คอลัมนิสต์

รื้ออดีต 'เอก ธนาธร' ผู้นำม็อบจรยุทธ์ 53

รื้ออดีต 'เอก ธนาธร' ผู้นำม็อบจรยุทธ์ 53

17 เม.ย. 2562

"อุเชนทร์" ได้ไขความกระจ่างเรื่อง "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ" กับยุทธการแดงทั้งแผ่นดินปี 2553 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้อย่างน่าสนใจ

******************

          เมื่อ 10 เมษายน 2562 แกนนำ นปช. ได้จัดงานทำบุญอุทิศส่วนกุศลและรำลึกถึงผู้เสียสละชีวิตในเหตุการณ์ เมษา-พฤษภา’53 ที่วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร บางเขน ซึ่งมีคนเสื้อแดงมาร่วมงานจำนวนหนึ่ง 

          ก่อนวันสงกรานต์ปีนี้ อุเชนทร์ เชียงเสน” อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2543 ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์วิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

          “อุเชนทร์” ได้ไขความกระจ่างเรื่อง “ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” กับยุทธการแดงทั้งแผ่นดินปี 2553 ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวไว้อย่างน่าสนใจ

นักกิจกรรมหัวก้าวหน้า

          “อุเชนทร์” อดีตนักกิจกรรมขาลุยใช้คำว่า “พวกเรา” อันหมายถึงอดีตผู้นำนักศึกษาที่ทำกิจกรรมในรั้วมหาวิทยาลัย โดยมีองค์กรประสานงานอยู่ที่สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) และองค์กรนักศึกษาอื่นที่เป็นสมาชิกหรือเครือข่าย

          “พวกเรา” ในที่นี้ย่อมหมายถึง ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตอุปนายกองค์การนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ปี 2542 และชัยธวัช ตุลาธน อดีตเลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยปี 2541

          “เอก ธนา” กับ ต๋อม ชัยธวัช” เป็นเพื่อนรักร่วมอุดมการณ์ ที่กอดคอกันทำกิจกรรม จนมาถึงวันก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่ “เอก” เป็นหัวหน้าพรรค และ “ต๋อม” เป็นรองเลขาธิการพรรค และเสนาธิการสู้ศึกเลือกตั้ง

          ปี 2545 เอก, ต๋อม และปุ๊ (ธนาพล อิ๋วสกุล) ได้ลงขันตั้ง “สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน” เพื่อผลิตวารสารฟ้าเดียวกัน ตอนนั้น อุเชนทร์ เรียนปริญญาโทอยู่ธรรมศาสตร์ ก็มาร่วมด้วยช่วยเขียน

 

รื้ออดีต \'เอก ธนาธร\' ผู้นำม็อบจรยุทธ์ 53

 

          ระหว่างนั้น อุเชนทร์ เคลื่อนไหวร่วมกับสมัชชาคนจน ส่วนเอก ธนาธร กลับจากเมืองนอกมารับผิดชอบงานที่บริษัทไทยซัมมิทแล้ว แต่หลังเลิกงานจะมานั่งฟังเพื่อนๆ ปราศรัย ร่วมชุมนุม ให้การปรึกษาหารือ ประเมินสถานการณ์ และคิดค้นการเคลื่อนไหวเป็นครั้งคราว

          แสดงว่า เอก ธนาธร เคลื่อนไหวกับขบวนการภาคประชาชนมาตลอด เพียงแต่เขาไม่ใช่นักปราศรัยจึงไม่อยู่ในเป้าหมายของสันติบาล 

 

ธนาธร” ในสมรภูมิสี่แยกวัว

          ย้อนไปเมื่อ 12 มีนาคม 2553 นปช.เปิดฉากการชุมนุมใหญ่ภายใต้แคมเปญ “ศึกเขย่าขวัญอำมาตย์” เรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ ยุบสภาภายใน 24 ชั่วโมง นปช. มีการตั้งเวทีใหญ่ที่สะพานผ่านฟ้า พื้นที่การชุมนุมของคนเสื้อแดงครอบคลุมพื้นที่ตลอดถนนราชดำเนิน ด้านหนึ่งไปจรดลานพระบรมรูปทรงม้าและตึกไทยคู่ฟ้า

