วันนี้ในอดีต

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

31 ต.ค. 2561

เหตุใด คนที่ควรจะเป็นผู้ปกป้อง กลับกลายมาเป็นผู้ทำร้าย ยมทูตสีดำมันถูกปล่อยออกจากลำกล้องด้วยแรงโกรธแค้นของผู้ยิง

          ห่ากระสุนที่รัวมากว่า 30 นัดชุดนี้ มันคือใบสั่งว่าต้องตายเท่านั้น!! สำหรับ อินทิรา คานธี สตรีผู้เป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดียหลายสมัย

          แต่ที่มากไปกว่านั้น คือ ยมทูตสีดำมันถูกปล่อยออกจากลำกล้องด้วยแรงโกรธแค้นของผู้ยิง ซึ่งเป็นองค์รักษ์ของเธอเอง ที่บ้านพักของเธอเอง!!

          ร่างของเธอล้มลงระหว่างทางเดินในส่วนที่ทำเนียบหรือบ้านพักของเธอ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.. 2527 หรือวันนี้ของ 34 ปีก่อน

          อินทิรา คานธี ถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ในวัย 67 ปี

          ถามว่าเหตุใด คนที่ควรจะเป็นผู้ปกป้อง กลับกลายมาเป็นผู้ทำร้าย

          คำตอบ คือ ฉากหลังที่เป็นเรื่องราวของความขัดแย้งเรื่องการแบ่งแยกดินแดนของชาวซิกข์ ที่นำไปสู่คำสั่งให้โจมตีวิหารทองคำ “หริมันดีร์” (Harimandir) ที่มั่นและศูนย์รวมใจของชาวซิกข์

          และแน่นอน สิ่งนี้ทำให้ชาวซิกข์สูญเสียชีวิตนับพัน และนำมาสู่การโกรธแค้นชิงชังนางอินทิรา คานธี และต้องดำเนินการล้างแค้นในท้ายที่สุด      

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

อินทิราวัยสาว

          ถึงวันนี้ แม้นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก และคนเดียวของอินเดียคนนี้จะจากไปนานมากแล้ว

          แต่ชื่อของเธอ ยังคงถูกจารึก และกล่าวถึงในฐานะของสตรีทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งของโลก แถมยังคงเป็นผู้นำที่อยู่ในหัวใจของชนอินเดียไม่เสื่อมคลาย

          นางอินทิรา คานธี (Indira Gandhi) เดิมมีชื่อว่า อินทิรา ปรียาทาสินี เนรูห์ (Indira Priyadarsini Gandhi) เกิดเมื่อวันที่ 19 ..2460ในครอบครัวการเมืองชั้นนำของประเทศ

          โดยเป็นธิดาคนเดียวของ เยาวหราล เนห์รู อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย นับแต่ได้เอกราชจากอังกฤษ และ นางกมลา เนห์รู

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

          ด้วยสายเลือดที่เข้มข้น จึงไม่แปลกที่ นางอินทิรา จะเติบโตท่ามกลางการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย และภายหลังยังก้าวขึ้นมามีอำนาจในอินเดีย

           จนท้ายที่สุดได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอินเดีย ปฏิบัติหน้าที่ จนได้ชื่อว่าเป็นผู้นำที่อุทิศตัวเพื่อความก้าวหน้าของประเทศในท่ามกลางปัญหาต่างๆ ที่รุมเร้าโดยไม่หวาดหวั่น

          นางอินทิรา สำเร็จการศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวะ-ภาระตี ที่รัฐเบงกอล และไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยในอ็อกฟอร์ด ช่วงปี 2481ขณะอายุเพียง 21 ปี

          ต่อมาขณะมีอายุ 28 ปี อินทิราได้สมรสกับ เฟโรเซ คานธี จึงเป็นที่มาของนามสกุลคานธี

          แต่หลังจากนั้นไม่นาน นางอินทิรา คานธี และสามีถูกจับในข้อหาล้มล้างจักรวรรดิอังกฤษ และถูกจำคุก 13 เดือน

