คอลัมนิสต์

เลื่อน 'โหวตนายกฯ' รอ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' วินิจฉัย หรือ รัฐบาลใหม่ ไม่ลงตัว

เลื่อน 'โหวตนายกฯ' รอ 'ศาลรัฐธรรมนูญ' วินิจฉัย หรือ รัฐบาลใหม่ ไม่ลงตัว

04 ส.ค. 2566

สามเดือนหลังเลือกตั้งประเทศไทย ยังไม่มีรัฐบาล หลังการ 'โหวตนายกฯ' สะดุด ล่าสุด ประธานรัฐสภาสั่งรอฟัง 'ศาลรัฐธรรมนูญ' ส.ค.นี้

ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการพิจารณา คำร้องเกี่ยวกับการโหวตนายกฯ ว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2563 ข้อ 41 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 272  เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ ของผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213   เพราะมีประเด็นสำคัญ ที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและมีประเด็นเชิงหลักการการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม จึงให้เลื่อนการพิจารณาสั่งคำร้องเป็นวันที่ 16 สิงหาคม  นี้

หลังพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ไม่ผ่านการโหวตนายกฯในรอบแรกเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา  ความพยายามเสนอชื่อ พิธา โหวตนายกฯรอบสอง ทำให้ต้องขอมติจากที่ประชุมร่วมรัฐสภาว่าข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ 41 ที่มีสาระสำคัญว่าญัตติ ที่มีหลักการเดิม ไม่สามารถเสนอซ้ำได้ในสมัยประชุมเดียวกัน ใช้กับโหวตนายกฯได้หรือไม่  ผลปรากฏว่าที่ประชุมรัฐสภาไม่อนุญาตให้เสนอซ้ำ จึงนำมาสู่การใช้สิทธิยื่นศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในที่สุด

 

แต่บทเฉพาะกาลรัฐธรรมนูญ กำหนดให้ภายใน5 ปีแรก นับแต่มีรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ นี้ ให้การโหวตนายกฯ กระทำในที่ประชุมรัฐสภา  ขณะที่สาระสำคัญข้อบังคับการประชุม ระบุว่าการเสนอเรื่องเข้าสู่ที่ประชุม เพื่อให้มีการลงมติ เป็นการเสนอญัตติ และในข้อบังคับการประชุมข้อ 36 ก็ระบุว่าญัตติที่ไม่ต้องเสนอล่วงหน้าเป็นหนังสือ ให้ผู้รับรองญัตติแสดงการรับรองโดยวิธียกมือขึ้นพ้นศีรษะ เว้นแต่ การรับรองการเสนอชื่อบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีตามข้อ136

 

สาระสำคัญ  รธน.ม. 3 วรรค 2

แต่ผู้ร้องซึ่งเป็นประชาชนที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อและแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง โดยเลือกพรรคก้าวไกลซึ่งมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์เป็นบุคคลเพียงรายชื่อเดียวที่พรรคก้าวไกลเสนอชื่อเป็นบุคคลซึ่งสมควรได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และผู้ร้องเรียนที่ 3 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคก้าวไกลเห็นว่าการที่รัฐสภามีมติ ดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของผู้ร้องเรียนทั้งสาม

 

สาระสำคัญ รธน. ม. 5

 

และขอให้กำหนดมาตรการหรือวิธีการชั่วคราวก่อนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญโดยให้มีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อนจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย  นี่เป็นเหตุผลที่ทำให้ประธานรัฐสภา ตัดสินใจเลื่อนการประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกฯครั้งที่ 3ออกไปก่อน จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจมีผลใน 3 แนวทาง ประกอบด้วย 1. ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องไว้พิจารณาและสั่งให้หยุดการโหวตนายกฯไว้ก่อนตามคำร้อง 2. ศาลรัฐธรรมนูญ รับคำร้องไว้พิจารณาแต่ไม่ได้สั่งหะลอโหวตนายกฯและ 3. ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับคำร้อง

 

สาระสำคัญ รธน. ม. 25 วรรค 3

 

ซึ่งหมายความว่า การใช้ดุลยพินิจประธานรัฐสภา ในการแก้ปัญหาข้อบังคับการประชุมชอบด้วยกฎหมายแล้ว ไม่กระทบสิทธิของผู้ร้องตามรัฐธรรมนูญ