18 พ.ย.2553 รู้ยัง "อังกะลุง" ไมใช่ของไทย เข้าใจตรงกันนะ
วันนี้เมื่อ 9 ปีก่อน กว่าจะรู้เรื่อง
************************
มั่นใจว่ายังมีคนไทยอีกหลายคนเชื่อว่า เครื่องดนตรีที่เรียกว่า “อังกะลุง” มีต้นกำเนิดที่สยามบ้านเราเอง หากแต่แท้จริงแล้ว เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกระทบชนิดนี้ ซึ่งทำจากไม้ไผ่ เล่นด้วยการเขย่าให้เกิดเสียง นั้น มีต้นกำเนินดที่ประเทศเพื่อนบ้านของเรา ที่อินโดนีเซียต่างหาก
และวันนี้เมื่อ 9 ปีก่อน คือวันที่สงครามแย่งชิงอังกะลังระหว่าง อินโดนีเวีย และมาเลเซียก็จบลง เมื่อฝรัง่มังค่า เอ๊ย! องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก ได้รับรองอย่างเป็นทางการว่าอังกะลุงอินของโดนีเซียเป็นงานชิ้นเอกของมรดกมุขปาฐะและมรดกที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติและสนับสนุนให้ชาวอินโดนีเซียและรัฐบาลอินโดนีเซียสงวนรักษา ถ่ายทอด ส่งเสริมการเล่น และสนับสนุนงานช่างฝีมืออังกะลุงต่อไป
วันนี้ หลายคนอาจอยากรู้จักเครื่องดนตรีชนิดนี้มากขึ้น
ต้นกำเนิด
อย่างที่รู้ว่า อังกะลุงได้รับความนิยมไปทั่วโลก แต่มีต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่เป็นจังหวัดชวาตะวันตก และจังหวัดบันเตินของประเทศอินโดนีเซียปัจจุบัน โดยชาวเผ่าที่เรียกว่า “ซุนดา” เป็นผู้เล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้มานานหลายศตวรรษ
ทั้งนี้ ชาววุนดาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซียอาศัยอยู่ในพื้นที่ทางตะวันตกของเกาะ ชวา มีจำนวนประชากรเป็นอันดับสองรองจากคนชวา ภาษาหลัก คือ ภาษาซุนดา อาศัยอยู่หนาแน่นในจังหวัดชวาตะวันตก (West Java) เช่น เมืองบันดุง เมืองการุต เมืองโบกอร์ เป็นต้น
อังกะลุงและดนตรีอังกะลุงได้กลายเป็นส่วนสำคัญของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของประชาคมชาวซุนดาในชวาตะวันตกและบันเติน การเล่นอังกะลุงในฐานะวงดุริยางค์ต้องอาศัยความร่วมมือและการประสานงานกัน เชื่อกันว่าจะส่งเสริมคุณค่าของการทำงานเป็นทีม การเคารพซึ่งกันและกัน และความกลมกลืนในสังคม
อังกะลุงในไทย
สำหรับบ้าน เราก็มีอังกะลุง หากเราไม่ใช่ต้นกำเนิดแรกเริ่มแค่นั้นเอง โดยนานแล้ว หลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้นำอังกะลุงเข้ามาในเมืองไทยครั้งแรก เมื่อราวปี 2451 ครั้งที่โดยเสด็จเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมหลวงพันธุวงศ์วรเดชขณะเสด็จพระราชดำเนินประพาสเกาะชวา
อังกะลุงชวาที่นำเข้ามาครั้งแรกเป็นอังกะลุงชนิดคู่ ไม้ไผ่ 3 กระบอก มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ยกเขย่าไม่ได้ ต้องใช้วิธีการบรรเลงแบบชวา (อินโดนีเซีย) คือมือหนึ่งถือไว้ อีกมือหนึ่งไกวให้เกิดเสียง
