คอลัมนิสต์

อภิปรายฯ "งบฯช้างป่วย" ข้าราชการไม่พอใจ "ก้าวไกล" สะเทือน

อภิปรายฯ "งบฯช้างป่วย" ข้าราชการไม่พอใจ "ก้าวไกล" สะเทือน

06 มิ.ย. 2565

ข้าราชการ และอดีตข้าราชการ ไม่พอใจ หัวหน้าพรรค "ก้าวไกล" อภิปราย "งบฯช้างป่วย" พิธา ชี้แจง ไม่ใช่ปัญหาขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ

งบฯช้างป่วย เงินบำนาญข้าราชการคือปัญหาของประเทศ สะเทือนก้าวไกล

กรณีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายงบประมาณ ปี 2566 โดยในช่วงหนึ่งกล่าวว่า เงินบำนาญคือตัวปัญหาของการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดกระแสว่า พรรคก้าวไกลจะยกเลิกบำนาญข้าราชการ เกิดกระแสความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ และอดีตข้าราชการเป็นอย่างมาก  เพจ เสธPlay โพสต์ข้อความระบุว่า ...

 " เงินบำนาญคือปัญหาของประเทศ?

เสธ. เข้าใจได้ดีกว่าพิธานั้นเป็นลูกคนรวย เป็นนักธุรกิจ อยู่บนกองเงินกองทองมาทั้งชีวิต ย่อมไม่สนใจเงินบำนาญอยู่แล้วแต่การพูดว่าเงินบำนาญคือตัวปัญหาของการพัฒนาประเทศนั้นเป็นสิ่งไม่สมควร

 1. ข้าราชการส่วนใหญ่ทำงานด้วยเงินเดือนที่ต่ำกว่าเอกชน และหน่วยงานราชการเกือบทั้งหมดไม่ได้มีโบนัส ดังนั้นสวัสดิการการรักษาพยาบาล และเงินบำนาญหลังเกษียณ คือสิ่งที่มาชดเชยเงินก้อนใหญ่ๆ ที่ข้าราชการไม่มีแบบเอกชน บำนาญและสวัสดิการนั้นต่างจากเงินก้อนใหญ่ๆแบบเอกชน คือ มันจะได้ใช้เมื่อเข้าเกณฑ์หรือเงื่อนไข กล่าวคือ ถ้าไม่เจ็บป่วยก็ไม่ได้ใช้สิทธิรักษาพยาบาล ถ้ายังไม่เกษียณก็ยังไม่ได้รับเงินบำนาญ ระบบนี้ทำให้ภาครัฐไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินเป็นก้อนใหญ่ๆในแต่ละเดือน แต่จ่ายเมื่อต้องจ่าย เรียกได้ว่าประหยัดเงินกว่าการจ่ายเป็นก้อนใหญ่ๆแบบเอกชนด้วยซ้ำ

ข้าราชการบางคนสุขภาพดีมาก แทบไม่เคยต้องใช้สิทธิรักษาพยาบาล บางคนเกษียณแล้วก็ตายเลย ยังไม่ทันได้จ่ายบำนาญ แบบนี้ก็มีถ้าจะไม่ให้มีเงินบำนาญแล้ว รัฐต้องจ่ายเงินเดือนให้ข้าราชการเทียบเท่าเอกชน ซึ่งต้องเพิ่มงบประมาณมหาศาลมาก พอถึงตอนนั้นก็จะโจมตีข้าราชการอีกว่าใช้เงินเยอะ การพูดว่าเงินบำนาญคือปัญหาของประเทศจึงเป็นคำพูดที่ไม่ฉลาดเลย

 2. บำนาญข้าราชการนั้นไม่ใช่ของที่มาอยู่แปปๆ แล้วก็ได้ ต้องรับราชการนานถึง 25 ปี จึงจะมีสิทธิ การรับเงินเดือนในอัตราที่น้อยกว่าเอกชนถึง 25 ปีนั้นไม่ใช่เวลาน้อยๆ ดังนั้นการได้รับสิทธินี้ก็ถือว่าสมควรแล้ว
 3. มีพวกอภิสิทธิ์ชนบางพวกนะครับที่ไม่ต้องรับราชการนานก็ได้บำนาญ อย่างพวก ส.ส. แบบพิธานั่นแหละ ถ้าอยากให้ไม่มีบำนาญ เริ่มจากพวก ส.ส. เสียก่อน การพูดแบบนี้ โดยส่วนตัว เสธ. ถือว่าเป็นการไม่ให้เกียรติผู้สูงอายุ เข้าทำนองใช้แล้วทิ้ง มีอย่างหรือเขาทำงานให้กับประเทศมาตั้งนาน รับเงินเดือนที่ได้รับก็ถือว่าไม่ได้สูงเลยเมื่อเทียบกับเอกชน แต่มาบอกว่าเงินที่เขาได้ใช้เลี้ยงชีพหลังเกษียณ คือภาระของประเทศแบบนี้ก็เท่ากับชี้หน้าด่าผู้สูงอายุว่าคือตัวปัญหาของประเทศนั่นแหละครับอย่ายกยอตัวเองว่าทำงานเพื่อประชาชนเลยครับ ถ้ายังมีความคิดแบบนี้"

