คอลัมนิสต์

ทำไม เปิดโรงเรียนนานาชาติ แต่ปิดโรงเรียนรัฐ

ทำไม เปิดโรงเรียนนานาชาติ แต่ปิดโรงเรียนรัฐ

25 พ.ค. 2563

ทำไม เปิดโรงเรียนนานาชาติ แต่ปิดโรงเรียนรัฐ ฤานี่คือชนชั้นการศึกษา โดย ชัยวัฒน์ ปานนิล

ปัญหาเพียงเล็กน้อย ของอีกชนชั้นการศึกษา ท่านสามารถมองเห็นและแสดงออก ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ แค่กับ ครู ซึ่งท่านเป็นเจ้ากระทรวงศึกษาธิการกลับไม่มีมีความเห็นใจ ไม่มีความไว้วางใจ อะไรที่ทำให้ท่านคิดว่า ครู จะทำไม่ได้ ท่านลองคิดใหม่อย่างไว้ใจครู

อ่านข่าว:  เข้าใจผิด รู้ยัง..เรียนออนไลน์ เฉพาะม.ปลาย

วันที่ 21 พฤษภาคม 2563 ที่ผ่านมา ดร.อรรถพล ตรึกตรอง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (เลขาธิการ กช.) นำเสนอข่าวผ่าน https://moe360.blog/ ว่า สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) กำลังจัดเตรียมข้อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ต่อการพิจารณาทบทวนการเปิดภาคเรียนของโรงเรียนเอกชน ประเภทโรงเรียนนานาชาติ

เนื่องจาก การเปิดภาคเรียนตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการในวันที่ 1 กรกฎาคมนั้น อาจทำให้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับโรงเรียนนานาชาติ จึงเป็นสาเหตุของการขอผ่อนผันให้โรงเรียนนานาชาติ สามารถทำการเปิดเรียนได้ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน โรงเรียนนานาชาตินั้น มีปัจจัยความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับมาตรการการป้องการการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)

กล่าวคือ มีความปลอดภัย นักเรียนต่อห้อง 20-25 คน (ส่วนใหญ่ 10-20คน) มีพื้นที่โรงเรียนกว้าง มีห้องเรียน/ห้องกิจกรรม เพียงพอ มีจำนวนครูและบุคลากรต่อนักเรียน เฉลี่ย 1:10 (อนุบาล 1:7) ผู้ปกครองมีศักยภาพและมีความพร้อมสูงในการป้องกันโรค โรงเรียนมีที่ตั้งในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐาน

อีกทั้งโรงเรียนนานาชาติมีระบบสอน online อยู่แล้ว ทำให้นักเรียนจำเป็นต้องเข้ามาในโรงเรียนช่วงสั้นๆ ทำให้สามารถติดตามนักเรียนได้ง่ายในกรณีที่มีปัญหาสุขภาพ

และเลขาธิการ กช.ยังบอกอีกว่า เพื่อเป็นการลดผลกระทบทางธุรกิจและสังคม เนื่องจากในเดือนมิถุนายนจะเป็นเดือนสุดท้ายของปีการศึกษาโรงเรียนนานาชาติทั้งไทยและต่างประเทศ ที่ใช้หลักสูตรเดียวกันทำให้จำเป็นต้องปรับช่วงเวลาให้ตรงกับหลักสูตรของต่างประเทศด้วย และผู้ปกครองไม่ยอมรับการสอนแบบออนไลน์ตลอดภาคเรียน แต่ต้องการแบบผสมผสาน (hybrid) ทำให้ผู้ปกครองชะลอการจ่ายค่าธรรมเนียมการเรียน จนทำให้เกิดการฟ้องร้องขอเงินค่าธรรมเนียมการเรียนคืน และมีการร้องเรียนเข้ามาเป็นจำนวนมาก

ย้อนกลับมามามองโรงเรียนของรัฐบาลในทุกสังกัด ที่ยังอยู่ในช่วงการทดลองการจัดการเรียนการสอนทางไกล ที่นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) อ้างว่า เป็นการทดลอง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.4-6 ) เท่านั้น 