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

อินทิรากับ เฟโรเซ คานธี

          ขณะที่ภายหลัง นางยังได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคคองเกรสแห่งชาติอินเดีย (Indian National Congress หรือ INC)

             โดยพรรคนี้เป็นพรรคการเมืองพรรคแรกในอินเดีย เธอเข้าร่วมเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชให้อินเดีย โดยได้รับเลือกให้เป็นประธานฝ่ายยุวชนในปี 2499

          ต่อมา ในปี 2502 นางอินทิรา คานธี ได้กลายเป็นสตรีคนที่ 4 ที่ได้รับเลือกให้เป็นประธานพรรค และได้รับเลือกเข้าสภาแทนเก้าอี้ของบิดาที่ถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อปี 2507

             พร้อมๆ กับที่นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นคือ นายลาล บาหะดูร์ ศาสตรี ก็ได้แต่งตั้งให้ นางอินทิรา คานธี เป็นรัฐมนตรีข่าวสารและการกระจายเสียง

          อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านั้น ราวปี 2503 สามีของเธอ เฟโรเซ คานธี ก็ได้เสียชีวิตไปก่อน

          โดยมีข้อมูลระบุว่า ชีวิตคู่ของคนทั้งสองระหองระแหงกันมาเนิ่นนานแล้ว ทั้งๆ ที่มีบุตรชายด้วยกันถึง 2 คน คือ ราจีฟ และ สัญชัย คานธี

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

          อย่างไรก็ดี บางคนอาจคิดว่า นางอินทิราเป็นทายาทของ มหาตมะ คานธี แต่ในความเป็นจริงทั้งสองไม่ได้ข้องเกี่ยวโดยตรงกันทางสายเลือด

           แต่นางอินทิราก็รู้จักคุ้นเคยกับ มหาตมะ คานธี เป็นอย่างดี เพราะต่างก็อยู่ท่ามกลางการต่อสู้ เพื่อเรียกร้องอิสรภาพให้อินเดียในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันนั่นเอง

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

นางอินทิรา กับ มหาตมะ คานธี

          กล่าวสำหรับฐานะความเป็นรัฐมนตรีาวสารและการกระจายเสียง ปรากฏว่านางอินทิราเริ่มมีบทบาทอย่างมาก

          โดยเฉพาะในการส่งเสริมโครงการวางแผนครอบครัว ถือเป็นผลงานสำคัญ

          และในที่สุด เส้นทางชีวิตที่เติบโตยิ่งขึ้นของนางอินทิรา เกิดขึ้นหลังจากนายกรัฐมนตรี ศาสตรี ถึงแก่อสัญกรรม ในปี 2509 นางอินทิราก็ได้รับหน้าที่เป็น “นายกรัฐมนตรี” แทน คล้ายๆในลักษณะของ “รักษาการ”

          จนกระทั่งในวัย 50 มาถึงการเลือกตั้ง ในปี 2510 นางอินทิรา คานธี ก็ยังได้นั่งเก้าอี้นายกรัฐมนตรีต่อเนื่อง และคราวนี้เธอเป็นตัวจริง!!

            เพราะเธอได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง และได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย

          ผ่านไปสมัยแรก ทุกอย่างยังคงเป็นไปอย่างสวยงาม ที่สุดเมื่อถึงการเลือกตั้งในปี 2514 นางก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกฯ อีกครั้ง ด้วยสโลแกนหาเสียง คือ "การิบี ฮาเทา" หรือ "ขจัดความยากจน"

          ส่งให้ภาพของนางอินทิรา เวลานั้น จึงเสมือนแม่พระของคนจน และคนไร้โอกาส แถมยังทำให้อินเดียชนะสงครามกับปากีสถาน และปลดปล่อยบังกลาเทศได้ในปีนั้นเอง

          นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้ริเริ่ม “การปฏิวัติสีเขียว” เพื่อรับประกันความมั่นคงทางอาหารให้แก่อินเดีย

