คอลัมนิสต์

อนาคต 'การเมือง'ไทย ในกำมือของ 'องค์กรอิสระ'

อนาคต 'การเมือง'ไทย ในกำมือของ 'องค์กรอิสระ'

01 มิ.ย. 2566

กรณีหุ้น พิธา ทำอนาคตการเมืองไทย ตกอยู่ในกำมือของ'องค์กรอิสระ' อีกครั้ง ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งและศาลรัฐธรรมนูญ

เริ่มจาก กกต. ต้องรับรองสส. 95 % เป็นประตูบานแรก เพื่อเปิดประชุมสภา มีเวลา 60 วันหลังการเลือกตั้ง  โดยการร้องคัดค้านการเลือกตั้ง กระทำได้ ภายใน 30 วัน  หาก กกต.รับรองผลการเลือกตั้งเท่าที่กฎหมายกำหนด ตัวเลขอีก 5 % ที่เหลือซึ่งเป็นสส.เขต เท่ากับ 25 คน อาจมีผลในการเปลี่ยนแปลงลำดับพรรคการเมือง

ประการต่อมาที่ว่ากันว่าเป็นประเด็นร้อน คือคำร้องถือหุ้นสื่อ ของพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ซึ่งอาจถูกส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ในสามกรณี ขึ้นอยู่กับกกต.จะส่งตีความตามร้องของเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทั้งหมดหรือไม่ ประกอบด้วย

 

 

  • การขาดคุณสมบัติ สส. เพราะถือหุ้นสื่อขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 98 (3)
  • ขาดคุณสมบัตินายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (6)
  • ขาดคุณสมบัติ หัวหน้าพรรค ตามข้อบังคับพรรคก้าวไกล เอง

วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ไล่ตาม scenario สรุปสุดท้ายอาจต้องเลือกตั้งใหม่ทั้งประเทศ  เริ่มจาก หากขาดเฉพาะคุณสมบัติสส. ก็ยังเป็นนายกรัฐมนตรีได้

 

ขาดคุณสมบัติ นายกรัฐมนตรีด้วย อันนี้ก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะก้าวไกลมีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีคนเดียว

 

แต่หากขาดคุณสมบัติหัวหน้าพรรค  ตามข้อบังคับพรรคก้าวไกล  นี่เป็นเรื่องใหญ่กว่า เพราะพิธา เป็นคนเซ็นต์รับรองผู้สมัครสส. ของพรรคก้าวไกลมาตั้งแต่ต้น หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่ามีปัญหาจริง ก็อาจทำให้ต้องเลือกตั้งซ่อมกันทั้งประเทศ

 

มีความพยายามเทียบเคียงกรณีของพิธา กับ ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีตผู้สมัคร สส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ ถูกร้องถือหุ้นเอไอเอส  ที่ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ตัดสินให้คืนสิทธิเลือกตั้งให้ เจ้าตัวอธิบายว่าเนื้อหาคดีต่างกัน เนื่องจากบริษัทเอไอเอส ไม่ได้ทำธุรกิจสื่อโดยตรง เพียงแต่ไปลงทุนในบริษัทลูก ที่ทำเรื่องสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

 

จึงเท่ากับเป็นการถือหุ้นทางอ้อม แต่กรณีไอทีวียังไม่ได้บอกเลิกกิจการกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และพิธา ถือหุ้นโดยตรง