คอลัมนิสต์

เพื่อไทยโยนไฟใส่สภา แก้กฏหมายอาญา "มาตรา112"

เพื่อไทยโยนไฟใส่สภา แก้กฏหมายอาญา "มาตรา112"

03 พ.ย. 2564

เสนอแก้กฏหมายอาญา "มาตรา112" พรรคเพื่อไทยโยนไฟใส่สภา ถกปัญหาบังคับใช้กฏหมายไม่เป็นธรรม สร้างความแตกแยกในสังคม

เพื่อไทยโยนไฟใส่สภา แก้กฏหมายอาญา \"มาตรา112\"

 

ประธานยุทธศาสตร์ พรรคเพื่อไทย ผู้จุดประกายความคิด แก้ปัญหาการบังคับใช้กฏหมายอาญา มาตรา 112  ชัยเกษม นิติสิริ ชี้แจงว่า การเรียกร้องให้พิจารณาปล่อยนักโทษทางความคิด ปัญหาการใช้กฎหมายของฝ่ายบริหาร ที่ลิดรอนสิทธิขั้นพื้นฐาน จนทำให้เกิดความขัดแย้งแตกแยกในสังคมที่รุนแรงมากขึ้น เป็นประเด็นที่พรรคเพื่อไทยต้องนำข้อเรียกร้องของประชาชนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของรัฐสภา
ข้อเสนอของพรรคเพื่อไทยนี้ ถูกปฏิเสธโดยทันที จากพรรคร่วมรัฐบาล ไล่มาตั้งแต่พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์ รวมถึงพรรคน้องใหม่ อย่าง พรรคกล้าและพรรคไทยภักดี ก็มีปฏิกิริยา เดียวกัน  ยิ่งไปกว่านั้น ทันทีที่มีการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญครั้งที่สอง กลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน หรือ ศปปส. ก็รวมตัวกันยื่นหนังสือต่อประธานสภาคัดค้านมิให้มีการแก้ไขกฏหมายมาตราดังกล่าว 

เพื่อไทยโยนไฟใส่สภา แก้กฏหมายอาญา \"มาตรา112\"

 

หากยังจำกันได้ ความพยามยามแก้ไขกฏหมายมาตรานี้กลุ่มที่เรียกตัวเองว่าคณะนิติราษฎร์ เริ่มดำเนินการมา ราวปี 2555 สมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และไม่พอใจและไม่พอใจที่กฏหมายถูกแช่แข็งไว้ จนรัฐบาลต้องมีอันเป็นไป จากความพยายามเสนอกฏหมายนิรโทษกรรมสุดซอย หลังจากนั้น เป็นต้นมา จำนวนผู้ต้องหา ตามความผิดในมาตรานี้ ก็เพิ่มจำนวนขึ้น  เพจแคร์คิดเคลื่อน ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 จนถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2564 มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการแสดงออกและชุมนุมทางการเมืองในข้อหาตามมาตรา 112 แล้วอย่างน้อย 154 คน ใน 159 คดี .
พนิต วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ แนะไว้ในเฟสบุ๊คว่า ให้ใช้สภาเป็นทางออก เพราะมาตรา112 เป็นเรื่องสำคัญ อย่าใช้กลั่นแกล้งประชาชน 
ในส่วนที่ว่าจะแก้มาตรา112 นั้น ไม่ว่าจะเป็นบทลงโทษ หรือในรายละเอียดข้อใดต้องใช้หลักการสภา ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร นั่นคือวิธีของประชาธิปไตย ผ่านการอภิปรายหรือถกเถียง

เพื่อไทยโยนไฟใส่สภา แก้กฏหมายอาญา \"มาตรา112\"


การแก้มาตรา 112  ยังมีมุมมองจากพลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวช หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทยว่า  ต้องแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ แยกดูหมิ่น หมิ่นประมาท ออกมาจากการอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ กำหนดโทษให้เหมาะสม มาตรา112 ไม่ใช่ความผิดของตัวบทกฎหมาย แต่ผิดที่คนนำไปใช้ อ้างว่าจงรักภักดี แต่ความจริงต้องการก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการ เช่นเดียวกับ ทักษิณ ชินวัตร ที่ออกตัวว่าตัวกฏหมายไม่เคยมีปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่คนบังคับใช้กฏหมายทำให้เกิดความแตกแยกในสังคม ต้องจัดระเบียบให้ถูกต้อง พูดคุยกับผู้เห็นต่าง   เหล่านี้ คือทิศทาง ความเคลื่อนไหว การแก้ไขกฏหมายอาญามาตรา 112   ที่ยังต้องติดตาม  จะมีใครนำไปขยาย  ให้เกิดความขัดแย้ง ขึ้นมาอีกระลอกหรือไม่