           มีการดึงธนาคารเข้ามาเป็นรัฐวิสาหกิจ เพื่อลดผลกระทบของอินเดียที่มีต่อภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลก

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

          รวมทั้งยุบรวมรัฐอินเดียเก่าๆ ที่ไม่ได้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอินเดีย

           พร้อมนำอินเดียเข้าร่วมสมาชิกประเทศที่มีนิวเคลียร์ไว้ในครอบครอง

           โดยในส่วนงานด้านระหว่างประเทศ อินทิราเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและแข็งแกร่งผู้กล้าต่อกรกับสหรัฐอเมริกา

          แต่ในขณะเดียวกัน ยุคของเธอก็ทำให้อินเดียตกอยู่ในช่วงเวลาแห่งการใช้กฎหมายอย่างทารุณ และการบริหารประเทศอย่างเข้มงวด

          จนทำให้การบริหารบ้านเมืองและเศรษฐกิจของ ประเทศเป็นไปอย่างลำบาก

         ส่งผลทำให้ภาพของเธอสำหรับคนอีกกลุ่มกลับเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม

          ว่ากันว่าเธอได้ ปลดปล่อย "ยุคเอเมอเจนซี" หรือยุคมืดที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองของอินเดีย

           เวลานั้น นักการเมืองฝ่ายค้านถูกไล่สังหารอย่างโหดร้าย ฝ่ายตรงข้ามถูกจำคุก และเสรีภาพสื่อตกอยู่ในภาวะถูกปิดกั้นอย่างสมบูรณ์นานถึง 19 เดือน

          มัลโหตร นักชีวประวัติ ยังอธิบายยุคเอเมอเจนซีว่าเป็น 1 ในบาป 7 ประการของนางอินทิรา

          แต่ก็ยอมรับว่า ด้วยเวลาที่ผ่านไป ความโกรธแค้นที่มีต่อยุคมืดในครั้งนั้นก็ลดน้อยลงไปมาก

          ต่อมา ด้วยความไม่แน่นอนของการเมือง ต่อมาบรรดา ส.. ได้ลงมติโหวตอินทิราออกจากตำแหน่งเมื่อปี 2520 ในการเลือกตั้งครั้งแรกหลังยุคเอเมอเจนซี

          แต่น่าประหลาดใจที่ สุดท้าย ประชาชนก็เลือกเธอกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในปี 2523

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

อินทิราอุ้มหลาน

          แต่คราวนี้ อินทิรามีบทเรียนแล้ว จึงวางรากฐานการเมืองเข้มแข็งโดย สนับสนุนลูกชายคนเล็ก สัญชัย คานธี เข้ามาเป็นสมาชิกพรรค

          หากโชคร้ายที่สัญชัยเสีย ได้ชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในปี 2523

          อินทิรา จึงหันมาทางบุตรชายคนโต อย่าง “ราจีฟ คานธี” ที่กลายเป็นความหวังของตระกูลในการสืบทอดอำนาจทางการเมืองทันที

          ทั้งๆ ที่เขานั้นไม่เคยคิดอยากจะลงทำงานการเมืองเลย โดยไปประกอบอาชีพเป็นนักบินอยู่ก่อนหน้านั้น

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

ราจีฟ คานธี

          อย่างไรก็ตาม ขณะที่ราจีฟ คานธี กำลังแต่งเนื้อแต่งตัวเตรียมที่จะลงเลือกตั้ง ตามความต้องการของมารดาและพลพรรค

          ปรากฏว่า ก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันในวันที่ 31 ตุลาคม 2527 เมื่อหนึ่งในองครักษ์ส่วนตัวของนางอินทิรา ซึ่งเป็นชาวซิกข์ได้จ่อยิงเธอจนเสียชีวิตคาบ้านพัก

          อันเป็นผลจากความต้องการแก้แค้นที่เธอเป็นผู้สั่งการให้ทหารอินเดียเปิดฉากต่อสู้ที่วิหารทองคำ วิหารศักดิ์สิทธิ์ของชาวซิกข์ เพื่อขับไล่กลุ่มติดอาวุธชาวซิกข์ที่ใช้วิหารศักดิ์สิทธิ์เป็นที่มั่น