อังกะลุงที่นำเข้ามาสมัยนั้นมี 5 เสียง ตามระบบเสียงดนตรีของชวา ทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดทั้งตัวอังกะลุงและราง ภายหลังได้มีการพัฒนาโดยขยายจำนวนไม้ไผ่เป็น 3 กระบอก และลดขนาดให้เล็กและเบาลงเพิ่มเสียงจนครบ 7 เสียง ในสมัยรัชกาลที่ 6เชื่อกันว่า มีการพัฒนาการบรรเลงจากการไกวเป็นการเขย่าแทน นับว่าเป็นต้นแบบของการบรรเลงอังกะลุงในปัจจุบัน
หลวงประดิษฐ์ไพเราะได้นำวงอังกะลุงจากวังบูรพาภิรมย์ไปแสดงครั้งแรกในงานทอดกฐินหลวงที่วัดราชาธิวาสในสมัยรัชกาลที่ 6
วงอังกะลุง
โดยทั่วไปเครื่องหนึ่งจะมีเสียงเดียว การเล่นอังกะลุงให้เป็นเพลงจึงต้องใช้อังกะลุงหลายเครื่อง โดยมักจะให้นักดนตรีถืออังกะลุงคนละ 1–2 เครื่อง เมื่อต้องการโน้ตเสียงใด นักดนตรีประจำเสียงนั้นก็จะเขย่าอังกะลุง การเล่นอังกะลุงจึงต้องอาศัยความพร้อมเพรียงเป็นอย่างมาก
นอกจากอังกะลุงเครื่องละหนึ่งเสียงแล้ว ยังมีการผลิตอังกะลุงที่มีเครื่องหนึ่งมากกว่า 1 เสียงด้วย เรียกว่า อังกะลุงราว
อังกะลุงอาจเล่นเป็นวงดนตรีอังกะลุงโดยเฉพาะหรือเล่นรวมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ ก็ได้ มักพบในวงดนตรีของสถาบันการศึกษามากกว่าวงดนตรีอาชีพ
วงอังกะลุงวงหนึ่งจะมีอังกะลุงอย่างน้อย 7 คู่ หรือ 5 คู่ ก็ได้ตามความเหมาะสมของสถานที่และงาน โดยจะมีเครื่องประกอบจังหวะ ได้แก่ฉิ่ง,ฉาบเล็ก,กรับ,โหม่ง,กลองแขกนอกจากนี้มักมีเครื่องตกแต่งเพื่อเพิ่มความสวยงาม เช่น ธงชาติ, หางนกยูง เป็นต้น มีมากในเขตนนทบุรี
อังกะลุงของใคร?
อย่างไรก็ดี เมื่ออังกะลุงได้รับความนิยมแพร่หลาย แต่ละประเทศก็มีการดัดแปลงจนลดทอนอัตลักษณ์ความเป็นอังกะลุงของชนชาติในอินโดนีเซียไปพอสมควร จนกระทั่ง UNESCO ได้ประกาศให้อังกะลุงอินโดนีเซียเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของมนุษยชาติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2553
ว่ากันว่า สำหรับชาวอินโดนีเซีย นี่คือชัยชนะอีกครั้งในการฟ้องร้องแย่งสิทธิความเป็นเจ้าของสมบัติวัฒนธรรมชาติ
และยังว่ากันว่า นี่ก็ถือเป็นอีกครั้งหนึ่งเช่นกันที่แนวคิดเรื่องมรดกโลกทางวัฒนธรรมของ UNESCO ถูกบิดเบือนเพื่อสนองเป้าหมายทางการเมือง รวมทั้งเป็นเครื่องยืนยันอย่างชัดเจนอีกครั้งถึงความล้มเหลวของ UNESCO ในการผลักดันแนวคิดเรื่องมรดกโลกทางวัฒนธรรมให้มีขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน (ข้อมูลจาก https://www.sac.or.th)
ในอาเซียนเรา ยังมีความขัดแย้งทางวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ท่าจีบ ท่ารำ หนังใหญ่ ของใคร ระหว่างไทย กัมพูชา , หรือ ข้าวลักซา (Laksa) นาซิ เลอมัก (NasiLemak) และ บักกุ๊ดเต๋ (BukKut The) ของใครกันแน่หว่างมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือ ผ้าบาติก (Batik) ของใครกันแน่ๆ ระหว่างอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฯลฯ
NasiLemak
แต่ที่แน่ๆ สงครามระหว่าง อินโดนีเวียและ มาเลเวีย เรื่อง อังกะลุงของใครกันแน่ ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 ก็จบลงเสียทีเมื่อวันนี้ของ 9 ปีที่แล้ว
**********************************