ทหารราบ รบจนตัวตาย นายกฯ ไม่มีนิยามยุบสภา
พล.อ.ประยทธ์ ไม่ยุบสภา หลังประชุมเอเปค ยังไม่มีปัจจัย สุกงอมเพียงพอ ใครที่รอ ก็รอต่อไป ปีหน้าได้เลือกตั้งแน่
ทิศทางการเมืองไทยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22พฤศจิกายน มีปมท้าทายความสัมพันธุ์ พรรคร่วมรัฐบาล เริ่มจากการประชุม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. เพื่อพิจารณายกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับปลดกัญชาเสรีเพื่อปิดสภาวะสุญญากาศกัญชาเสรีทันทีในระหว่างรอการพิจารณากฎหมายกัญชาในวาระ 2-3
ท่าทีพรรคร่วมรัฐบาลต่อการพิจารณาร่างกฎหมายกัญชาของพรรคภูมิใจไทย เปลี่ยนไปจากขั้นหลักการชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ ทำให้หลายฝ่ายหมายมั่นว่ารัฐบาลจะล่มสลายก่อนวาระ อาจมีการยุบสภา หลังประชุมเอเปค
ย้อนดูประวัติการยุบสภา 13ครั้ง ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ของไทย พบว่ามีการยุบสภาที่เกิดจากความขัดแย้งภายในรัฐบาล 4ครั้ง คือรัฐบาลหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช เมื่อปี 2519 รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เมื่อปี 2523 รัฐบาล ชวน หลีกภัย ปี2538 และรัฐบาลบรรหาร ศิลปะอาชา ปี 2539
เหตุผลในการยุบสภา ไม่ได้มีบทบัญญัติไว้ชัดเจน แต่ให้เป็นไปตามประเพณีการปกครองตลอดจนสภาวการณ์ของประเทศในขณะนั้น เช่น เกิดความขัดแย้งรุนแรงในรัฐสภาหรือระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ใช้เป็นเครื่องมือในการชิงความได้เปรียบทางการเมือง ขณะที่รัฐบาลมีคะแนนนิยมสูง หรือสภาวการณ์ต่าง ๆ สุกงอมพอสมควรที่จะจัดให้มีการเลือกตั้งก่อนครบอายุสภาได้ ซึ่งไม่มีข้อไหน เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์
พรรคร่วมรัฐบาล ยังมีผลประโยชน์ร่วม ต้องประสาน เพื่อให้ผ่านการใช้งบประมาณ ให้นานที่สุด เพราะหากมีการยุบสภา รัฐบาลรักษาการ จะใช้งบประมาณได้อย่างจำกัด คะแนนนิยมก็ยังไม่มากพอที่จะการันตี การเลือกตั้งครั้งหน้า ขณะที่กฎหมายเลือกตั้ง ก็ยังต้องรอศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ปลายเดือนนี้
หลังศาลรัฐธรรมนูญ ชี้ชัด ว่าพล.อ.ประยุทธ์ จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญได้อีกเพียงสองปีกว่า ก็ชัดเจนว่า พลเอก ประยุทธ์ เหลือเวทีในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แค่ในสมัยนี้เท่านั้น การเลือกตั้งครั้งหน้า ยังไม่แน่ว่าจะถูกเสนอชื่อกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี หรือไม่ เป็นเหตุผลประการหนึ่ง ที่ทำให้การตัดสินใจยุบสภา ต้องไตร่ตรองมากกว่า ปกติ
อย่าลืมว่า พลเอก ประยุทธ์ เป็นทหารราบ นิยามของทหารราบคือ 'รบจนตัวตาย ' พลเอก ประยุทธ์ จึงจะยังคงอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป จนกว่าจะครบวาระ เป็นพยากรณ์ของ ธนพร ศรียากูล นายกสมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะอดีตที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี