วันนี้ในอดีต

10 ม.ค. 2419  รำลึก น.ม.ส.  กวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์

10 ม.ค. 2419 รำลึก น.ม.ส. กวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์

10 ม.ค. 2561

พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ทรงเป็นกวีเอกรัตนโกสินทร์ มิได้เกินเลยจากความเป็นจริง เพราะพระองค์ทรงประพันธ์ผลงานพระนิพนธ์ไว้มากมาย ทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว

                ถ้าเอ่ยชื่อ น.ม.ส. เด็กไทยจะคุ้นเคยกันดี เพราะเป็นนามปากกาของกวีท่านหนึ่ง ที่ ได้สร้างสรรค์ผลงานเขียนไว้มากมาย และทรงคุณค่า

                หากแต่ใครจะรู้บ้างว่า น.ม.ส.นั้นคือนามแฝงของ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส หรือ พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ที่คนไทยคุ้ยเคยชื่อนี้เป็นอย่างดี

                วันนี้เมื่อ 141 ปีก่อน หรือ วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2419 เป็นวันประสูติของพระองค์ ซึ่งเป็นพระโอรสใน กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ จอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) 

 

10 ม.ค. 2419  รำลึก น.ม.ส.  กวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์

 

                นอกจากนี้ยังทรงมีพระเชษฐภคินีหนึ่งพระองค์ คือ พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัททาวดีศรีราชธิดา (พ.ศ. 2414 - 2442)

                พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก จนเมื่อชันษา 5 ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. 2429 และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. 2436 จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ 16 ปี

                กระทั่งได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

                ต่อมา วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2432 ทรงผนวชเป็นสามเณร โดยมีพระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระเมธาธรรมรส (อ่อน อหึสโก) เป็นพระศีลาจารย์

                เมื่อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. 2440 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย จากนั้น ทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา 2 ปี กระทั่งเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2442 และปีเดียวกัน ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี

                ต่อมาปี พ.ศ. 2444 ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์

                วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส เป็นองคมนตรี และในวันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2456 ทรงสถาปนาเป็นพระราชวรวงษ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

                มาถึงรัชสมัยต่อมา ช่วงปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"

                นอกจากนี้ พระองค์ยังเป็นผู้ที่ทรงดำริให้จัดสร้างสหกรณ์วัดจันทร์ สหกรณ์แห่งแรกของไทยอีกด้วย และยังเป็นผู้ตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2470

                พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ได้ทำพิธีอาวาหะมงคล กับ คุณพัฒน์ บุนนาค บุตรี เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ และท่านผู้หญิงเปลี่ยน เมื่อ พ.ศ. 2444 ทรงมีพระโอรสธิดา คือ หม่อมเจ้าจันทร์เจริญศิริ รัชนี, ท่านหญิงศะศิเพลินพัฒนา บุนนาค, หม่อมเจ้าจันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี, หม่อมเจ้ารัชนีพัฒน์พิทยาลงกรณ์ รัชนี, ท่านหญิงศะศิธรพัฒนวดี บุนนาค, หม่อมเจ้าจันทร์พัฒน์โมลีจุฑาพงศ์ รัชนี

                จนเมื่อเมื่อหม่อมพัฒน์ อนิจกรรมแล้ว ทรงเสกสมรสใหม่ กับหม่อมเจ้าหญิง พรพิมลพรรณ วรวรรณ พระธิดาของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์เมื่อ พ.ศ. 2462 

 

10 ม.ค. 2419  รำลึก น.ม.ส.  กวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์

         มีพระโอรส-ธิดา ที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดี คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต และ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี

10 ม.ค. 2419  รำลึก น.ม.ส.  กวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์

                อย่างไรก็ดี อย่างที่เกริ่นว่า พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส ทรงเป็นกวีเอกรัตนโกสินทร์นั้น มิได้เกินเลยจากความเป็นจริงเพราะพระองค์ทรงประพันธ์ผลงานพระนิพนธ์ไว้มากมาย ทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว

                การที่ทรงใช้พระนามแฝงว่า "น.ม.ส." นั้นก็ย่อมาจากตัวอักษรท้ายพระนามเดิม รัชนี แจ่ม จรัส

                 ทรงมีผลงานตีพิมพ์ (บางส่วน) เช่น พ.ศ. 2447 - สงครามญี่ปุ่น กับ รัสเซีย 2 เล่ม, พ.ศ. 2448 - จดหมายจางวางหร่ำ ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์รายเดือน "ทวีปัญญา" ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พ.ศ. 2453 – สืบราชสมบัติ ,พ.ศ. 2459 - พระนลคำฉันท์ และ ตลาดเงินตรา

                พ.ศ. 2461 - นิทานเวตาล พิมพ์ครั้งแรก เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมพัฒน์ รัชนี, พ.ศ. 2465 – กนกนคร พ.ศ. 2467 – ความนึกในฤดูหนาว พ.ศ. 2469 - ปาฐกถา เล่ม 1 พิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม พ.ศ. 2472 - ปาฐกถา เล่ม 2 พ.ศ. 2473 - ประมวญนิทาน น.ม.ส. รวบรวมจากหนังสือ ลักวิทยาและทวีปัญญา พ.ศ. 2474 - เห่เรือ ทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระราชพิธีทรงเปิดสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2475

 

10 ม.ค. 2419  รำลึก น.ม.ส.  กวีเอกแห่งรัตนโกสินทร์

                พ.ศ. 2474 - บทร้อง"อโหกุมาร" - ทรงนิพนธ์ด้วยสยามวิเชียรฉันท์8 ประทานให้เป็นบทร้องประจำโรงเรียนเทพศิรินทร์ พ.ศ. 2473 – กลอนและนักกลอน พ.ศ. 2474 – คำทำนาย พ.ศ. 2477 – เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ พ.ศ. 2480 – เสภาสภา พ.ศ. 2481 – ปฤษาณาเถลิงศก (ไม่ทราบปีที่พิมพ์ แต่ทรงนิพนธ์ช่วงก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2) - ยุคกลางในยุโรป หรือ นิทานชาลมาญ

                พ.ศ. 2487 - สามกรุง - พระนิพนธ์สุดท้ายในกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ขณะนั้นพระองค์ประชวรต้อกระจก ทรงให้ หม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต (พระธิดาในกรม) จดตามคำบอกของพระองค์

                หากแต่ภายหลังทรงสิ้นพระชนฆ์ ด้วยความสงบ ประดุจบรรทมหลับ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เวลา 15.30 นาฬิกา สิริพระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน

                ทั้งหมดนี้ล้วนทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ และมีความหมายยิ่งสำหรับคนไทย สมเป็นอัจฉริยกวีศรีรัตนโกสินทร์โดยแท้!!