สังคมเข้มแข็ง

'CBAM' มาตรการคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน EU เริ่ม 1 ต.ค.ไทยต้องรู้อะไรบ้าง

'CBAM' มาตรการคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน EU เริ่ม 1 ต.ค.ไทยต้องรู้อะไรบ้าง

28 ก.ย. 2566

รู้จัก 'CBAM'มาตรการคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน EU กำแพงการค้าสีเขียวเริ่มใช้ 1 ต.ค. 2566 ไทยต้องรู้อะไรบ้าง และต้องเตรียมตัวอย่างไร

ภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ตัวกระตุ้นสำคัญที่ทำให้หลายประเทศทั่วโลกหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการออกกฎหมาย หรือ มาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ต่ำลง เพื่อที่จะกดอุณหภูมิของโลกเอาไว้ไม่ให้เกิดขึ้นไปถึง 1.5 องศาเซลเซียล  

การเปลี่ยนผ่านจากภาวะโลกร้อนเข้าสู่ภาวะโลกเดือดทำให้หลายประเทศเริ่มตระหนัก และเห็นความสำคัญมากยิ่งที่ที่จะออกมาตรการ กฎหมาย เพื่อมาเป็นกลไกลในการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสหภาพยุโรปที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ภายในปี 2573 และในปี 2593 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) เพื่อทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 5-2.0 องศาเซลเซียส  ดังนั้น EU จึงได้ประกาศมาตรการ "CBAM" ออกมาเพื่อคุมสินค้าข้ามพรมแดนไม่ให้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินไป มาตรการดังกล่ามกระทบมาถึงประเทศไทยด้วย ณ ตอนนี้เราก็ถึงเวลานับถอยหลังกันแล้ว เพราะวันที่ 1 ต.ค. 2566 จะเป็นวันแรกที่ EU จะเริ่มบังคับใช้กฎหมาย "CBAM"

สำหรับ "CBAM" คือ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism) หนึ่งในมาตรการสำคัญภายใต้ Fit For 55 ซึ่งสหภาพยุโรปได้ประกาศใช้ภายใต้นโยบาย the European Green deal พร้อมทั้งการบรรลุเป้าหมาย Net Zero Emissions ปี 2050  ล่าสุดเมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2566 รัฐสภายุโรปมีมติเห็นชอบร่างกฎหมาย CBAM โดยในช่วงแรกจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 – 31 ธ.ค. 2668 หรือ ที่เรียกว่าช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transitional period)

 

 

หลังจากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 เป็นต้นไปผู้นำเข้ามีหน้าที่ต้องรายงานข้อมูลปริมาณสินค้าที่นำเข้าและการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต (Embedded Emissions) และจะเริ่มบังคับให้ผู้นำเข้าต้องซื้อใบรับรอง CBAM (CBAM Certificate) ตามปริมาณจริงของการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิต ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2569 เป็นต้นไป 

 

 

สำหรับในช่วงเปลี่ยนผ่าน สหภาพยุโรปจะบังคับใช้มาตรการ "CBAM" กับสินค้า 6 กลุ่ม ได้แก่ 
1.เหล็กและเหล็กกล้า
2.อะลูมิเนียม 
3.ซีเมนต์ 
4.ปุ๋ย 
5.ไฟฟ้า 
6.ไฮโดรเจน (ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ปลายน้ำ บางรายการด้วยเช่น นอตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า และสายเคเบิลที่ทำจากอะลูมิเนียม) 

 

 

รวมถึงอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในอุตสาหกรรมเป้าหมายต้องอยู่ภายใต้มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน หรือ มาตรการ CBAM โดยสินค้านำเข้าของผู้ประกอบการส่งออกจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิก EU ที่มีราคาสูงกว่า 150 ยูโร อุตสาหกรรมเป้าจะต้องมีการรายงานปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจะพิจารณาบังคับใช้การคิดค่าธรรมเนียมคาร์บอน (CBAM Certificates) ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป หากการฝ่าฝืนไม่รายงานข้อมูล Embedded Emissions จากการนำเข้าสินค้า อาจมีโทษปรับระหว่าง 10 - 50 ยูโรต่อตันคาร์บอน

 

 

สำหรับข้อมูลการส่งออกจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศระบุว่า ในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยส่งออกสินค้าตามรายการ "CBAM" ไปยังสหภาพยุโรป เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 425.41 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 14,712.33 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.49 ของการส่งออกทั้งหมดของไทยไปยังสหภาพยุโรป 

 

 

ปัจจุบัน มีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรอง CFP จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) จำนวน 7,821 ผลิตภัณฑ์จาก 1,219 บริษัท (ปี 2556 มีเพียง 326 ผลิตภัณฑ์, 328 บริษัท) ในจำนวนนี้ หากพิจารณาเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่สถานะอยู่ในสัญญาจะมีเพียง 3,348 ผลิตภัณฑ์จาก 306 บริษัทเท่านั้น ซึ่งพบว่า สินค้ากลุ่มวัสดุก่อสร้างและผลิตภัณฑ์โลหะได้รับการรับรองมากที่สุด (1,288 ผลิตภัณฑ์ จาก 47 บริษัท) รองลงมาคือ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (783 ผลิตภัณฑ์ จาก 89 บริษัท) และกลุ่มพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ (200 ผลิตภัณฑ์ จาก 19 บริษัท)

 

 

ด้านความคิดเห็นจากกรรมสรรพสามิตเกี่ยวกับมาตรการ CBAM นั้นมองเป็นนโอกาส เพราะ EU ได้มีการออกมาตรการดังกล่าวและมีช่วงระยะเวลาของการเปลี่ยนผ่านคือนับตั้งแต่ 1 ต.ค. 2566 เป็นต้นไปอีก 3 ปี ทำให้ผู้ประกอบ ภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทยมีช่วงให้เตรียมความพร้อม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่นำเข้า หรือ ส่งออกสินค้าควบคุมปริมาณก๊าซเรือนกระจกใน 6 กลุ่มสินค้า  เพราะในช่วงเปลี่ยนผ่านจะเป็นแค่ช่วงให้รายงานข้อมูลเท่านั้น ผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรในประเทศไทยยังไม่ต้องเสียเงิน หรือถูกคิดว่าธรรมเนียม "CBAM"  

 

 

อย่างไรก็ตามกรรมสรรพสามิต เชื่อว่ามาตรการ "CBAM" จะมีมาตรการบังคับ และครอบคลุมไปถึงอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ๆแน่นอน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการย้ายฐานการผลิตไปประเทศที่ 3 ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจะต้องเตรียมตัวไว้ก่อน เพราะหากไม่เริ่มทำรายงานการปล่อยคาร์บอน และไม่สามารถส่งข้อมูลให้คู่ค้าได้จะทำให้คู่ค้ามองว่าผู้ประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมรายอื่น ๆ ซึ่งจะส่งผลให้ไทยสูญเสียโอกาสทางการค้าได้อย่างง่ายดาย