          กระทั่ง 10 เมษายน 2553 อุเชนทร์เล่าว่า ได้ข้อมูลว่ารัฐบาลจะขอคืนพื้นที่ “พวกเรา” ตัดสินใจยกกำลังทั้งหมดไปที่เวทีชุมนุมผ่านฟ้า-ราชดำเนิน

 

รื้ออดีต \'เอก ธนาธร\' ผู้นำม็อบจรยุทธ์ 53

ต๋อม ชัยธวัช เอก ธนาธร และ อุเชนทร์ ที่สี่แยกคอกวัว

 

          “มีใครอยู่กับเราบ้างในวันนั้น เท่าที่จำได้มีผู้เขียน, เอก ธนาธร, ติ่ง สรายุทธ์, ต๋อม ชัยธวัช, ดร ธิกานต์, อ้น ปราการ, ดอน รอมฎอน, กึ๋ย วรรณเกียรติ, เจน ภรณ์พิมล, เอฟ ทรงศักดิ์ (ต้องขออภัยคนอื่นๆ ด้วยที่จำไมได้)...” อุเชนทร์ รำลึกความหลัง 

          ภาพของ เอก ธนาธร ในการชุมนุมที่สี่แยกคอกวัว ได้ถูกเผยแพร่ไปในกลุ่มเพื่อนพ้องน้องพี่บ้างแล้วแต่ก็ไม่มีใครให้ความสนใจในตัวเขามากนัก 

          ต่างจากปีนี้ที่มีการขุดภาพเก่า หัวหน้าส้มหวานกลาง “ม็อบเสื้อแดง” มาแชร์ พร้อมคำบรรยายใต้ภาพเชิงลบมากมาย

 

ผู้นำม็อบจรยุทธ์

          หลัง 10 เมษายน 2553 การชุมนุมของนปช. ถูกย้ายไปรวมที่ราชประสงค์เพื่อความปลอดภัย นับจากนั้นฝ่ายผู้ประท้วงกลับตกเป็นฝ่ายตั้งรับ ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวและปิดล้อม

          อุเชนทร์บอกว่า สถานการณ์มวลชนคนเสื้อแดงตกอยู่ในจุดเสี่ยงอันตราย “พวกเรา” จึงร่วมกับครูประทีบ อึ๊งทรงธรรม ฮาตะ รวมถึง สนนท. ในขณะนั้น ตั้งเวทีชุมนุมย่อยขึ้นที่บริเวณสามแยกตลาดคลองเตย ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2553

 

รื้ออดีต \'เอก ธนาธร\' ผู้นำม็อบจรยุทธ์ 53

เวทีย่อยที่คลองเตย เมื่อ พ.ศ.2553

 

          มิเพียงเท่านั้นอุเชนทร์ได้มีการประสานงานกับกลุ่มเพื่อนพ้องที่เคยร่วมทำกิจกรรมกันมาระยะหนึ่ง ช่วยจัดตั้งเวทีการชุมนุมในลักษณะเดียวกัน 

          เวทีหลักที่คลองเตย พระราม 4 โดยมี “ต๋อม ชัยธวัช” ทำหน้าที่ประสานงานกับจุดอื่นๆ

          “เอก ธนาธร” และเพื่อนๆ รับผิดชอบบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ส่วนอาจารย์ยิ้ม (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ) ช่วยที่เวทีหน้าพรรคเพื่อไทย สามย่าน (สำนักงานเดิม)

 

รื้ออดีต \'เอก ธนาธร\' ผู้นำม็อบจรยุทธ์ 53

จุดปะทะสี่แยกคอกวัว เอก ธนาธร อยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย

 

          หลังสลายการชุมนุม 17 พฤษภาคม 2553 อุเชนทร์ บันทึกไว้ว่า “สิ่งที่กังวลมากที่สุดอย่างหนึ่งหลังสลายการชุมนุมคือ จะมีชื่อของเอก ธนาธร เวทีย่อย อยู่ในรายชื่อไหม มีรูปของเขาหลุดไปอยู่ในสื่อออนไลน์ต่างๆ ไหม”

          พ.ศ.นี้ อุเชนทร์ตัดสินใจเล่าเรื่องของเอก ธนาธร กับบทบาท “ผู้นำม็อบจรยุทธ์” เมื่อพฤษภาเลือด 2553 เพื่ออะไร..?