สรรพสามิตออกมาตรการ 'ภาษีคาร์บอน' รถยนต์โดนก่อนเก็บตามอัตราปล่อยCo2
กรมสรรพสามิตมุ่งเป้า Net Zero ออกมาตรการ 'ภาษีคาร์บอน' รถยนต์โดนก่อนเก็บภาษีตามอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป้าหมายต่อไปภาษีพลังงาน
การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทราบถึงมาตรการ และทิศทางการเดินทางไปสู่ Net Zero และ Carbon neutrality เพื่อเกิดการปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกันนานาประเทศ เนื่องจากหลายประเทศเรื่องออกมาตรการ "ภาษีคาร์บอน" ออกมาและจะเริ่มบังคับใช้ในเร็วๆ นี้เป็นเรื่องสำคัญ โดย ฐานเศรษฐกิจ จัดงานสัมมนา ROAD TO NET ZERO โอกาส & ความท้าทายทางธุรกิจ เพราะหากประเทศไทยไม่เร่งปรับตัวก็จะไม่สามารถแข่งขัน หรือทำธุรกิจข้ามประเทศไทย
สำหรับมาตรการ "ภาษีคาร์บอน" ถือว่าเป็นเรื่องที่ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญ และมีการหารือมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้คอมมิทเมนต์ในการประชุมด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกเพื่อให้ประเทศไทยเดินไปสู่เป้าหมาย Net Zero แต่สิ่งสำคัญคือเรายังขาดการปฏิบัติที่ชัดเจน (Action) โดย ดร.เอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพสามิต ระบุเอาไว้ถึงมาตรการและแนวทางการจัดเก็บ ภาษีคาร์บอน เอาไว้ ว่า นโยบายขับเคลื่อนการเก็บ "ภาษีคาร์บอน" เป็นมาตรการที่มีการนำมาใช้ทั่วโลก ซึ่งมีทั้งมาตรการภาคบังคับและภาคสมัครใจ เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถเดินทางไปถึงจุดความเป็นกลางทางคาร์บอนได้ เพราะที่ผ่านมาเราเห็นตัวอย่างชัดเจนแล้วว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อประเทศไทยมากแค่ไหน และในปีนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับภาวะภัยแล้งที่รุนแรง โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออก ซึ่งจะเกิดความเสียหายจำนวนมาก
หลายประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับแนวทางการการขับเคลื่อนไปสู่ Net Zero และ Carbon neutrality อย่างเช่นในยุโรปที่มีการกำหนดมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก (CBAM) เพื่อจัดเก็บภาษีกับภาคอุตสาหกรรมที่ปล่อยคาร์บอน และก๊าซเรือนกระจกโดยไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อกำหนดมาตรการดังกล่าวออกมาแล้ว ยุโรปยังได้วางมาตรการเอาไว้สำหรับแก้ปัญหาการย้ายฐานการผลิตออกนอกประเทศ และส่งสินค้ากลับเข้ามาเพื่อเลี่ยงภาษีคาร์บอน ดังนั้นจึงมีการจัดเก็บภาษี CBAM
สำหรับการเก็บ "ภาษีคาร์บอน" เข้มพรมแดน โดยจะเริ่มเก็บ 1 ต.ค. 2566 ใน 7 กลุ่มสินค้า ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ไฮโดรเจน และสินค้าบางรายการ ซึ่งต้องเริ่มวัด "ภาษีคาร์บอน" เพื่อป้องกันการย้านฐานผลิตและส่งสินค้าเข้ามาในยุโรป และแน่นอนว่าอนาคตจะมีการขยายภาษีไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ อีกแน่นอน
ดร.เอกนิติ กล่าวว่า สำหรับมาตรการ "ภาษีคาร์บอน" ในประเทศไทยกรมสรรพสามิตรได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยเฉพาะการเก็บภาษีคาร์บอนกับรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนในปริมาณมาก ๆ จากข้อมูลระบุเอาไว้ว่า ประเทศไทยปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ราว 400 ล้านตันต่อปี โดย 70% มาจากภาคขนส่งและพลังงาน ภาษีสรรพสามิตเราเก็บทั้งภาคขนส่งและพลังงานแต่เราต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บให้เชื่อมโยงกับคาร์บอน ที่ผ่านมาเราเก็บภาษีรถยนต์ตามซีซี (CC) แต่ปัจจุบันเราเก็บตามคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อย ถ้ารถยนต์ปล่อย 100 กรัมต่อกิโลเมตร เก็บที่ 25% ถ้าปล่อย 150 กรัมต่อกิโลเมตร เก็บ 30% ถ้าปล่อย 200 กรัมต่อกิโลเมตร เก็บ 35% นี่คือภาษีสรรพสามิตที่เริ่มมาผูกกับคาร์บอน และเราจะเพิ่มอัตราไปเรื่อยๆตามการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ ส่วนรถ EV ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย เราเก็บที่ 8% แต่วันนี้กรรมสรรพาหรพยายามส่งเสริมให้ EV มีบทบาทมากขึ้น พร้อมกับลด "ภาษีคาร์บอน" ให้เหลือ 2%
“ก้าวต่อไปสำหรับมาตรการการไปสู่ Net Zero ของสรรพสามิต คือ การการทำภาษีพลังงาน โดยธุรกิจที่ทำในเรื่องของ Bio ธุรกิจสีเขียวจะมีการมาตรการลดภาษีให้ และหากมีการทำการค้าขายระหว่างก็จะสามารถนำมาตรการทางคาร์บอนจากสรรพสามิตไปหักลบได้ในอนาคต นับจากนี้สิ่งที่ภาคธุรกิจจะต้องเร่งดำเนินการคือการวัดปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นที่ปล่อยออกมาเพราะในปี 3 ปีข้างหน้าเราจะต้องยึดมาตรฐานของยุโรปเป็นหลักเท่านั้น” ดร.เอกนิติ กล่าวทิ้งท้าย