คมชัดลึก Exclusive เปิดใจรัฐมนตรี ป้ายแดง "ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์"
คมชัดลึก Exclusive โดย นารากร ติยายน ผู้ดำเนินรายการ สัมภาษณ์ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) รัฐมนตรีป้ายแดง ที่มาเปิดใจถึงทิศทางการทำงานจะนำพากระทรวง ดีอีเอส เดินหน้าและพัฒนาต่อไปอย่างไร
#ถือว่าเป็นรัฐมนตรีใหม่ บทบาทการเป็น ส.ส กับ การเป็นรัฐมนตรี ต่างกันอย่างไร
- ก็คิดว่าไม่ได้ต่างกัน เพราะที่ผ่านมาก็ทำงานการเมืองร่วมกับพรรครัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นนโยบาย หรือคนทำงานต่างๆก็รู้จักคุ้นเคยกันอยู่แล้ว ทำงานได้ไม่มีปัญหา ไม่รู้สึกตื่นเต้น หรือ แปลกอะไร เพราะทำงานกันอยู่แล้ว ในฐานะที่เป็นเลขาวิปฯ ก็เข้าใจกลไกต่างๆ ที่สำคัญ ถึงเป็นรัฐมนตรีใหม่ แต่รัฐบาลก็เป็นรัฐบาลเดิม นโยบายเดิม สิ่งต่างๆที่รัฐบาลทำ ก็ทำต่อเนื่องไป ไม่ต้องปรับเปลี่ยนอะไร
# ก่อนที่จะมาเป็นรัฐมนตรี ก็มีข่าวชื่อคนอื่น รวมถึง คุณชัยวุฒิ ในขณะที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม ในส่วนตัวคุณชัยวุฒิ รู้สึกอย่างไร
-ดีใจที่อย่างน้อย ก็มีคนให้เกียรติเสนอชื่อ ไม่มีอะไร ตนพร้อมในการทำงานการเมือง มีประสบการณ์จากทั้งในภาคธุรกิจ และการเมือง รวมถึงในพรรคพปชร . ก็มีบทบาทมาตั้งแต่แรก ช่วยงานในการบริหารพรรค ก็เป็นธรรมดาที่จะมีคนรู้จัก และสนับสนุน
# ในแวดวงการเมือง ชื่อชัยวุฒิ อาจจะคุ้นเคย แต่ในส่วนของประชาชน ยังไม่รู้จัก อาจเพิ่งเคยได้ยิน
-ไม่น่าแปลกใจ เพราะผม เว้นวรรค การเมือง หลายปี เคยเป็นกรรมการบริหารพรรคชาติไทย พอยุบพรรค ก็หยุดไป 5ปี ต่อเนื่องมีการยึดอำนาจอีก ก็ทำให้ เว้นวรรคไป เกือบ 10 ปี โดยในช่วงที่เว้นวรรค ก็ทำงานเบื้องหลัง บ้าง งานธุรกิจบ้าง
# พอมีชื่อว่าได้รับ ตำแหน่งรัฐมนตรีดีอีเอส แน่นอน คิดหรือไม่ว่า เพราะคุณสมบัติอะไรทำให้นายกฯไว้วางใจ
-น่าจะเป็นประสบการณ์ ในการทำงาน ทั้งด้านธุรกกิจ และการเมือง อีกด้านก็อาจจะเพราะจบการศึกษา ด้านวิศวกรรม ทำให้มีความรู้ทางด้านวิชาการ ที่พอจะประสานงานในเรื่องต่างๆ ในกระทรวง
จากที่เคยเป็นอาจารย์ ในมหาวิทยา และเคยทำงานอยู่บริษัทด้านพลังงาน เป็นผู้บริหารองค์กรที่ทำเกี่ยวกับ โรงไฟฟ้า ก็ใช้ประสบการณ์ ในการทำงาน และมีเพื่อนและรู้จักคนที่อยู่ในวงการ ดิจิทัล ก็ดึงเข้ามาเป็นคณะทำงาน เป็นที่ปรึกษา ซึ่งเชื่อว่า ด้วยประสบการณ์ และ ทีมงาน จะขับเคลื่อนงานในกระทรวงไปด้วยดี
