คอลัมนิสต์

รู้ยัง..ฝ่ายปกครองมีอำนาจจับยาเสพติด

รู้ยัง..ฝ่ายปกครองมีอำนาจจับยาเสพติด

23 ธ.ค. 2562

รู้ยัง..ฝ่ายปกครองมีอำนาจจับยาเสพติด คอลัมน์...  สายตรวจระวังภัย   โดย...  ทีมข่าวอาชญากรรม

 

 


          หลายคนอาจเข้าใจว่าการจับกุมคดียาเสพติดเป็นอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานตำรวจกับป.ป.ส. เพียงเพราะการปรากฏผลงานการปราบปรามจับกุมขบวนการค้ายาเสพติดรายใหญ่มักจะเห็นแค่สองหน่วยงานนี้เป็นหลัก ทว่าตามตัวบทกฎหมายได้เขียนเอาไว้ว่า “พนักงานฝ่ายปกครอง” ก็มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมดำเนินคดียาเสพติดเช่นกัน

 

 

          แม้จะมีการปราบปรามยาเสพติดมากขึ้นเท่าใด แต่ผลที่ได้กลับพบว่ามีจำนวนผู้เสพติดยาเพิ่มขึ้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหายาเสพติดจึงไม่ใช่แต่เพียงวิธีในการปราบปรามอย่างเดียว แต่ต้องใช้หลักการป้องกันควบคู่ไปด้วยเพื่อช่วยให้ผู้ที่หลงผิดได้แก้ไขปรับปรุงฟื้นฟูสภาพจิตใจและร่างกายให้กลับมาเป็นกำลังสาคัญในการพัฒนาประเทศชาติและอาจจะส่งผลต่อการแก้ปัญหายาเสพติดที่แพร่ระบาดได้อย่างยั่งยืน เสมือนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดให้แก่ครอบครัว ชุมชน สังคมและประเทศชาติ

 

 

 

 

รู้ยัง..ฝ่ายปกครองมีอำนาจจับยาเสพติด

 


          ปัจจุบันกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดมีอยู่ประมาณร้อยกว่าฉบับ ตั้งแต่ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด ประกาศ ระเบียบ คำสั่ง แต่มีอยู่เพียง 2 ฉบับ ที่ได้มอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่


          ผู้ปฏิบัติงานรักษาความสงบเรียบร้อยมีอำนาจตรวจหรือทดสอบบุคคลเพื่อหาสารเสพติดในร่างกาย คือ 1.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2519 ซึ่งเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ป.ป.ส. ตารวจยศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปและพนักงานฝ่ายปกครองต้องตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไป 2.พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย ประกอบด้วย พนักงานฝ่ายปกครอง ตั้งแต่ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงไปจนถึงปลัดอำเภอ ตำรวจยศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรี และพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นตั้งแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ระดับ 3 จนถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

รู้ยัง..ฝ่ายปกครองมีอำนาจจับยาเสพติด

 


          สอดคล้องกับแนวคิดและหลักการทำงานของ นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ที่กล่าวว่า การทำงานในแต่ละครั้งอาจจะเปลี่ยนแปลงชีวิตของประชาชนคนหนึ่งให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยหน้าที่ของฝ่ายปกครอง คือ การทำให้ทุกข์ของประชาชนน้อยลงและสุขมากขึ้น โดยปัญหายาเสพติดในสังคมไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนเป็นอย่างมาก ในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนนั้น พนักงานฝ่ายปกครองในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย หรือผู้ปฏิบัติงานที่มีอานาจตามบทบัญญัติจำเป็นต้องมีความรู้ ทักษะ ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่อย่างถูกต้อง ซึ่งเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ดังกล่าวแล้วต้องสามารถนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจสอบ หรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมียาเสพติดให้โทษอยู่ในร่างกายหรือไม่ เพื่อมาปฏิบัติตามขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนและบังคับใช้กฎหมายได้อย่างเคร่งครัด ได้แก่ 1.การตรวจสอบแหล่งที่มา 2.การสืบสวน 3.การวางแผน 4.การตรวจหรือทดสอบหาสารเสพติดในร่างกาย และ 5.การดาเนินการตามกฎหมาย โดยทั้งหมดนี้จะทำให้ประชาชนได้รับการปฏิบัติจากรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกัน

 

 

 

รู้ยัง..ฝ่ายปกครองมีอำนาจจับยาเสพติด


          ดังนั้นพนักงานฝ่ายปกครองจึงถือเป็นเจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยเฉพาะเมื่อพนักงานฝ่ายปกครองปฏิบัติหน้าที่จับกุมปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายยาเสพติด นอกจากการให้ได้มาซึ่งผู้กระทาความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แล้ว ยังมีอำนาจตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับ อาทิ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 78


          ประกอบมาตรา 80 มาตรา 85 มาตรา 92-96 เป็นต้น
          การป้องกันและปราบปรามปัญหายาเสพติดในพื้นที่จึงถือเป็นภารกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งของฝ่ายปกครอง..!!