GISTDA ใช้ดาวเทียมสำรวจ 'คาร์บอนเครดิต' ทดแทนแรงงานคน
GISTDA ใช้ดาวเทียมสำรวจ 'คาร์บอนเครดิต' ในป่า พื้นที่เกษตร ทดแทนแรงงานคนเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชน ผลักดันไทยบรรลุเป้าปี 2050 ลดการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ ให้เป็นศูนย์
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. และหน่วยงานความร่วมมือระดับนานาชาติ จัดสัมมนา Carbon Accounting: Observation from Space เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการลด ภาวะโลกร้อน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวปาฐกถาพิเศษ "นโยบายและการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไทยเพื่อบรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero GHG Emission ว่า ปัญหาโลกร้อนถือว่าเป็นปัญหากับประเทศไทยเช่นกัน ปลายประเทศได้ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหา รวมทั้งมีการตั้งคำถามต่อนักการเมืองว่าจะแก้ไขปัญหาไคเมทเชนอย่างไร โดยปัญหาโลกร้อนถูกกำหนดให้เป็นความเสี่ยงของโลก
โดยข้อมูลจาก คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ipcc)ระบุว่า หากในปี 2100 อุณหภูมิโลกเกิน1.5 องศาเซลเซียส จะทำให้เกิดควาเมสี่ยงนำเท่วม 100% น้ำทะเลจะสูงขึ้นกว่า 48 ซม. สำหรับระเทศไทยหากน้ำทะเลสูงขึ้นเกือบ 50 ซม.จะทำให้น้ำทะเลสูงไปจนถึง จ.สระบุรี เมื่อเกิการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศจะส่งผลความหลากหลายทางชีวภาพจะหายไปส่งผลให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss)
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ประเทศไทยปล่อยเรือนกระจกเป็นอันดับที่ 19 ของโลก แต่ในทางกลับกับไทยโดนผลกระทบทางธรรมชาติอันกับที่ 9 ของโลก 2654 ที่กลาสโกวได้แสดงเจตจำนงประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประเทศที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral)ในปี 2050 และจะเป็นประเทศ Net Zero GHG 2065
ด้านแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยมีอยู่หลานด้าน ไม่วาจะเป็นเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 50 % ในปี 2050 การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV)ด้วยการสนับสนุนด้านภาษีของภาครัฐ ส่งเสริมการใช้ปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็น CCUS ในอุตสาหกรรมซีเมนต์ การจัดการขยะและน้ำเสยในชุมชน รวมถึงน้ำเสียในอุตสาหกรรม ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากภาคเกษตรกรรม ส่งเสริมก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ รวมไปถึงการแนวทางการทำ "คาร์บอนเครดิต" ที่จะช่วยชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศได้
การวัดปริมาณ "คาร์บอนเครดิต" ในต้นไม้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องยากหากต้องใช้กำลังคนในการเข้าไปดำเนินการ ดังนั้น GISTDA จึงได้มีการคิดค้นและนำเทคโนโลยีเข้ามาเป็นตัวช่วยในการวัดปริมาณ "คาร์บอนเครดิต"
โดยดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้อำนวยการ GISTDA ในฐานะประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก (CEOS) กล่าวว่า GISTDA เห็นความสำคัญด้านความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมเพื่อการสำรวจการกักเก็บปริมาณ คาร์บอน ในพื้นที่ป่า พื้นที่เกษตร และพื้นที่อื่นๆ เพื่อแสดงให้เห็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการกักเก็บ คาร์บอน และเป็นการแสดงความพร้อมของประเทศไทย ที่จะใช้เทคโนโลยีอวกาศ เพื่อจัดการคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและประเทศ
ในความเป็นจริง การสำรวจพื้นที่ภาคสนามไม่สามารถใช้แรงงานคนวัดต้นไม้ได้ทุกต้น ดังนั้น การนำเทคโนโลยีจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศเข้ามาสนับสนุน จะทำให้สามารถจำแนกประเภทป่าไม้ และประเมินความหนาแน่นชั้นเรือนยอดต้นไม้จากแบบจำลองเชิงพื้นที่ เพื่อประเมินปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่า ได้อย่างถูกต้องเพียงพอกับการใช้งาน ซึ่งเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ อีกทั้งยังประหยัดเวลา แรงงานคนที่ต้องใช้ในการสำรวจภาคสนามและลดความผิดพลาดจากการสำรวจ
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจและวิเคราะห์เหล่านี้จะถูกรวบรวมเพื่อนำไปสู่การจัดทำบัญชีคาร์บอนให้กับประเทศไทยเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศได้แก่ หน่วยงานด้านพลังงาน หน่วยงานภาคกระบวนการอุตสาหกรรม หน่วยงานด้านการจัดการของเสีย หน่วยงานด้านการเกษตร หน่วยงานด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นต้น ต่อไป
ดร.ปกรณ์ กล่าวอีกว่า จากการประชุม CEOS Plenary 2022 ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลก หรือ CEOS ที่มีหน่วยงานด้านอวกาศระดับโลกเข้าร่วมที่สาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อปลายปีที่ผ่านมา GISTDA ในฐานะประธานคณะกรรมการดาวเทียมสำรวจโลกปี 2023 หรือ CEOS Chair 2023 ได้มอบนโยบายผลักดันประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการลดการปลดปล่อย คาร์บอน เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก โดยนำข้อมูลจากดาวเทียมและเทคนิคที่เกี่ยวข้องมาใช้เป็นเครื่องมือในการสำรวจและตรวจวัดการกักเก็บคาร์บอน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ แก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ UNFCCC
ปัจจุบัน หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญและใช้เทคโนโลยีจากดาวเทียมเพื่อสำรวจการกักเก็บคาร์บอนมานานแล้ว และมีการปรับปรุงพัฒนาเทคนิคใหม่ๆ ให้มีมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง การจัดทำบัญชีคาร์บอนให้กับประเทศไทย ถือเป็นความท้าทายไปอีกขั้นของพวกเราในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อการเฝ้าระวังและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้กับโลกใบนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและระบบเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต
ด้าน นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (ผอ.TGO) กล่าวว่า การประเมิน "คาร์บอนเครดิต" Carbon Credit ภาคป่าไม้ ในปัจจุบัน TGO ได้เปิดเป็นทางเลือกให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับดาวเทียมหลาย ๆ แบบ มาร่วมใช้ประเมินเนื้อไม้ที่เพิ่ม เปรียบเทียบกับ Baseline เดิมได้อย่างถูกต้องแม่นยำและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้นได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ขนาดใหญ่และมีรูปแบบของต้นไม้ใกล้เคียงกัน ที่สำคัญก่อนที่มีการเสนอใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อใช้ในการประเมินมีความจำเป็นที่ต้องสอบเทียบความถูกต้องกับวิธีมาตรฐานกลางตามวิธีการคำนวณตามมาตรฐานประเมิน "คาร์บอนเครดิต" Carbon Credit โดยใช้จำนวนตัวอย่างที่น่าเชื่อถือ และผ่านการเห็นชอบตามขั้นตอนที่กำหนดด้วย