          กระสุนกว่า 30 นัด ที่รัวเข้าใส่สตรีเหล็ก ชนิดที่พรุนไปทั้งร่าง  ทำให้นางอินทิราเสียชีวิตแทบจะทันที ระหว่างนำส่งโรงพยาบาล

          โดยที่เธอมิอาจรู้เลยว่า บุตรชายของเธอ ซึ่งเธอคงคาดหวังว่าเขาจะสามารถเดินหน้าต่อไปแทนตนเอง ในฐานะผู้นำอินเดีย ก็ต้องมาจบชีวิตตามเธอไปในอีก 7 ปีต่อมา

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

ทางเดินที่นางอินทิราถูกสังหารจนเสียชีวิต

        

         ต้องบอกว่า การเมืองอินเดีย ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นคาวเลือด เพราะหลังการเสียชีวิตของอินทิรา ก็ได้เกิดเหตุจลาจลทางเชื้อชาติครั้งใหญ่เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน แทบจะเป็นสงครามกลางเมือง

          เมื่อชาวกรุงนิวเดลีที่รักนางอินทิรา และโกรธแค้นในการกระทำนี้ ได้พากันออกมาไล่ล่าฆ่าฟันชาวซิกข์ในเมืองหลวงจนเสียชีวิตจำนวนหลายพันศพ และยังมีอีกไม่น้อยกว่า 4,000 ศพ ในเมืองต่างๆ รอบนอก

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

ราจีฟกับประชาชนในปี 2532

         แถมต่อมา ขณะที่ทายาทของเธอ “ราจีฟ” จะได้นั่งเก้าอี้นายกฯ แทนมารดาทันทีในปีเดียวกับที่มารดาเสียชีวิต แต่แล้ว ช่วงปี 2534 ขณะที่เขากำลังรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งซ่อม ใกล้เมืองเจนไน

          เขาก็ถูกสังหารโดยมือระเบิดพลีชีพ ที่เป็นสตรีชาวศรีลังกา สมาชิกของกองทัพพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีแลม ซึ่งไม่พอใจนโยบายของคานธี ที่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพของอินเดีย เข้าไกล่เกลี่ยสงครามกลางเมืองในศรีลังกา นั่นเอง

          ราจีฟ เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 47 แน่นอนว่า มาถึงวันนี้แล้ว...ก็ยังมิอาจคิดแทนคนในครอบครัวคานธีได้ว่า ถ้าเลือกได้ พวกเขาจะโลดแล่นในถนนการเมืองหรือไม่

          แต่ที่แน่ๆ สำหรับชาวอินเดียส่วนใหญ่ อดีตนายกฯ หญิง ที่ชื่อ อินทิรา คานธี ก็ยังนับเป็นบุคคลสำคัญที่ทุกคนจะต้องเอ่ยถึงหากถามว่าชื่นชอบและนิยมผู้นำคนไหนที่สุด

รัวกระหน่ำ!! อินทิรา คานธี สิ้นใจจากน้ำมือองค์รักษ์ตัวเอง

          อนึ่ง หากใครมีโอกาสไปเยือนแดนภารตะ และได้ไปเยี่ยมชมบ้านพักของเธอในกรุงเดลี ที่ได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นอนุสรณ์สถาน ก็จะได้พบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ในห้องแต่ละห้อง ที่เต็มไปด้วยภาพถ่าย และรางวัล

          รวมทั้งชุดส่าหรีเปื้อนเลือดสีคล้ำ ที่เธอสวมใส่ในวันสุดท้ายของชีวิตอีกด้วย!!

////////////////

เครดิต

http://en.wikipedia.org/wiki/Indira_Gandhi

https://en.wikipedia.org/wiki/Rajiv_Gandhi

http://www.famous-india.com/people-in-india/indira-gandhi.html

http://www.hiclasssociety.com/?p=20305