#อยากให้เล่าถึงบรรยากาศวันแรกที่เข้าไปในกระทรวง
- ก็ไม่มีอะไร ก็เหมือนเข้าไปทำงาน ไม่ตื่นเต้น เข้าไปก็แนะนำตัว ข้าราชการ ก็มาแนะนำตัว ผมก็เน้นว่า ต้องการทราบถึงเรื่องที่เร่งด่วน ที่เป็นปัญหา ที่ต้องการให้รัฐมนตรี ดำเนินการ ผลักดัน เข้า ครม. เพื่อให้เรื่องต่างๆ เดินหน้าไปได้ เขาก็จะนำเสนอมา เพื่อให้เรานำเรื่องไปเดินหน้าไปได้
# เรื่องเร่งด่วน ที่ต้องการให้รัฐมนตรีแก้ไข เช่นเรื่องอะไรบ้าง
- เขาอยากจะทำ เรื่อง บัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ National Digital ID ต่อไปเอากล้องส่องที่หน้าของเรา ก็จะสามารถยืนยันตัวตนได้ ต่อไปการทำธุรกรรม ออนไลน์ ก็จะสามารถยืนยันตัวตนได้ ในอนาคต สามารถตรวจสอบข้อมูลจากใบหน้าเพราะมี ฐานข้อมูลของกรมการปกครอง อยู่แล้ว กรณีนี้ เป็นเพียง ตัวอย่างของงานเร่งด่วน ที่มีความเกี่ยวข้องกัน 2 กระทรวง คือ มหาดไทย กับ กระทรวง ดีอีเอส
# แล้วจะแตกต่างจากบัตรเดิม อย่างเดิม อย่างไร
- ในส่วนบัตรประชาชนเหมือนเดิม แต่กระทรวงส่งเสริมให้ประชาชน นำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ทำธุรกรรม ธุรกิจต่างๆได้ อย่างสะดวก และแพร่หลาย ต่อไป เวลาการติดต่อทำธุรกิจระหว่างกัน สามารถ ยืนยันตัวตันได้ทันที ต่อไป จะขยายจากเรื่องการทำธุรกรรม ไปเรื่องโซเซียลมีเดีย หากต้องการโพสต์ หรือ พูดคุย ก็ต้องมีการยืนยันตัวตนด้วย แอคเคาท์ ต่างๆ จะมาหลอกลวงกันไม่ได้ ซึ่งควรจะหมดไปจากสังคมไทย ถ้าเรามีระบบการยืนยันตัวตน และต่อไป แอคเคาท์ ต่างๆ ที่ใช้ยืนยันตัวตนในโซเซียลมีเดีย พยายามลดเรื่อง แอคเคาท์ ปลอมให้มากที่สุด
#เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายกฯ สั่งการให้มีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นของแต่ละหน่วยงาน กระทรวงดีอีเอส จะมีส่วนในการส่งเสริม ในการพัฒนาแอพฯ ของแต่ละหน่วยงานอย่างไร
- โดยหลัก แอพฯของแต่ละหน่วยงาน ก็เป็นหน้าที่ของแต่ละกระทรวงอยู่แล้ว แต่เราก็จะส่งคนเข้าไปเป็นคณะกรรมการ หรือที่ปรึกษา เพื่อผลักดันให้เรื่องนี้ให้เกิดขึ้น เพราะเป็นโครงการในภาพรวม ที่รัฐบาลเรียกว่า E service รัฐบาลดิจิทัล ต่อไป เป้าหมายคือการติดต่อราชการ การขออนุญาตกับหน่วยงานราชการ ต้องเป็นออนไลน์ ทั้งหมด เพื่อให้ผู้ประกอบการธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว และโปร่งใส ตรวจสอบได้
