คอลัมนิสต์

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

30 ม.ค. 2565

เข้าหน้าแล้ง ประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลจะแจ้งมายังเกษตรกรทุกปี ไม่ให้เกษตรกรทำนาปรัง แล้วให้ปลูกพืชหลากหลายแทน คำถามจึงตามมา การให้ปลูกพืชอย่างอื่น ปลูกอะไรเกษตรกรถึงจะรวย ติดตามได้ที่เจาะประเด็นร้อน โดยขุนเกษตรพิเรน

 

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน – เมษายน ของทุกปีจะเป็นช่วงฤดูแล้ง ซึ่งปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ มักจะมีปริมาณจำกัด โจทย์ใหญ่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คือ ทำอย่างไรให้เกษตรกรทำการเกษตรให้ได้ผลที่สุด ใช้น้ำน้อยที่สุด เจ้ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่าง เฉลิมชัย ศรีอ่อน สั่งการแบบเข้มข้นลดปัญหาศึกแย่งน้ำและปัญหาราคาข้าว

 

หัวขบวนอยู่ที่กรมชลประทานที่บริหารจัดการเรื่องน้ำ และ กรมส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบด้านพืชโดยตรง

 

เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง  อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร

 

คำถามคือ ปลูกพืชน้ำน้อย ลดพื้นที่การทำนาปรัง จะนำสู่ความเป็นรูปธรรมได้อย่างไร การเปลี่ยนแปลงวิธีคิดเกษตรกรเป็นเรื่องสำคัญ "ขุนเกษตรพิเรน" เลียบเลาะทุ่งบางเขน  เจอะเจอ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร "เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง" ถามหาวิธีการสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกร

 

"โครงการส่งเสริมปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง เป็นโครงการที่กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชอื่นทดแทนข้าวในฤดูนาปรัง เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การบริหารจัดการสินค้าเกษตร ตั้งแต่การผลิต การจัดการคุณภาพผลผลิต และการตลาด ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น เกิดความมั่นคงและยั่งยืนในอาชีพการเกษตร"

 

ปีนี้ เกษตรกรในพื้นที่ส่งเสริม 18 จังหวัด มีการเพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อย จำนวน 545 ครัวเรือน  พื้นที่ 108,441.5 ไร่ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกพืชใช้น้ำน้อยรวม 61 จังหวัด (ยกเว้น ภาคใต้)  รวมพื้นที่  145,284.97 ไร่ 16,260 ครัวเรือน (วันที่ 24 ม.ค.65) 

 

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

 

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่สนใจหันมาปลูกพืชอื่นที่ใช้น้ำน้อยทดแทนข้าวในฤดูนาปรัง โดยเฉพาะในพื้นที่ชลประทาน เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง พริก แตงโม ข้าวโพดหวาน เป็นต้น ซึ่งพืชเหล่านี้จะมีอายุการเก็บเกี่ยวไม่เกิน 120 วัน 

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

 

โดยเฉลี่ยการปลูกข้าวพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้น้ำประมาณ 1,200 - 1,500 ลูกบาศก์เมตร/ฤดูกาลผลิต ในขณะที่พืชใช้น้ำน้อยจะใช้น้ำเพียงประมาณไร่ละ 300 - 800 ลูกบาศก์เมตร/ฤดูกาลผลิตเท่านั้น...

 

คำถามของ "ขุนเกษตรพิเรน" ไม่ให้เกษตรกรทำนาปรังแล้วปลูกพืชอย่างอื่น ปลูกอะไรเกษตรกรถึงจะรวย

 

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

 

จากข้อมูลของกรมส่งเสริมการเกษตรน่าสนใจ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว มีรายได้ 1,185 บาท/ไร่ (ไม่รวมค่าเช่านา) ในขณะที่เกษตรกรที่พืชชนิดอื่นจะมีรายได้มากกว่านี้

 

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

ปลูกอะไรดี


แตงกวา 24,760 บาท/ไร่


พริกซอส 37,600 บาท/ไร่


ถั่วเขียว 4,040 บาท/ไร่


ข้าวโพดหวาน 1,450 บาท/ไร่


ถั่วเหลือง 1,490 บาท/ไร่


แตงโม 12,220 บาท/ไร่


มะเขือเทศ 36,800 บาท/ไร่


มันฝรั่ง 60,075 บาท/ไร่


ถั่วสิสง 5,800 บาท/ไร่


หอมแบ่ง 17,030 บาท/ไร่ 


บวบ 32,900 บาท/ไร่ 

 

ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง ไม่ทำนาปรังแล้วจะปลูกอะไร

 

ขุนเกษตรพิเรน บอกได้เลยว่า รายได้ดีกว่าการทำนาปรังเยอะ ทั้งนี้ ก่อนการเลือกปลูกพืชแต่ละชนิด เกษตรกรควรจะมีการวางแผนการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการตลาดก่อนเริ่มปลูกเสมอ ตลอดจนประเมินความพร้อมของสภาพพื้นที่ และศักยภาพในการผลิตของเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณตามทีเหมาะสม และมีตลาดรับซื้อผลผลิตที่แน่นอนด้วย 

 

ลองเปลี่ยนวิธีคิดดู เกษตรปราณีต ปลูกน้อยได้มาก มองไปที่ตลาดเป็นหลัก ไม่เช่นนั้น เกษตรกรก็จะจมอยู่กับ "ทำนาปรังมีแต่ซังกับหนี้ ทำนาปีมีแต่หนี้กับซัง" มีทางเลือก มีข้อมูลแล้ว เหลือแค่เกษตรกรเปลี่ยนแนวคิดเท่านั้น