คอลัมนิสต์

เปิดบันทึก "มารุต บุนนาค" จากหนังสือวิชาว่าความ ต้นแบบ "ทนายความ"

เปิดบันทึก "มารุต บุนนาค" จากหนังสือวิชาว่าความ ต้นแบบ "ทนายความ"

23 ก.ย. 2565

เปิดบันทึกผู้เขียน ศาสตราจารย์มารุต บุนนาค จากหนังสือวิชาว่าความและมรรยาททนายความ คู่มือประกอบวิชาชีพ ทนายความ 

กรณี นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก ถึงแก่อสัญกรรมของนาย ศาสตราจารย์ มารุต บุนนาค อดีตประธานรัฐสภาและอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า ในฐานะที่เป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์มารุต เมื่อสมัยเรียนเนติบัณฑิต และวันหนึ่งที่รัฐสภาเมื่อมาเป็นนักการเมืองแล้วได้รับมมอบหนังสือเล่มหนึ่งให้ เป็นหนังสือ “วิชาว่าความ” เล่มสุดท้าย

 

"คมชัดลึกออนไลน์" ได้ติดตามไปสืบค้นถึงความสำคัญของหนังสือ "วิชาว่าความ"เล่มสุดท้าย ที่นายนิพิฏฐ์ กล่าวถึง ซึ่งหนังสือเล่มดังกล่าว ถือเป็นวิชาหนึ่งที่มีการเรียนการสอนของคณะนิติศาสตร์ ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ก็คือ ศาสตราจารย์ มารุต บุนนาค ใช้สำหรับการสอนวิชาว่าความ หรือ การเป็นทนายความ ซึ่งตามมหาวิทยาลัยต่างๆที่มีคณะนิติศาสตร์เปิดสอน ใช้เป็นต้นแบบของการเรียนการสอนมาถึงยุคปัจจุบัน 
 

เนื้อหาในของหนังสือ ได้มีบันทึกจากผู้เขียนแสดงความมุ่งหมายในการจัดวิชาการเรียนการสอนวิชาว่าความรวมถึงมรรยาทนายความ อันเป็นต้นแบบของการประกอบวิชาชีพ"ทนายความ"โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

หนังสือวิชาว่าความและมารรยาททนายความฉบับนี้ เป็นหนังสือที่รวบรวมและแก้ไขจากแนวคำบรรยายายวิชาว่าความที่ผู้เขียนได้เคยบรรยายายที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในระหว่างปีพ.ศ.2513 ถึงปี 2520 โรงเรียนนายทหารพระธรรมนูญ กระทรวงกลาโหม ในระหว่างปีพ.ศ.2514 ถึงปีพ.ศ.2533 จากคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง ,คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำนักกฎหมายอบรมแห่งเนติบัณฑิตสภา ทั้งสามสถาบันนี้ผู้เขียนยังคงบรรยายอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งได้รวบรวมแก้ไขจากหนังสือวิชาว่าความชุดเดิมที่สำนักอบรบกฎหมายแห่งเนติบัญฑิตยสภา ได้เคยจัดพิมพ์ในปี พ.ศ.2514 และปี พ.ศ.2516 ฉบับที่มหาวิยาลัยรามคำแหง พิมพ์ ในปี พ.ศ.2536 โดยแนวทางหนังสือฉบับนี้ มุ่งเน้นในการปฎบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพททางกฎหมาย มิได้มุ่งเน้นในทางทฤษฎีดังเช่นหนังสือวิชาการทางกฎหมายอื่นๆ 

 

หนังสือวิชาว่าความฉบับนี้ ได้บรรยายถึงแนวทางการเตรียมคดีก่อนนำคดีไปสู่ศาลทั้งในทางแพ่งและทางอาญา แนวทางการร่างคำฟ้อง คำให้การ คำร้องอื่นและอื่นๆ ทั้งในคดีแพ่งและคดีอาญา แนวทางการปฎิบัติเมื่อนำคดีไปสู่ศาลแล้ว แนวทางการซักถามพยานของตนเอง ซักค้านพยานของฝ่ายตรงกันข้าม ถามติงพยานของตนเอง การแถลงการณ์ด้วยวาจา การแถลงการณ์เปิดคดีด้วยลายลักษณ์อักษร แนวทางการร่างคำฟ้องอุทธรณ์ -ฎีกา การแก้อุทธรณ์ และการแก้ฎีกา การบังคับคดี หลักเกษณฺและวิธีการร่างพินัยกรรม และนิติกรรมสัญญา ตัวอย่างคำฟ้อง คำให้การ คำร้องและอื่นๆ ทั้งในคดีแพ่งและคดีอญา ตัวอย่างพินัยกรรมและสัญญาพอสมควร และสรุปโดยข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความที่ทนายความทุกคนต้องปฎิบัติ 
 

