9 ก.ย. 2531 เครื่องเวียดนามตกลำลูกกา สิ้น 2 บุคคลสำคัญ
วันนี้เมื่อ 31 ปีก่อน
เหตุสลดนี้ หลายคนอาจลืมไปแล้ว แต่ในบันทึก คือหลักฐานที่ย้ำเตือนเราเสมอว่า อุบัติเหตุเกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะสาเหตุการตกของเครื่องลำนี้ ที่สุดแท้จะควบคุม
นั่นคือเหตุโศกนาฎกรรมสุดช้อค ที่เกิดขึ้นเมื่อวันนี้ของ 31 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 9 กันยายน 2531 เมื่อเครื่องบินตูโปเลฟ 131 ของสายการบินแอร์เวียดนาม ตกที่ อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 76 คน รวมทั้งรัฐมนตรีของเวียดนาม Dang Hoi Xuan วัย 59 และนักการทูตชาวอินเดีย Arun Patwardhan วัย 48 พร้อมภรรยา และบุตรชายวัย 17 ปี รวมถึง เจ้าหน้าที่สถานที่ทูตอีก 7 ชีวิต
สำหรับ เวียดนามแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 831 เป็นอุบัติเหตุเครื่องบินตกในประเทศไทย โดยสายการบินสัญชาติเวียดนาม "ฮาง คอง" ปัจจุบันคือ เวียดนามแอร์ไลน์
เครื่องรุ่นใกล้เคียงกัน
วันนั้น เครื่องมรณะลำนี้ได้นำผู้โดยสารบินจากฮานอย ไปยังกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2531 ด้วยเครื่องบินตูโปเลฟตั้งแต่เวลาราวๆ 04.37 น. เครื่องบินเป็รแบบ TU-134A เครื่องหมาย สัญชาติและทะเบียน VN-A102 เที่ยวบินที่ HVN 831 ของสายการบินเวียดนาม
แต่ขณะเครื่องลดระดับลงจอด เวลานั้นมีฝนตกหนัก และทัศนวิสัยไม่ดี และมีรายงานว่าเครื่องถูกฟ้าผ่า นักบินลดระดับความสูงไม่ถูกต้อง นำเครื่องลงผิดเป้าหมาย
ที่สุดจึงตกลงในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ใกล้กับหมู่บ้านเสมาฟ้าครามเมื่อเวลา 11.37 น. ห่างจากสนามบิน 6 กิโลเมตร
ภาพจาก http://ttvno.com
ทั้งนี้ พื้นที่ที่ตก เป็นท้องนา ห่างจากหัวทางวิ่ง 21R ประมาณ 3.25 ไมล์ทะเล แต่บางแหล่งระบุว่า ตกลงไปในบ่อน้ำหมูบ้านลำสามแก้ม
โดยเป็นการตกลักษณะกระแทกกับพื้นเต็มแรง และเกิดเพลิงลุกไหม้ขึ้นทันที เหตุการณ์นี้ มีผู้เสียชีวิต 76 คน มีผู้รอดชีวิต 6 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิต มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม และเอกอัครราชทูตอินเดียประจำเวียดนาม รวมอยู่ด้วย
ภาพจาก https://wikivisually.com/wiki/Vietnam_Airlines_Flight_831
สำหรับเครื่อง ตูโปเลฟ (Туполев) นั้น เป็นบริษัทผลิตอากาศยานและยุทโธปกรณ์ของรัสเซีย เดิมคือสำนักงานออกแบบตูโปเลฟ โอเคบี (โอเคบี-156) ควบคุมโดย อันเดรย์ ตูโปเลฟ วิศวกรอากาศยานชาวรัสเซีย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงมอสโก
ทั้งนี้รัฐบาลรัสเซียกำลังจำควบรวมกิจการของตูโปเลฟ เข้ากับ มิโกยัน, อิลยูชิน, อิรคุต, ซุคฮอย และยาคาฟเลฟ เป็นรัฐวิสาหกิจเดียวกันที่ชื่อว่า โอเอเค (Объединённая авиастроительная корпорация) ก่อนที่แปรรูปเป็นบริษัทมหาชน
และแน่นอนด้วยเหตุที่มีบุคลสำคัญระดับประเทศเสียชีวิตในเที่ยวบินนั้น คณะกรรมการสอบสวนกรณีอันเกี่ยวกับอุบัติเหตุของอากาศยานในราชอาณาจักร แห่งประเทศไทย ได้รับแจ้งข่าวอุบัติเหตุในทันทีที่เกิดเหตุและเริ่มทําการสอบสวนในตอนบ่ายของวันเดียวกัน
ผู้แทนการสอบสวนฯ (Accredited Representatives) และที่ปรึกษา (Advisers) จากประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เป็นรัฐเจ้าของทะเบียน และประเทศสหภาพสาธารณรัฐสังคมนยมโซเวียต ผู้สร้างอากาศยาน ได้เข้ามีส่วนร่วมในการสอบสวนอุบัติเหตุครั้งนี้ด้วย
อย่างไรก็ดี ภายหลังนักบินที่ 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รอดชีวิต กล่าวว่าเครื่องบินตกเนื่องจากถูกฟ้าผ่า ในขณะที่ทางการโซเวียตซึ่งเป็นผู้ผลิตเครื่องบิน กลับไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดของกล่องดำ
*****************************