ล่าสุด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2563 ดร.อำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมมอบนโยบายผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนท์ ให้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (ผอ.สพท.) จำนวน 225 เขต เรื่องการจัดการศึกษาระบบการศึกษาทางไกลผ่านโทรทัศน์ดิจิทัลและระบบออนไลน์ว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เริ่มทดสอบระบบการจัดการเรียนการสอนผ่านทีวีและออนไลน์แล้วตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค.-30 มิ.ย. 2563

“ดังนั้นขอให้เขตพื้นที่ทุกแห่ง ได้ลงพื้นที่ติดตามและสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียนถึงการเรียนผ่านระบบนี้ด้วย โดยจะต้องลงไปสำรวจเด็กเป็นรายบุคคลและรายโรงเรียนว่า ปัญหาจากการทดสอบระบบเหล่านี้มีอะไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขให้มีความสมบูรณ์ต่อไป”

ดร.อำนาจ กล่าวอีกว่า สำหรับการทดสอบระบบการเรียนผ่านทีวีและระบบออนไลน์ สพฐ.จะมีการประเมินระบบ 3 รอบ แบ่งเป็นรอบการประเมินในวันที่ 30 พ.ค. รอบกลางเดือนมิ.ย. และรอบวันที่ 30 มิ.ย.2563  เพื่อดูความพร้อมทั้งหมด

“ผมเชื่อมั่นว่า หากเปิดเรียนในวันที่ 1 ก.ค.2563  สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไม่พ้นวิกฤตและโรงเรียนในกลุ่มจังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อยังมีตัวเลขสูงอยู่ ก็จะมีความพร้อมสามารถจัดการเรียนการสอนผ่านทีวีและระบบออนไลน์ได้ ” เลขาธิการ กพฐ.ระบุ

ดังนั้นขอย้ำให้สังคมรับทราบเป็นแนวทางเดียวกันว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในการเปิดภาคเรียนโรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้ตามปกติและนักเรียนได้เรียนกับครูในห้องเรียน ซึ่งการทดสอบระบบต่างๆเหล่านี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับโรคระบาดหากยังไม่พ้นวิกฤตเท่านั้น อีกทั้งเป็นการเตรียมปูพื้นฐานให้เด็กก่อนเปิดภาคเรียนใหม่ โดยจะไม่มีการประเมินหรือวัดผลนักเรียนใดๆทั้งสิ้น

จึงมีคำถามว่า ถ้าโรงเรียนนานาชาติเปิดได้ แต่โรงเรียนรัฐเปิดไม่ได้

1. มันสะท้อนให้เห็นการเลือกปฏิบัติและความเหลื่อมล้ำ

2. ดูถูกความพร้อมของโรงเรียนรัฐ/เอกชนไทยมาก

3. มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างคนใหญ่คนโตในกระทรวงกับโรงเรียนนานาชาติหรือไม่?

ฝากคำถามนี้ไปยังผู้บริหารการศึกษา ระดับประเทศ ทัศนคติที่ไม่ไว้ใจครู ดูถูก ดูแคลนครู ว่า ครูจะทำไม่ได้ ความเลื่อมล้ำ ทางการศึกษา เนื่องมาจากระบบหรืออะไรก็ตาม ที่ทำให้เกิดช่องว่างมากมายเหลือเกิน ระหว่างการศึกษาชั้นสูงที่มาจัดอยู่ในแผ่นดินของเรา

ปัญหาเพียงเล็กน้อย ของอีกชนชั้นการศึกษา ท่านสามารถมองเห็นและแสดงออก ซึ่งความเห็นอกเห็นใจ แค่กับ ครู ซึ่งท่านเป็นเจ้ากระทรวงศึกษาธิการ กลับไม่มีมีความเห็นใจ ไม่มีความไว้วางใจ อะไรที่ทำให้ท่านคิดว่า ครู จะทำไม่ได้ ท่านลองคิดใหม่อย่างไว้ใจครู

 

      ทำไม เปิดโรงเรียนนานาชาติ แต่ปิดโรงเรียนรัฐ

 

ทำไม เปิดโรงเรียนนานาชาติ แต่ปิดโรงเรียนรัฐ