# รัฐบาล ดิจิทัล ต้องมี โครงสร้างพื้นฐาน ระบบเครือข่าย ให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ ทางกระทรวงจะต้องพัฒนาอะไรบ้าง
-เป็นหน้าที่ของกระทรวง อยู่แล้ว เพราะเรากำกับดูแลเรื่องโทรคมนาคม ระบบการสื่อสาร เป็นหน้าที่ ทำงานร่วมกับ กสทช. ที่สำคัญ เรามีหน่วยงานหลักของกระทรวง คือ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ NT National Telecom ที่ กสท .รวมกับ TOT ซึ่งจะเป็นหน่วยงานหลักในการวางรากฐาน โครงสร้างพื้นฐาน ของระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล การสื่อสารทั้งหมด ให้กับรัฐบาล ซึ่ง ผมต้องไปปรับโครงสร้างองค์กร ให้เข้มแข็ง ทำงานได้เต็มที่ ให้เป็นองค์กร ที่ไม่เป็นภาระให้กับรัฐบาล เช่น การไฟฟ้า
# เมื่อพูดถึงเรื่องการเชื่อมข้อมูลระหว่างหน่วยงานราชการ เราจะใช้เวลาในการเชื่อมข้อมูลนานเท่าไหร่
-คงตอบเรื่องเวลาไม่ได้เพราะมีหลายหน่วยงาน หลายเงื่อนไข แต่มันเริ่มจากคอนเซปต์รวม ว่าเราต้องทำให้ทุกอย่าง ออนไลน์ ทั้งหมด เมื่อเป็นออนไลน์ แล้ว ทั้งหมด ก็จะเชื่อมกันได้เอง แต่เนื่องจากในปัจจุบัน บางระบบยังไม่เป็นออนไลน์ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมกันได้ นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดเรื่องกฏหมาย เพราะแต่ละหน่วยงานมีกฎหมายของตัวเอง อาจต้องมีการแก้กฎหมาย กฎระเบียบ อยู่ระหว่างหารือกัน
#ในส่วนภาคเอกชน ต้องการทราบว่ามีนโยบาย ที่จะให้เอกชน เข้าถึงข้อมูลบางอย่าง เพื่อสามารถนำไปพัฒนาแอพฯ ได้หรือไม่
-โดยหลักการ ข้อมูลเบื้องต้น ที่ นำไปใช้งาน ไม่มีการปิดกั้นอยู่แล้ว แต่อาจจะเป็นที่ระบบ หรือหน่วยงานที่ไปขอ ยังไม่มีการเข้าใจกัน เรามีหน่วยงาน คือ คณะกรรมการส่งเสริม ธุรกรรมทางอิเลคทรอนิคส์ ทางกระทรวงดูแลอยู่แล้ว มีกฎหมาย กำกับดูแล อยู่แล้ว ผมจะเข้าไปให้ดีขึ้น เพื่อให้เอกชน ทำงานอย่างราบรื่น รวมถึง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ปัจจุบัน มีการกระจายไปอยู่ในระบบดิจิทัลต่างๆ ต้องมีการคุ้มครอง เพราะถ้ามีคนนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ เราต้องมีสิทธิดำเนินคดีตามกฎหมาย และสุดท้าย คือเรื่องรักษาความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ cyber security ป้องกันการโจมตี ทางcyber เพื่อก่อความวุ่นวาย ใน บ้านเมือง เช่น การ แฮกค์ ระบบ ขนส่ง ระบบสาธารณูปโภค