ข้อมูลอีกด้านจากนนธิวัฒน์ สามารถ อดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง โพสต์ว่า ผมเป็นหนึ่งในข้าราชการบำนาญ ที่รับราชการจนครบเกษียณอายุ และมีสิทธิรับเงินบำนาญ ข้าราชการที่จะได้รับเงินบำนาญ ต้องรับราชการมาไม่น้อยกว่า 25 ปี ไม่ใช่เวลาวันสองวัน วันที่ผมบรรจุเข้ารับราชการครั้งแรก รุ่นผมได้เงินเดือนๆละ 1,250 บาท ย้ำ 1,250 บาท พวกข้าราชการอย่างผม​สู้ก้มหน้าทำงาน ในขณะที่เพื่อนๆที่ทำงานเอกชนรับเงินเดือนมากกว่าราชการหลายเท่า ข้าราชการเสียสละรับเงินเดือนน้อยและหวังสวัสดิการรักษาพยาบาทในยามแก่เฒ่า

ข้าราชการที่บรรจุหลังปี 2544 จะไม่ได้เข้าสู่กฎหมายบำนาญ แต่ทุกคนจะเข้าสู่ระบบกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กบข.และเปิดโอกาสให้ข้าราชการที่รับราชการอยู่ในปี 2544 และยังไม่เกษียณอายุ สามารถสมัครใจเข้าสู่ กบข.ได้ และมีข้าราชการจำนวนมากสมัครใจเข้าสู่ กบข. ดังนั้น เหลือข้าราชการที่รับเงินบำนาญจำนวนไม่มากนัก มองปัญหาให้ถูกจุดด้วย

พวกเราไม่ได้อิจฉานักการเมืองที่ทำงานด้วยน้ำลาย แต่ก็มีบำนาญเหมือนข้าราชการ กรรมาธิการงบประมาณลองเสนอเลิกบำนาญ สส.ในขั้นกรรมาธิการให้ที เผื่อจะประหยัดงบประมาณอย่างที่ สส.เสนอขอบ่นๆไปยังเพื่อนข้าราชการบำนาญทุกท่าน ให้รู้ว่านักการเมืองมองพวกเรายังไง

 ด้าน  นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล โพสต์ภาพและข้อความเพจเฟซบุ๊ก "Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ระบุถึงกรณีดังกล่าวว่า   ..... "Fake News" ข่าวปลอมที่กำลังแพร่ระบาดในกรุ๊ป Line - อย่าหลงเชื่อ พรรคก้าวไกล "ไม่มี" และ "ไม่เคยมี" นโยบายยกเลิกบำนาญข้าราชการ มีแต่จะหาวิธีบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดินเพื่อ "เพิ่ม" สวัสดิการให้ประชาชนที่น้อยนิด ใช้เทคโนโลยีให้ข้าราชการทำงานได้ดีขึ้น งดการเพิ่มข้าราชการใหม่ในงานที่ไม่จำเป็น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือกับข้าราชการและประชาชนทุกๆ คน

 

อภิปรายฯ \"งบฯช้างป่วย\" ข้าราชการไม่พอใจ \"ก้าวไกล\" สะเทือน

 

ขอทุกท่านช่วยแชร์รูปภาพ พร้อมข้อความนี้ย้อนกลับไปในทุกกรุ๊ป Line ที่ได้รับข่าวเท็จนี้มาด้วยครับ ขอบคุณข้อมูล เพจ เสธPlay / เพจเฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์      เข้าใจว่ากระแสต้านพรรคก้าวไกลค่อนข้างแรงกับคำอภิปรายของพิธา ถึงขั้นเกิดกระแสข้าราชการบำนาญจะขึ้นป้ายไวนิลหน้าบ้านไม่เลือกพรรคที่คิดจะเลิกบำนาญ ทำให้พิธาต้องรีบออกมาดับไฟที่ต้นลม ก่อนจะลุกลามเผาไหม้ไปใหญ่โต

       ในขณะที่หัวหน้าพรรคก้าวไกลมองว่า งบบำนาญข้าราชการคือปัญหา แต่ขณะนี้กลับมีพรรคการเมืองบางพรรค เช่น พรรคไทยสร้างไทย ผุดนโยบายบำนาญประชาชนเดือนละ 3000 บาท ในห่วงสถานการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุจำนวนมาก

      พิธายังแตะไปถึงงบ 10% อุดหนุนท้องถิ่น ทำนองเหมือนกับว่า ให้ท้องถิ่นเลี้ยงตัวเอง รัฐไม่ต้องอุดหนุน แต่พิธาลืมนึก หรือจะว่าไม่รู้ก็ไม่ใช่ว่า ภาษีจากท้องถิ่นจำนวนไม่น้อย ถูกเก็บส่งให้รัฐบาลกลาง เพียงแค่รัฐบาลกลางจัดสรรกลับไปสนับสนุนท้องถิ่นเท่านั้น

     ลองให้ท้องถิ่นมีอิสระจริงสิครับ จัดเก็บภาษีเอง ไม่ต้องส่งไปส่วนกลาง จัดทำแผนงบประมาณเอง รัฐบาลกลางจัดเก็บภาษีแค่บางตัวเท่านั้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนที่เหลือให้ท้องถิ่นจัดเก็บไว้ใช้จ่ายเอง เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีล้อเลื่อน

      น่าแปลกใจว่าพิธาไม่ได้พูดถึงเงินบำนาญ สส.ที่ตัวเองจะได้ประโยชน์ในอนาคตสักแอะเดียว ถึงแม้ว่าเงินจากบำนาญ สส.จะไม่มากเท่ารายได้ของลูกเศรษฐีเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม

     นี้เป็นกระแสร้อนที่รุมเร้าพิธา รุกเข้าไปในก้าวไกล ที่หวั่นไหวกันไปไม่น้อยกับ งบฯช้างป่วย