คอลัมนิสต์

รำลึก 45 ปี "6 ตุลา" แกนนำเตรียมชำระประวัติศาสตร์ ฟ้องศาลโลก

รำลึก 45 ปี "6 ตุลา" แกนนำเตรียมชำระประวัติศาสตร์ ฟ้องศาลโลก

06 ต.ค. 2564

แกนนำประกาศฟ้องศาลโลก งานรำลึก 45 ปี "6 ตุลา" ชำระประวัติศาสตร์ ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชัง นำมาสู่การเข่นฆ่าประชาชน

รำลึก 45 ปี \"6 ตุลา\" แกนนำเตรียมชำระประวัติศาสตร์ ฟ้องศาลโลก

 

เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ 6 ตุลา 2519 ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ราย แบ่งเป็น นักศึกษาและประชาชน 40 ราย และเจ้าหน้าที่รัฐ 5 ราย ผู้ได้รับบาดเจ็บ 145 ราย ผู้ถูกจับกุม 3,094 ราย โดยมีอยู่ 18 รายที่ตกเป็นจำเลย นี่เป็นข้อมูลที่ถูกรวบรวมไว้ในโครงการ บันทึก 6 ตุลา
เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ไม่ใช่อุบัติเหตุทางการเมือง แต่เป็นความจงใจของกลุ่มผู้มีอำนาจในขณะนั้นที่ต้องการกวาดล้าง ฆ่าฟัน สังหารหมู่นักศึกษาที่เรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเป็นความจงใจและตั้งใจเป็นถ้อยแถลงของกฤษฎางค์ นุตจรัส อดีตนายกองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในห้วงเวลาดังกล่าว ซึ่งประกาศนำตัวผู้บงการในเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 ไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC มั่นใจว่าตามภาคีธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ รับรองการพิจารณาคดีเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และการสังหารหมู่ทางการเมือง แม้ไทยไม่เคยให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาดังกล่าว แม้เหตุการณ์ผ่านมา 45 ปีแล้ว

ต้องยอมรับว่าปัจจุบัน คนเดือนตุลา มีบทบาททางการเมืองในช่วงบั้นปลาย อยู่ทั้งในฝ่ายค้านและฝั่งรัฐบาล พวกที่อยู่ในฝ่ายค้านที่ยังคงเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตย อาทิ ภูมิธรรม เวชชยชัย นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช และ นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี  ซึ่งมีบทบาทสำคัญในยุครัฐบาลพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันเคลื่อนไหว ในนาม กลุ่ม CARE รวมถึงหน่อเนื้อเชื้อไข เดือนตุลา อย่างจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตผู้นำนักศึกษา 6 ตุลา 2519 ซึ่งยังคงยืนยัน ต้องมีการชำระประวัติศาตร์เดือนตุลา ที่มีการใช้ความรุนแรงในการรักษาผลประโยชน์ ปลุกระดมให้เกิดความเกลียดชังจนนำมาซึ่งการเข่นฆ่าประชาชน  ไม่เหมือนคนเดือนตุลาในฝั่งรัฐบาล เช่น วีระกร คำประกอบ คู่แข่งชิงตำแหน่งนายกสโมสรนิสิตจุฬาฯกับภูมิธรรม เวชชยชัย ในสมัยนั้น ที่ดูเหมือนไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว กับเหตุการณ์สำคัญในอดีต 

รำลึก 45 ปี \"6 ตุลา\" แกนนำเตรียมชำระประวัติศาสตร์ ฟ้องศาลโลก

 

 

เหตุการณ์เดือนตุลาถูกนำมาเป็นต้นแบบ ปลุกใจให้เกิดความเคลื่อนไหวเรียกร้อง ลามไปจนทะลุเพดาน เกินที่จะทัดทานไว้ได้ ปฐมบทที่ถูกปลุกปั่น นำมาสู่ความขัดแย้งในครั้งนั้น สืบทอดมาสู่คนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ซึ่งว่ากันว่า ก้าวร้าว รุนแรง ยิ่งกว่า จนถูกคนเดือนตุลา ฝ่ายจัดตั้งเขตเมืองอย่าง ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ สื่อมวลชน อาวุโส ออกมาเตือนสติว่า ยังต้องเดินที่ละก้าว กินข้าวทีละคำ 
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี ระบุว่า เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 เป็นฉากหนึ่งของการต่อสู้เพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย ผ่านมา 45 ปี จากยุคประชาธิปไตยเบ่งบาน ปัจจุบันประเทศนี้ ยังล้มลุกคุกคลาน อยู่กับการเรียกร้องประชาธิปไตย