วันนี้ในอดีต

24 ธ.ค.2483 ไทยประกาศให้ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่

24 ธ.ค. 2561

จริงๆ แล้ว กว่าที่คนไทยจะมีวันขึ้นปีใหม่แบบสากลคือวันที่ 1 มกราคมนั้น วันขึ้นปีใหม่ของเรามีการกำหนดเปลี่ยนมาหลายครั้ง

          เด็กรุ่นหลังอาจเข้าใจว่า วันขึ้นปีใหม่ของไทยเป็นมาตามอย่างสากลมานานแล้ว คือนับเอาวันที่ 1 มกราคม ของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่

          หรือบางคนรู้มากขึ้นมาอีกนิดว่า วันขึ้นปีใหม่ของไทยนั้น แต่เดิมคือวันสงกรานต์

 

24 ธ.ค.2483  ไทยประกาศให้ 1 มกราคม  เป็นวันขึ้นปีใหม่

          แต่จริงๆ แล้ว กว่าที่คนไทยจะมีวันขึ้นปีใหม่แบบสากลคือวันที่ 1 มกราคมนั้น วันขึ้นปีใหม่ของเรามีการกำหนดเปลี่ยนมาหลายครั้ง ก่อนจะมาถึงวันนี้เมื่อ 78 ปีก่อนที่รัฐบาลไทยได้กำนดเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไปเป็นตามแบบอย่างสากลนั่นแหละ!

          ย้อนเหตุการณ์เพื่อไม่ให้ “งงเด้” ไปมากกว่านี้ กล่าวคือ แต่ไหนแต่ไรมาในโบราณ ประเทศสยามเราได้กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย โดยคำว่าเดือนอ้าย หมายถึงเดือน 1 หากนับตามปฏิทินจันทรคติไทย มักจะเริ่มในเดือนพฤศจิกายน หรือ ธันวาคม เพื่อให้สอดคล้องกับคติทางศาสนาที่ถือให้ช่วงเหมันต์ หรือฤดูหนาว เป็นการเริ่มต้นปีนั่นเอง

          แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไปจึงมีการกำหนดให้วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งตรงกับช่วงวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่

          จนกระทั่งในปี 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ได้กำหนดใหม่ให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่แทน เนื่องจากวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นการนับตามจันทรคติ และในแต่ละปีก็มีกำหนดวันไม่แน่นอน ทำให้ชาวบ้านเกิดความสับสน ประกอบกับราชการนิยมใช้หลักตามสุริยคติ

 

24 ธ.ค.2483  ไทยประกาศให้ 1 มกราคม  เป็นวันขึ้นปีใหม่

          เวลาผ่านมาเนิ่นนาน กระทั่งเมืองไทยมีนากยรัฐมนตรีชื่อ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่ได้ปรับเปลี่ยนอีกครั้ง โดยประกาศให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เป็นสากลและสอดคล้องกับนานาอารยประเทศ โดยคำประกาศนี้มีขึ้นในวันที่ 24 ธันวาคม 2483 หรือวันนี้ในอดีตนั่นเอง

          ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนนี้ได้มีพระบรมราชโองการให้ตราพระราชบัญญัติปีประดิทิน ปี 2483 ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ประกาศให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันขึ้นปีใหม่ โดยมีจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ ซึ่งมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2483 เพื่อให้ทัดเทียมนานาประเทศและเป็นสากล โดยมีเหตุผลสำคัญ 4 ประการ คือ

24 ธ.ค.2483  ไทยประกาศให้ 1 มกราคม  เป็นวันขึ้นปีใหม่

24 ธ.ค.2483  ไทยประกาศให้ 1 มกราคม  เป็นวันขึ้นปีใหม่

24 ธ.ค.2483  ไทยประกาศให้ 1 มกราคม  เป็นวันขึ้นปีใหม่

          1. เป็นการไม่ขัดกับหลักพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ

          2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมศาสนาพุทธ

          3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก

          4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

          และจากประกาศดังกล่าวทำให้ตั้งแต่นั้นมา ประเทศไทยได้ถือเอาวันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันเฉลิมฉลองส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่จวบจนปัจจุบัน

 

24 ธ.ค.2483  ไทยประกาศให้ 1 มกราคม  เป็นวันขึ้นปีใหม่

สวสัดีปีใหม่มายังผู้อ่าน ไว้ ณ ที่นี้

/////////////////