คอลัมนิสต์

"แพ้โหวต" ในสภา ยังเดินหน้า หาทางแก้รัฐธรรมนูญ

"แพ้โหวต" ในสภา ยังเดินหน้า หาทางแก้รัฐธรรมนูญ

17 พ.ย. 2564

พริษฐ์-ปิยะบุตร "แพ้โหวต" ในสภา แต่ยังเดินหน้าหาทางแก้รัฐธรรมนูญ เชื่อ เลือกตั้งครั้งหน้าจะเป็นบทพิสูจน์แนวทางที่เสนอ

\"แพ้โหวต\" ในสภา ยังเดินหน้า หาทางแก้รัฐธรรมนูญ

จบไปตามความคาดหมาย สำหรับการลงมติวาระ1 ขั้นรับหลักการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ รีโซลูชั่น ที่ประชาชน กว่าแสนสามหมื่นคน ร่วมลงชื่อเสนอกฏหมายตามรัฐธรรรมนูญ  ที่ประชุมรัฐสภา มีมติเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา256 วงเล็บสาม  การลงมติรับหลักการต้องมีเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสภา 723 เสียง หรือต้องได้รับเสียงเห็นชอบไม่น้อยกว่า 362 เสียง ในจำนวนนี้ ต้องมีสว.อยู่ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 หรือไม่น้อยกว่า 84 คน ก่อนการลงมติ ที่ประชุมวิปรัฐบาลมีมติไม่รับหลักการร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ทำให้ทั้ง  ทำให้ความหวังที่ร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านวาระแรกรับหลักการ เลือนรางลงทันที และเป็นไปตามท่าทีการอภิปรายในสภาเมื่อวานนี้  

23 มาตราของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถูกเชื่อมโยง เป็นการให้อำนาจสภาผู้แทนราษฎรมากเกินไป ผู้อภิปรายหลายคนปริวิตกว่า อำนาจดังกล่าว จะไปก้าวก่าย อำนาจอธิปไตยอื่นๆ จนทำให้เสียรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย  สมาชิกวุฒิสภา บางส่วน เลือกที่จะไม่พูดถึงผลกระทบ ต่อสถานะตัวเอง จากร่างแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้  แต่ยกตัวอย่างที่เป็นผลกระทบ ต่อศาล องค์อิสระ และกองทัพ ขึ้นมาอภิปรายให้เห็นถึงอำนาจที่ล้นเกินของสส.อันมีที่มาจากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้  ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุด คือการกำหนดให้มีผู้ตรวจการ กองทัพ ศาล องค์กรอิสระและเข้าไปมีส่วนร่วมในสภากลาโหม สมาชิกวุฒิสภา ที่โต้แย้งอย่างแข็งขันคือนาย กิตติศักดิ์ รัตนะวราหะ กล่าวหาผู้ชี้แจง เนรคุณแผ่นดิน ล้มล้างสถาบัน  จนประธานต้องสั่งให้ถอนคำอภิปราย
\"แพ้โหวต\" ในสภา ยังเดินหน้า หาทางแก้รัฐธรรมนูญ

 

 

หลังการลงมติ ตัวแทนผู้เสนอร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญ ทั้ง พริษฐ์ วัชระสินธุ์ จากกลุ่ม รีโซลูชั่น และ ปิยะบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการกลุ่มก้าวไกล แถลงท่าทีว่า ยังไม่หมดหวัง กับความพยายาม เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ร่างของพวกเขา ไม่ได้สุดโต่ง ตามที่ถูกกล่าวหา แต่เป็นร่างรัฐธรรมนูญปกติ ธรรมดาที่ควรจะเป็น ไม่ใช่แบบรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งเป็นเครื่องค้ำยันอำนาจ
\"แพ้โหวต\" ในสภา ยังเดินหน้า หาทางแก้รัฐธรรมนูญ


กลุ่มผู้เสนอกฏหมาย ฝากให้ประชาชน พิจารณา ส.ส.ที่ลงมติ แล้วนำร่างรัฐธรรมนูญไปกำหนดเป็น นโยบาย  กำหนดท่าทีการเลือกตั้งครั้งหน้าให้ได้ตัวแทนเข้ามาทำหน้าที่ ตามเจตนารมย์ที่ประชาชนต้องการ