ต้องมีหน่วยงาน ที่มากำหนดมารตรการ กำหนดแนวทางปฏิบัติ วางหลักเณฑ์ เมื่อเกิดปัญหา ก็จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหา รวมถึงการป้องกัน ว่าจะมีใครจะเข้าทำอะไร ต้องมีการอัพเดทเทคโนโลยี ตลอดเวลา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่าง จัดตั้งองค์กรนี้ ซึ่งขณะนี้ มีการมองไปถึงอนาคตที่ต่อสู้กันทางเทคโนโลยีมากกว่าอาวุธ
#มีกองทุนสำหรับการพัฒนาดีอีเอส กองทุนนี้จะช่วยเหลือเอกชน อย่างไรบ้าง
-กองทุนนี้ ได้มาจากสัมปทานคลื่นความถี่ ของเอกชน ซึ่ง กสทช.จะแบ่งเงินมาให้ 15% ต่อปี ซึ่งจะมาเพื่อส่งเสริมโครงการต่างๆ ล่าสุด ได้อนุมัติ งบประมาณ นำไปส่งเสริมในการพัฒนาวิจัย การใช้ 5 G มาปรับใชักับภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ต่อไปจะได้ขยายไปส่งเสริม หน่วยงานภาคเอกชน องค์กร มหาวิทยาลัยโดยให้งบประมาณไปพัฒนา
#ขอบข่ายการทำงาน ของกระทรวง ดีอีเอส ค่อนข้าง กว้าง ขวาง ถ้าทุกระบบ สามารถรวมกันได้ จะทำให้เศรษฐกิจเดินทางหน้าได้
- เราไม่ได้มองแต่ด้านเศรษฐกิจ แต่เราคำนึงถึงภาคสังคมเพื่อสังคมอีกด้วย เช่น สื่อลามกอนาจาร การหลอกลวงทางออนไลน์
#จะดูแลด้านลบของโซเซียลเมีเดีย อย่างไร
-เราต้องบังคับใช้กฎหมายก่อน ในฐานะที่เราเป็นกระทรวง มีกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถ้ามีใครนำเข้าเรื่องผิดกฏหมาย ต้องปิดกั้น แต่จะปิดกั้น ในบางข้อมูล แต่ถ้าเป็นเรื่องของการหลอกลวง จะปิดกั้นทั้งหมด เช่นการพนันออนไลน์ ก็มีหน่วยงานที่ดูแลอยู่แล้ว ที่ประสานกับเฟซบุ๊ก โดยรวบรวมข้อมูล แจ้งความตำรวจ ส่งศาลพิจารณาออกคำสั่ง ปิดกั้น
#ถ้าศาลออกคำสั่งปิด กระทรวงดีอีเอส สามารถปิดได้เลยหรือไม่
-กระทรวงต้องส่งคำสั่งนั้นไปที่แพลตฟอร์ม เพื่อดำเนินการปิดกั้น ต้องเป็นเจ้าของระบบ เป็นผู้ดำเนินการปิดกั้น ซึ่งยังเป็นปัญหาที่เจ้าของระบบ ยังไม่มีการดำเนินการปิดกั้นตามศาลสั่งทั้งหมด เนื่องจากบริษัทต่างประเทศมีนโยบาย ที่ต่างกับประเทศไทย ทำให้เรา คอนโทรลได้อย่าง
#จากปัญหาที่ เจ้าของแพลตฟอร์ม อยู่ต่างประเทศ จะมีทางหรือไม่ ที่เราจะพัฒนาให้คนไทย สร้างแพลตฟอร์ม โซเซียลมีเดีย ขึ้นมา
-นี่เป็นส่วนหนึ่ง เชื่อว่า ผู้ประกอบการหลายคนพยายามคิด แต่ต้องยอมรับความจริงว่า อาจจะช้าเกินไป เพราะคนจะติดอยู่กับระบบหนึ่ง จะเปลี่ยนไปอีกระบบที่มีคนใช้น้อยกว่า มันจะเปลี่ยนยาก ซึ่งเป็นปัญหาของทั้งโลก ขณะนี้กำลังศึกษาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น เวียดนาม บังคับให้เฟซบุ๊ก ต้องตั้งสำนักงาน และย้ายระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมด มาตั้งที่เวียดนาม