คอลัมนิสต์

ออกแล้ว งบครู เงินเดือนพระสอนปริยัติธรรม ที่แสนจะต่ำเตี้ยจาก 35 ได้มาแค่ 16

ออกแล้ว งบครู เงินเดือนพระสอนปริยัติธรรม ที่แสนจะต่ำเตี้ยจาก 35 ได้มาแค่ 16

02 ก.ค. 2565

ข่าวดีที่แอบปะปนความในใจ เมื่อกระทรวงการคลังออกประกาศค่าตอบแทนบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรมว่าด้วยเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง ทั้งรายเดือนและรายชั่วโมง ตามอัตราตำแหน่งแบบนี้

กระทรวงการคลัง อนุม้ติอัตราเงินค่าตอบแทน ผู้บริหารการศึกษา นักธรรม บาลีและสามัญออกมาแล้ว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 
พระเทพวรเวที (พล อาภากโร) เจ้าอาวาสวัดสังเวชวิศยาราม ในฐานะเลขานุการฝ่ายศาสนศึกษา ของมหาเถรสมาคม ถึงกับอุทานด้วยปีติว่า ความปรารถนาเบื้องต้นสำเร็จแล้วแม้จะเป็นเงินเล็กน้อย เมื่อค่าตอบแทนบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรมเทียบเงินค่าตอบแทนฝ่ายคฤกห้สคถ์ แต่ก็ถือเป็นหัวเชื้อ เป็นกำลังใจแก่ฝ่ายศาสนศึกษา

 

 

ตามบัญชี ที่อนุมัติโดยกระทรวงการคลัง..ใน 1 "สำนักศาสนศึกษา"หรือ "สำนักเรียน" ที่ได้เงินเดือน ประกอบด้วย 
1/ เจ้าสำนักศาสนศึกษา/ เจ้าสำนักเรียน(22,000บาท/เดือน)
2/ ผู้ช่วยเจ้าสำนักศาสนศึกษา/สำนักเรียน(22,000บาท/เดือน)
3/ อาจารย์ใหญ่(22,000บาท/เดือน)
4/ รองอาจารย์ใหญ่(22,000บาท/เดือน

5/ เลขานุการสำนักศาสนศึกษา/ สำนักเรียน(22,000บาท/เดือน)
6/ นักวิชาการศาสนา(บรรณารักษ์/ฝ่ายแนะแนว/ฝ่ายเทคโนโลยี/ฝ่ายทะเบียนและวัดผล/ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป/หรือผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่อื่นที่คณะกรรมการกำหนด)(ปฏิบัติงานเกิน10ปี 18,000 บาท/ เดือน…ต่ำกว่า 10ปี 15,000บาท/เดือน
7/ ครูสอนนักธรรม-บาลี(ให้ค่าตอบแทนรายชั่วโมงๆละ 200 บาท)

นอกจากเป็นตัวเงินเล็กน้อย แต่ก็หวังว่าจะพิจารณาให้สูงขึ้นตามมาตรฐานทั่วไปในอนาคต

ค่าตอบแทนบริหารงานบุคคลการศึกษาพระปริยัติธรรม

รายละเอียดค่าตอบแทนโรงเรียนพระปริยัติธรรมตามบัญชีตำแหน่ง

 

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังอนุม้ติค่าตอบแทนพระสอนปริยัติธรรมและผู้บริหาร เพียง 16 ตำแหน่ง จากที่ขอไป 35 ตำแหน่ง ที่เหลือมีปัญหาอะไร กระทรวงการคลังยังไม่แจ้งมา และจะพิจารณาเติมให้เต็มเมื่อไร ทางคณะสงฆ์ยังไม่ทราบเช่นกัน

การอนุมัติค่าตอบแทนครูสอนปริยัติธรรมครั้งนี้ นับว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตั้งแต่มีการตั้งโรงเรียนสอนปริยัติธรรม ทั้งบาลี นักธรรม ของคณะสงฆ์

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (2403-2464) ทรงปรับปรุงการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยให้ทันสมัย เช่นการศึกษาบาลีเพื่อให้อ่านพระคัมภีร์ได้ และทรงจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแบบใหม่อีกอย่างหนึ่งคือ หลักสูตรนักธรรมเพื่อนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้

พระเทพวรเวที เลขานุการฝ่ายศาสนศึกษามหาเถรสมาคม

 

และการสอนสามัญศึกษา เพื่อให้ภิกษุสามเณรรู้โลกกว้างมากขึ้น ตามพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี) รวมเวลาที่มีการปฏิรูปการศึกษาคณะสงฆ์กว่า 100 ปี แต่ภาครัฐเพิ่งจะจัดสรรงบประมาณ ถวายพระสอนปริยัติธรรม

เรื่อง : เปรียญ12