คอลัมนิสต์

"จอม" ซูฮก สายล่อฟ้า "อานนท์"

"จอม" ซูฮก สายล่อฟ้า "อานนท์"

04 ส.ค. 2563

"จอม" ซูฮก สายล่อฟ้า "อานนท์" จับตาม็อบใหญ่ "อานนท์ นำภา" เปิดเกมใหม่ ท้าทายฝ่ายอนุรักษ์นิยม ผู้ลี้ภัยคดี 112  เดินหน้าหนุนเต็มที่

++
อันเนื่องจากกิจกรรมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย 'เสกคาถาผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย' เพื่อปกปักรักษาประชาธิปไตย และขับไล่อำนาจมืดจาก จัดโดยกลุ่มมหานครเพื่อประชาธิปไตย และ มอกะเสด เมื่อช่วงค่ำวันที่ 3 ส.ค.2563

 

อ่านข่าว...   "อานนท์" ลุยฮ่องกงโมเดล แฟลชม็อบภาค 2


 

ไฮไลท์อยู่ที่การปราศรัยของ “อานนท์ นำภา” ที่กลับมาจุดพลุเรื่องการแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพให้สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย และประเด็นเกี่ยวกับพระราชอำนาจ
 

ปรากฏว่า คำปราศรัยของอานนท์ ได้ใจกลุ่มผู้ลี้ภัยคดี 112 และคณะนักวิชาการพร้อมกลุ่มแดงอิสระ ที่เคยเคลื่อนไหวในนาม “คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา112” (ครก. 112) รวบรวมรายชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 112 ฉบับที่คณะนิติราษฎร์จัดทำขึ้น เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา แต่ถูกพรรคเพื่อไทยเบี้ยวเมื่อปี 2555
 

อานนท์ นำภา เสนาธิการแฟลชม็อบ จึงสานต่อภารกิจของคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 ด้วยการอาสาเป็นจอมขมังเวทย์-แฮรี่ พอตเตอร์
 

“จอม เพชรประดับ” ผู้หลบภัย คสช. ถึงกับออกอาการดีใจลิงโลด ที่ได้ฟังการปราศรัยของอานนท์ นำภา
 

“เขาได้ นำพา แสงสว่างแห่งความความหวังเพื่อสร้างประชาธิปไตยให้เจิดจ้าที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบเกือบร้อยปีก็ว่าได้..”
 

ไม่เพียงแค่จอม บรรดาผู้ลี้ภัยคดี 112 อีกจำนวนมากในต่างแดน ต่างตื่นเต้นดีใจ และเฝ้ารอวันรอคืนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่ 
 

สิ่งที่อานนท์ นำภา เสนอต่อเวทีแฟลชม็อบคืนนั้น ไม่ต่างจากข้อเสนอของสุรชัย แซ่ด่าน และขบวนการตาสว่าง ในอดีต
 

การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของอานนท์ เป็นการยกระดับ “ข้อเรียกร้อง” ของขบวนการนักเรียน นิสิต นักศึกษาให้สูงกว่าข้อเรียกร้องเดิมคือ แก้ไขรัฐธรรมนูญ หยุดคุกคามนักศึกษา และยุบสภา
 

อีกด้านหนึ่ง ขบวนการพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เริ่มก่อตัวในโซเชียล และมีการจุดชุมนุมทำกิจกรรมในต่างจังหวัด กำลังจับตามองขบวนการแฟลชม็อบ ที่มีเป้าหมายการเมืองสูงกว่าคำขวัญที่ประกาศในเวทีม็อบปลดแอก
 

สิ่งที่น่าวิตกกังวลนับจากนี้ไป คือม็อบใหญ่ในนาม “คณะประชาชนปลดแอก” พร้อมกับข้อเสนอของอานนท์
 

อีกฝ่ายหนึ่งจะทนกับการนำเสนอแบบยั่วยุผ่านสื่อโซเชียลได้หรือไม่? นี่คือคำถามถึงวุฒิภาวะของผู้คนในสังคมไทย