ซึ่งเท่ากับต้องใช้กับต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศนั้น ซึ่งจะควบคุมได้ง่ายขึ้น แต่ในเมืองไทย อยู่ในระหว่างการศึกษาว่าจะดำเนินการได้มากน้อยแค่ไหน ต้องดูข้อกฎหมายว่าต้อง ออกกฎระเบียบอย่างไร จะมีผลกระทบอย่างไร ซึ่งถ้าเราเข้มข้นมาก ก็จะเป็นการไปจำกัดสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ แม้แต่ผู้ประกอบการเอง หากเราเข้มข้น มาก ก็จะไม่อยากย้ายมาไทย
#การเก็บภาษีจากแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อนำรายได้เข้าประเทศ
-ต่อไปทำธุรกิจออนไลน์ ต้องเสียภาษีอย่างน้อย vat 7% ที่ผ่านมา ซื้อของออนไลน์ จากต่างประเทศ ไม่เสีย vat ทำให้ราคาถูกกว่าปกติ ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ระหว่างการประกอบธุรกิจ นอกจากนั้นเรื่องการกำกับดูแลการขายของออนไลน์จากต่างประเทศ ไม่มีคุณภาพ ต้องวางรากฐานว่า ในอนาคตเราจะอยู่กับ เทคโนโนโลยีดิจิทัลอย่างไร ต้องปรับทุกภาคส่วนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
#อยากให้พัฒนา อีคอมเมิร์ซ ของคนไทย
- ทุกวันนี้ เกือบทุกแอปพลิเคชั่น จะเป็นชองต่างชาติ ทั้งหมด ทำให้เกิดการเอาเปรียบผู้ประกอบการคนไทย ซึ่งเราต้องมาดูแล ต้องสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้น กับนักธุรกิจคนไทย ให้แข่งขัน กับเขา ได้
#ต้องมีกรอบเวลาในการพัฒนาหรือไม่
-ต้องให้เสร็จในรัฐบาลนี้ ซึ่งยังเหลือเวลาอีกประมาณ 2 ปี แต่อาจจะมีข้อจำกัดในบางประการ ซึ่งต้องค่อยๆแก้ปัญหาไป เชื่อว่า คนที่เข้ามาเป็นรัฐบาลคิดเหมือนกัน คือ ต้องการดูแลให้ผู้ประกอบการ ในไทยให้แข่งขันได้ สร้างความเป็นธรรม แต่ด้วยข้อจำกัดที่ระบบของไทยเปิดให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินการ ซึ่งเรากำลังเปลี่ยนให้ต่างชาติเข้ามาอยู่ระบบของไทย ซึ่งนายกฯ ก็เห็นด้วย นายกฯต้องการจะผลักดันให้ ไทยมีความเข้มแข็งในด้านดิจิทัล ดูแลเรื่องต่างๆในประเทศได้ ไม่ใช่ปล่อยให้ต่างชาติเข้ามาสร้างปัญหาให้เรา
#พูดถึงอายุรัฐบาล 2 ปี ที่เหลืออยู่ เรื่องการแก้รัฐธรรานูญในฐานะ ส.ส. พลังประชารัฐ มีบทบาทอย่างไร
-ที่จริงผมก็เป็น 1 ในรายชื่อของคนที่เสนอแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แต่เนื่องจากศาลรัฐธรรมนุญวินิจฉัย ไม่เห็นชอบ กับเงื่อนไขเวลารัฐบาลที่เหลือ 2 ปี จึงต้องมาพิจารณา เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญในบางประเด็น หรือรายมาตรา ที่เป็นปัญหา ซึ่งพรรคอื่นก็มีการเสนอเช่นกัน ส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องการเลือกตั้ง, อำนาจ สว. ,องค์กรอิสระ
#ในการเสนอแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยพรรคพลังประชารัฐ คนที่ได้เปรียบก็คือ พลังประชารัฐ เป็นเช่นนั้นหรือไม่
- ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะแต่ละพรรค ก็มีแนวทางกันในแต่พรรค หากมีการนำนักการเมืองแต่ละพรรค มานั่งคุยกัน ก็จะเห็นว่าไม่มีใครเห็นตรงกัน ทุกคนมีมุมมองต่างกัน โอกาสที่จะหาข้อสรุป จุดร่วมกัน เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลา ต้องพูดคุยกัน
#คุณชัยวุฒิ เป็น ส.ส.สิงห์บุรี มาต้้งแต่สมัย อยู่ประชาธิปัตย์ ชาติไทย พลังประชารัฐ ทำไม ช่วงหลังจึงมีบทบาทในพรรค
-อาจจะเป็นเพราะเข้ามาทำงาน ผู้ใหญ่ให้โอกาสทำงาน
#ตอนนี้ มีการดำนเนินคดีกับการโจมตีทางการเมือง นโยบาย ในการดำนเนินคดี เป็นอย่างไร
-ก็ดำเนินการต่อจากเดิม กระทรวงมีศูนย์ เฟกนิวส์ ที่ต้ังมาตั้งแต่ สมัยคุณพุทธิพงษ์ แต่ในมุมของการเมือง จะไม่ค่อยชัดเจนว่าเป็นเฟกนิวส์ เพราะเป็นการแสดงความเห็น แต่ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัว ก็ต้องฟ้องหมิ่น
#การแสดงความเห็นมีทั้ง 2 ด้าน ถ้าเราเปิดให้แสดงความเห็นโดยเสรี อยู่ที่คนอ่าน จะเหมาะสมกว่าการไปไล่ปิด มีความเห็นอย่างไร
-อันนี้ เป็นหลักการอยู่แล้ว ทุกคนมีสิทธิแสดงคววมเห็น แต่ต้องเป็นจริง ไม่ใช่การใส่ร้าย หรือมีเจตนาจงใจทำให้บ้านเมืองเสียหาย เรื่องผิดกฏหมาย ก็จะมีกฏหมายอื่นมากำกับ เรื่องสิทธิเสรีภาพ มีแต่ต้องถูกกฎหมาย และต้องการให้ทุกคนอย่าคิดถึงแต่ตัวเอง อยากให้มองภาพรวม หากพบสิ่งที่ผิดกฏหมาย เช่นเว็บการพนัน ช่วยแจ้งเข้ามาเพื่อลดสิ่งเหล่านี้
#อยากจะพูดกับคนที่สงสัย ในความรู้ความสามารถของเรา กับตำแหน่งนี้อย่างไร
-ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน ต้องให้ลองทำงานก่อน ส่วนที่จะอยู่จนครบวาระ หรือไม่นั้นต้องขึ้นอยู่กับ รัฐสภา เชื่อว่ารัฐบาล พยายามทำงานอย่างเต็มที่ แต่ปัญหาที่เป็นห่วง คือรัฐสภา เพราะมีปัญหา ทั้งเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ อาจจะมีปัญหา นำไปสู่ความขัดแย้ง ซึ่งทุกฝ่ายต้องพูดคุย หาทางออกร่วมกัน ถ้าต่างคน ต่างคิดถึงแต่ผลประโยชน์ของตัวเอง หรือว่ายึดมั่นในสิ่งที่ตัวเองเชื่อแต่เราไม่ดูภาพรวม ไม่ฟังเสียงคนอื่น บ้านเมืองก็จะไปไม่ได้ ประชาธิปไตยจะเดินหน้าได้ ทุกคนต้องมาพูดคุยกัน ต้องประณีประนอมกัน หาทางออกร่วมกัน