หนังสือวิชาว่าความฯ เล่มนี้จะถือว่า เป็นหนังสือวิชาว่าความที่สมบูรณ์ไม่ได้เพราะวิชาว่าความเป็นวิชาว่าความที่กว้างเกินกว่าที่นักกฎหมายคนใดจะรวบรวมได้หมด ประกอบกับหนังสือเล่มนี้ ไม่ได้บรรยายาถึงการดำเนินคดีในศาลชำนัญพิเศษต่างๆ เช่นศาลแรงาน ศาลภาษีอากร ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และศาลล้มละลาย ซู่งมีวิธะการดำเนินคดีผิดแผกไปจากศาลยุติธรรมธรรมดา แต่นักศึกษากฏหมาย สามารถนำไปประยุกต์ กับการดำเนนคดีในศาลชำนัญพิเศษต่างๆ ดังกล่าวได้ อนึ่งผู้เขียนขอย้ำว่า หนังสือวิชาว่าความเล่มนี้ มุ่งให้เป็นแนวทางปฎิบัติ สำหรับนักศึกษาหรือนักฎหมายที่เพิ่งประกอบวิชาชีพทนายความใหม่ เพื่อความสะดวกในการปฎิบัติงานเท่านั้น ดังนั้น หากหนังสือเล่มนี้จะมีข้อบกพร่องประการมด ผู้เขียนหวังว่า นักกฎหมายที่มีประสบการณ์ทั้งหลายจะช่วยแนะนำแนวทางที่พึงแก้ไขให้กับผู้เขียนเพื่อนำไปปรับปรุงในการจัดพิมพ์ในครั้งต่อไป 

 

ผู้เขียนขอขอบคุณคณะทนายความจากสำนักกฎหมายมารุต รุจิระ บุนนาคและจากบริษัท มารุต บุนนาค อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์ ออฟฟิศ จำกัด (MARUT BUNNAG INTERNATIONAL LOW OFFICE) อันประกอบด้วย รุริจะ บุนนาค,รุ่งนภา บุนนาค ,สุชาติ เสียงสืบชาติ , นรินทร์ ศรันยสุนทร , นิยม วานิชวัฒนรำลึก ,เกรียงศักดิ์ ไพบูลย์ , ชูศักดิ์ คุณอมรเลิศ , นิคม วานิชวัฒนรำลึก , ธานี นพรัตน์ , พ.ต.อ.ชุมพล ชนะนนท์ , อุทัยชน เก่งงาน. กมภัทร บุญถึง , ประสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ ,วีรชัย อาทรมิตร , รัตติกร เจียรกุล ,สุปรียา ชุนสนิท ,นิรันทร์ ซันโต่ส และร.ต.ท.สกล ต้นเสียงสม พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของสำนักงานได้ช่วยกันรวบรวมตัวอย่างฯ เพื่อประกอบคำบรรยาย

 

ผู้เขียนมั่นใจว่า หนังสือวิชาว่าความและมรรยาททนายความเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์ ในการประโยชน์ในการปฎิบัติวิชาชีพ ทางกฎหมายสำหรับนักศึกษากฎหมาย ทนายความที่เริ่มประกอบอาชีพใหม่จะได้ใช้เป็นแนทางได้ดีพอสมควร

 

เพื่อไม่พลาด ข่าวสารต่างๆ คมชัดลึก ไปที่

 

Youtube - https://www.youtube.com/channel/UCnniqWGq9lOqYd5sGWxVi7w

 

LineToday - https://today.line.me/th/v2/publisher/100057

 

เช็กรายชื่อศิลปินเข้าชิง "คมชัดลึก ลูกทุ่ง Awards 2565" ใครคือ 6 Candidate กับ 8  สาขา Popular Vote  

https://www.komchadluek.net/entertainment/524524