คอลัมนิสต์

“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”

“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”

21 ส.ค. 2564

"ม็อบ"ก็เจอแรงต้าน "ฝ่ายค้าน"ก็ปีนเกลียว "รัฐบาล"นั่งบนภู ดูอย่างเดียวก็ได้ ส่วนการ"อภิปรายไม่ไว้วางใจ"อย่าหวังว่าใครจะถอนตัว

“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”

 

ฝ่ายค้าน ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีรายบุคคล แต่ก็มีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น เมื่อก้าวไกลออกมาทวงถามรายชื่อที่ตั้งใจจะยื่นอภิปรายหายไปไหน ทั้งพลเอกประวิตร วงศ์สุวรรณ และร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า มีเหตุผลอธิบาย ว่าไม่มีข้อมูลไม่พอจากพรรคเพื่อไทยยิ่งเพิ่มข้อสงสัยเรื่องดีลทิพย์ จนมีการเปิดศึกวิวาทะออนไลน์ ระหว่างภูมิธรรม เวชชัย ที่ปรึกษาผู้นำฝ่ายค้าน กับชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล จนเป็นที่มาของวลีที่ว่า อยากอยู่บนเส้นทางประชาธิปไตยต้องใจเย็นๆ

“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”      

 


แม้การปรากฏตัวของปิยะบุตรจากกลุ่มก้าวหน้าในคลับเฮาส์ พูดคุยกับโทนี่  มีท่วงทำนองหย่าศึกระหว่างพรรค ดับกระสขัดแย้ง ชั่วครู่ แต่ความครุกรุ่น ระหว่างกัน ก็ยังดำรงอยู่  

 

ปัญหาสำคัญเริ่มจากในกรรมาธิการงบประมาณ ที่เพื่อไทยยกมือให้นำยอดปรับลดงบประมาณ 1.6หมื่นล้าน ไปไว้ในงบกลางฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีอำนาจนำไปใช้ไม่ต้องตรวจสอบนี่เป็นความข้องใจประการที่1  ความไม่พอใจจากการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง แบบบัตรสองใบคำนวนสส.รายชื่อ 100 คน ตามสัดส่วนคะแนนพรรค ไม่ได้คำนวณจากเกณฑ์ สส.พึงมีตามรัฐธรรมนูญปี 60ทำให้สัดส่วนสส.พรรคก้าวไกลในอนาคตที่ใช้การเลือกตั้งแบบใหม่หายไปจำนวนมากโดยพรรคเพื่อไทย เห็นดีเห็นงามกับพรรคพลังประชารัฐชนิดกระหนุงกระหนิง นับเป็นประการที่2  
“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”

 

ในการอภิปรายงบประมาณ พรรคก้าวไกลใช้เป็นเวทีซักซ้อมอภิรายไม่ไว้วางใจไปในตัว ขณะที่ พรรคเพื่อไทย ไม่มีบทบาทมากนัก วาระงบประมาณผ่านได้ไม่มีปัญหา  
แต่ที่รออยู่ข้างหน้า คือการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าจะอภิปรายวันไหน

ไทน์ไลน์สภา นอกจากอภิปรายงบประมาณ
แต่ยังมีการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ในวันที่24และ25    ขณะที่การเคลื่อนไหวนอกสภาขบวนคาร์ม็อบผ่านการทดสอบมาหลายครั้ง นอกจากไม่มีพลังยังทำให้หลายคนเกิดความเบื่อหน่าย นี่ขบวนประชาธิปไตย หรือ ขบวนนัดหมายวัยรุ่นตีกัน และนั่นเป็นที่มาแยกน้ำแยกปลาออกจากขบวนคาร์ปาร์ค จากอดีตแกนนำนปช.ผู้มีประสบการณ์ อย่างณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ซึ่งนัดรวมกันครั้งใหม่ ในวันที่ 29 สิงหาคมนี้  
แม้ฝั่งประชาธิปไตย จะพยายามเคลื่อนไหวทั้งในและนอกสภา แต่ก็อยู่ในสภาพขาดๆเกินๆ ไม่สามัคคีกันเดินทั้งสองขา  บาดเจ็บจากการปะทะ หรือ ได้รับผลกระทบ จากมาตรการล็อกดาวน์ เริ่มเข้าสู่กระบวนการเยียวยา ซึ่งสองพรรคฝ่ายค้าน แบ่งกันรับหน้าเสื่ออาสา เสมือนต้องการหย่าศึก  

“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”

 

เสียงเรียกร้องพลเอกประยุทธ์ออกไปดูแผ่วปลายไม่ส่งเสียงดังเหมือนดั่งที่ผ่านมา เมื่อฝ่ายรัฐตั้งรับ ด้วยการจับขังแกนนำ ขบวนคนรุ่นใหม่ก็ประสบปัญหา ส่วนพรรคแกนนำฝ่ายค้าน แม้แต่พวกเดียวกันก็ยังส่ายหน้า นอกจากจาตุรน ฉายแสง อดีตแกนนำไทยรักษาชาติ จะไม่กลับมา  ยังเตรียมเดินหน้าขนขบวนจากคาร์ปาร์ค ไปจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่ 

“ม็อบ”ก็เจอแรงต้าน “ฝ่ายค้าน”ก็ไม่สามัคคี ผลดีตกอยู่กับ “รัฐบาล”

 

ดูสถานการณ์ฝั่งประชาธิปไตย พลเอกประยุทธ์ ยังเวิร์คฟรอมโฮมแบบสบายใจไปได้อีกนาน แม้จะมีเสียงรบกวนจากยุงรำคาญบ้างแต่เชื่อเถอะว่า จ้างก็ไม่ไป แค่ออกอาการถูกขัดใจ เมื่อไม่ได้ของเล่นเท่านั้น  แก้ปัญหาโควิดยังต้องใช้เวลาอีกนาน หลายโครงการยังรออยู่