คอลัมนิสต์

"แก้รัฐธรรมนูญ" สำเร็จได้ เพราะฝ่ายการเมืองสมประโยชน์

"แก้รัฐธรรมนูญ" สำเร็จได้ เพราะฝ่ายการเมืองสมประโยชน์

09 ธ.ค. 2564

89 ปี การปกครองระบอบประชาธิปไตย พรรคการเมืองขนาดใหญ่ "แก้รัฐธรรมนูญ" ได้ เพราะบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ เอื้อประโยชน์ให้ทางการเมือง

\"แก้รัฐธรรมนูญ\" สำเร็จได้ เพราะฝ่ายการเมืองสมประโยชน์

 

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่  7 พฤศจิกายน 2564 ทั้งสิ้น 6 มาตรา สาระสำคัญอยู่ที่การเลือกตั้งส.ส. จากการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียวเป็นการเลือกตั้งแบบบัตร2ใบ กำหนดให้มี ส.ส. ระบบเขตเลือกตั้ง 400 คน ระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ร่างแก้ไขฯนี้เสนอโดยพรรคพลังประชารัฐ พรรคเพื่อไทยสนับสนุน และพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้คัดค้าน ว่ากันว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญคราวนี้ พรรคการเมืองขนาดใหญ่สมประโยชน์กันทุกพรรค

การบังคับใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับแก้ไขส่งผลให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ต้องร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้สอดรับกับรัฐธรรมนูญกำหนดวิธีการแบ่งเขตการเลือกตั้ง ที่เพิ่มขึ้นมาอีก50เขต กำหนดวิธีคำนวนส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จากเดิมที่ คำนวณแบบจัดสรรปันส่วนผสม จากการเลือกตั้งแบบบัตรใบเดียว จนทำให้มีปัญหา ส.ส.ปัดเศษ เกิดรัฐบาลผสม 20 พรรค
รวมถึงปัญหาการยุบพรรคการเมือง เพื่อเข้าไปเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อในพรรคขนาดใหญ่ แบบไม่ต้องมีลำดับ  ทำลายหลักการคำนวณส.ส.พึงมีที่บัญญัติไว้

แต่แม้ว่าการคำนวณส.ส.บัญชีรายชื่อตามระบบเลือกตั้งใหม่ จะมีเกณฑ์คะแนนผู้ออกเสียงเลือกผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อของแต่พรรคต่อผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งคนไว้อย่างชัดเจน  แต่จำนวนผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ที่ไม่ถึงเกณฑ์ก็เป็นปัญหา ถ้าหากว่า ผลการคำนวนรอบแรกได้ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ ไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญพรรคการเมืองขนาดเล็กต้องการให้แก้ปัญหา ที่กำหนดไว้ในมาตรา30 วงเล็บ4 ว่าหากการคำนวนรอบแรกได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อไม่ครบ  ให้นำเศษคะแนนที่เหลือ พรรคการเมืองที่มีส.ส.บัญชีรายชื่อจากการคำนวนรอบแรกคำนวณรอบสอง  นี่ทำให้เกิดปัญหาตามมาว่า ไม่เป็นธรรมกับพรรคการเมืองที่ไม่มีส.ส.บญชีรายชื่อจากการคำนวนในรอบแรก  แต่มีคะแนนที่มากกว่าเศษเหลือของพรรคการเมืองที่มีส.ส.บัญชีรายชื่อในการคำนวนรอบแรก  ซึ่งนำมาใช้ในการคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อรอบ2  โดยต้องการให้เปลี่ยนวิธีการคำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อรอบสองให้ทุกพรรคการเมืองมีโอกาศได้ส.ส.บัญชีรายชื่อที่เหลือจากการคำนวนรอบแรกด้วย  ซึ่งการคำนวนส.ส.บัญชีรายชื่อรอบ2  แม้จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่นำมาใช้คำนวณ จะน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ก็ไม่ถือเป็น ส.ส.ปัดเศษ  และทำให้คะแนนที่ประชาชนเลือกพรรคการเมืองนั้นมาไม่ตกน้ำ