ปัญหา "องค์ประชุม" สภา ทำเอารัฐบาลออกอาการน่าเป็นห่วง
"องค์ประชุม" สภา ยังเป็นปัญหา ที่น่ากังวลของรัฐบาล หลังฝ่ายค้านตั้งเป้า เขย่าทุกครั้ง ขณะที่พรรคแกนนำยังมีปัญหาภายใน
สภาพการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ขณะที่กำลังพิจารณาร่างกฏหมายเครื่องสำอางค์ ซึ่งเป็นร่างกฏหมายฉบับที่สองที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ทำให้ปัญหา เรื่ององค์ประชุม กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง หลังจากร่างกฏหมาย ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ผ่านวาระรับหลักการ ตั้งกรรมาธิการ ฯ พิจารณาแล้ว ฝ่ายค้านมองว่าการชิงปิดสภา ของผู้ทำหน้าที่ประธานเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา สภาล่ม เพราะหากร่างกฏหมายที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ ไม่ผ่านการพิจารณา นายกรัฐมนตรี ต้องรับผิดชอบด้วยการยุบสภา หรือลาออก
ย้อนอดีตการยุบสภาอันมีที่มาจากร่างกฏหมายรัฐบาลไม่ผ่านสภา เกิดขึ้นในสมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในปี 2529 และปี 2530 นอกจากนั้นการยุบสภาส่วนมากมีสาเหตุมาจากการแก้ปัญหาทางการเมือง เช่นการชุนนุมขับไล่รัฐบาล นับตั้งปี2535 สมัยรัฐบาล อานันท์ ปัณยารชุณ นี่เป็นที่มาทำให้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีออกอาการไม่สบอารมณ์หลังถูกตั้งคำถามว่าต่างชาติแสดงความกังวลกับสถานการณ์ ทางการเมืองของไทยหรือไม่
ร่างกฏหมายซึ่งคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอถูกบรรจะอยู่ในวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎร รอการพิจารณาเฉพาะหน้าอยู่อีกสามฉบับ ในสภาวะที่ พรรคแกนนำกำลังง่อนแง่น จากปัญหาความแย้งภายใน ช่วงชิงการนำภายในพรรคพลังประชารัฐ การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ก็มีปัญหากันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับกระทรวงการคลัง ที่ยังไม่สามารถตอบสนองต่อการประกันราคาพืชผลทางการเกษตรได้ทันความเดือดร้อนของประชาชน
ยังมีส.ส.รัฐบาล ไม่น้อยกว่า 5คนคอพาดเขียงเรื่องคุณสมบัติ ส.ส. รอการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ในต้นเดือนหน้า ขณะที่ฝ่ายค้านก็วางเป้าหมายว่าจะตรวจสอบองค์ประชุมสภา เพื่อให้การพิจารณากฏหมายเป็นไปตามครรลอง องค์ประชุมของสภา จึงเป็นปัญหา ไม่กระทบแค่สถานภาพของ นิโรธ สุนทรเลขา ประธานวิปรัฐบาลคนใหม่
หากยังจัดการควบคุมองค์ประชุมไม่ได่ แม้แต่รัฐบาล ก็ออกอาการ น่าเป็นห่วง