสู่ช่วง "เกณฑ์ทหาร" ประจำปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 1-20 เม.ย. 2567 และยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า สำหรับประเทศไทยแล้วยังคงจำเป็นจะต้องมีการ "เกณฑ์ทหาร" อยู่หรือไม่ เพราะที่ผ่านมามีข่าวคราวเกี่ยวกับ ทหารเกณฑ์ ถูกทำร้าย หรือการใช้งาน ทหารเกณฑ์ ด้วยการให้ไปเป็นทหารรับใช้ นอกจากนี้ยังมีการวิจารณ์ไปถึงการใช้งบประมาณที่สูงมากกว่า งบประมาณด้านสาธารณสุข และงบประมาณด้านการศึกษารวมไปถึงการ "เกณฑ์ทหาร" ยังทำให้เกิดการฉุดรั้งระบบเศรษฐกิจไทยเอาไว้ เพราะช่วงวัยที่ต้องเข้ารับการเกณฑ์ทหารอยู่ในช่วงวันแรงงาน
ก่อนหน้าที่จะเริ่มการ "เกณฑ์ทหาร" อย่างเป็นทางการ นายธนเดช เพ็งสุข สส. กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล และในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ให้ข้อมูลเอาไว้จากการแถลงข่าว แถลง Policy Watch เนื่องในวันแรกของการ เกณฑ์ทหาร 1 เม.ย. 2567 โดยระบุว่า จากปัจจุบันมีค่าเฉลี่ยความต้องการกำลังพลประมาณ 90,000 นายต่อปี มีคนสมัครประมาณ 30,000 คน เท่ากับ 1 ปีจะมีคนอีกประมาณ 60,000 คนต้องเสี่ยงเข้าไปจับใบดำใบแดงทั้งที่ไม่ได้อยากเป็นทหาร และการมีอยู่ของการเกณฑ์ทหารไม่ได้ส่งผลดี เนื่องจากทุกคนที่ถูกเกณฑ์ล้วนมีต้นทุนต้องจ่าย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิเสรีภาพ ความเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน การดูแลครอบครัว
ข้อมูลจาก พรรคก้าวไกล ระบุว่า ประเทศไทยมีการ "เกณฑ์ทหาร" ปีละประมาณ 100,000 คน เมื่อทหารเกณฑ์แต่ละคนเริ่มเข้ารับราชการจะได้รับค่าตอบแทน 9,904 บาท/เดือน แบ่งเป็นเงินเดือน 1,630 บาท, เงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว (พชค.) คนละ 5,394 บาท และเบี้ยเลี้ยงวันละ 96 บาท (2,880 บาท/เดือน) ทั้งนี้ไม่รวมถึง ทหารเกณฑ์ในหน่วยที่ปฏิบัติงานราชการสนามตามแนวชายแดน เช่น ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะได้รับเงินเพิ่มเติม ประกอบด้วย เบี้ยเลี้ยงสนามวันละ 104 บาท/คน (เดือนละ 3,120 บาท) ค่าเลี้ยงดูวันละ 6 บาท/คน ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มของเบี้ยเลี้ยง (เดือนละ 180 บาท) เบี้ยเสี่ยงภัยเดือนละ 2,500 บาท หากนำตัวเลขขั้นต่ำ 9,904 บาท/เดือน มาคูณกับ 134,618 คน งบประมาณที่ต้องใช้สำหรับทหารกองประจำการสูงถึง 16,000 ล้านบาท/ปี
นอกจากการสูญเสียงบประมาณในการ "เกณฑ์ทหาร" ไปแล้วนั้น การที่ชายไทยต้องเข้าไปเป็นทหารกองประจำการยังสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจจำนวนมาไม่น้อย เพราะเกณฑ์อายุของชายไทยที่ต้อง เกณฑ์หาร จะอยู่ในช่วงวัย 21-26 ปี ซึ่งเป็นวัยแรงงานซึ่งมีรายได้เฉลี่ยราวๆ 3.4 แสนบาท ดังนั้นกรณีที่ชายไทยจะต้องเข้าเกณฑ์ทหารจะส่งผลให้สูญเสียมูลค่าในระบบแรงงานราวๆ 2.0 หมื่นล้านบาท มูลค่าทางเศรษฐกิจที่ศูญย์เสียไปอยู่ราวๆ 5.7 ล้านบาท (ข้อมูลอ้างอิงจาก ก้าว Geek)
อย่างไรก็ตามข้อมูลจากกระทรวงกลาโหมระบุว่าจำนวน ทหารเกณฑ์ ที่ต้องการในปี 2567 หลังจากที่หั่นยอดความต้องการ "เกณฑ์ทหาร" จากเดินต้องการปีละ 90,000-100,000 นายลดลงประมาณ 10,000 นาย ส่งผลให้ในปี 2567 กองทัพไทยยังต้องการ "เกณฑ์ทหาร" ประมาณ 85,000 คน มีผู้ที่สนใจสมัครก่อนการตรวจเลือก (สมัครระบบออนไลน์) ณ ปัจจุบัน ประมาณ 15,000 คน เหลือยอดเรียกเกณฑ์ ประมาณ 70,000 คน