วันนี้ในอดีต

6 ม.ค.2519   รำลึก 'พรานบูรพ์' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

6 ม.ค.2519  รำลึก 'พรานบูรพ์' บรมครูละคร นักปฏิรูปเพลงไทย

06 ม.ค. 2563

#วันนี้ในอดีต 6 ม.ค.2519 รำลึก 'พรานบูรพ์' บรมครูละครนักปฏิรูปเพลงไทย

 

 

********************************

 

 

เอ่ยชื่อ จวงจันทร์ จันทร์คณา หรือ พรานบูรพ์ นักฟังเพลงยุคเก่าต้องร้องอ๋อ เพราะท่านคือบรมครูนักแต่งเพลงไทย ผู้ได้ชื่อว่าเป็นคนแรกผู้ปฏิรูปรูปแบบเพลงไทยประกอบละครร้อง จากท่วงทำนองเพลงไทยเดิมที่มีลูกเอื้อนให้มีลักษณะสากลยิ่งขึ้น อาจกล่าวว่า พรานบูรพ์คือผู้ริเริ่มเพลงไทยสากลก็ได้ มีผลงานสร้างชื่อเสียงคือ ละครร้องเรื่อง “จันทร์เจ้าขา” และ “โรสิตา”

 

และด้วยเหตุที่วันนี้เมื่อ 43 ปีก่อน ตรงกับวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2519 พรานบูรพ์ได้ถึงแก่กรรม ในวัย 74 ปี จึงขอรำลึกถึงประวัติและผลงานของท่านมา ณ ที่นี้

 

 

6 ม.ค.2519   รำลึก \'พรานบูรพ์\' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

 

 

 

วัยต้น

 

พรานบูรพ์ หรือชื่อจริง คือ จวงจันทร์ จันทร์คณา เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 29 มีนาคม 2444 ที่ อ.เมือง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรของหลวงราชสมบัติ (จันทน์) นายอำเภอเมือง และนางสร้อย

 

ท่านมีน้องสาวร่วมบิดา มารดา 1 คน คือ “นางสังวาลย์ มณิปันตี” (ถึงแก่กรรม) เนื่องจากบิดาเป็นข้าราชการ ซึ่งต้องโยกย้ายไปรับราชการตามต่างจังหวัดต่างๆ เมื่อเติบวัยที่จะเข้าศึกษาได้ บิดาได้ย้ายมาจังหวัดราชบุรี จึงได้เข้าเรียนหนังสือที่ “วัดสัตนาถ” จังหวัดราชบุรี

 

หากแต่เรียนอยู่ได้ไม่นานบิดาก็ถึงแก่กรรมในขณะที่พรานบูรพ์มีอายุได้ 7 ปีเท่านั้น มารดาจึงได้พากลับบ้านเดิมที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี และได้เรียนหนังสือต่อจนอายุได้ 11 ปี

 

 

6 ม.ค.2519   รำลึก \'พรานบูรพ์\' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

พรานบูรพ์ (ซ้าย) ถ่ายภาพคู่กับแก้ว อัจฉริยะกุล

 

 

 

กระทั่งต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ระหว่างที่ศึกษาอยู่ที่โรงเรียนสวนกุหลาบนั้น นอกจากจะได้รับเลือกเข้าเล่นฟุตบอลในทีมโรงเรียนแล้ว ยังสามารถเล่นยูโด และไวโอลินได้ดีอีกด้วย

 

ที่สุดเมื่อจบชั้น ม.8 จึงได้เข้าศึกษาต่อที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นนายอำเภอ แต่อาจารย์เห็นว่าตัวเล็กจะเป็นนายอำเภอคงไม่เหมาะ จึงย้ายคณะไปเรียนวิศวกรรมศาสตร์

 

น่าเสียดาย พรานบูรพ์เรียนถึงปี 2 มารดาถึงแก่กรรม ท่านจึงและไม่มีทุนเรียนต่อ จึงออกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

 

 

สู้เพื่อสำเร็จ

 

เมื่อออกจากมหาวิทยาลัย ช่วงนั้นเป็นช่วงที่คณะละครราตรีพัฒนาเดินทางกลับจากสหรัฐอเมริกา พรานบูรพ์จึงได้เริ่มชีวิตละครด้วยการบอกบทหลังฉาก

 

และยังใช้เวลาไปกับการเขียนบทกวี โดยใช้นามแฝงว่า “อำแดงขำ” และยังเขียนเรื่องอ่านเล่นในนามปากกา “รักร้อย” และเริ่มแต่งบทละครเรื่อง “ทะแกล้วทหารสามเกลอ” ขึ้นเป็นเรื่องแรก

 

เรื่องนี้ถือว่าได้รับความสำเร็จอย่างดี ส่งผลให้ท่านได้เป็นผู้แต่งบทละครและกำกับการแสดงเอง จากนั้นก็เริ่มใช้นามปากกา “พรานบูรพ์” ครั้งแรก เมื่อเขียนเรื่อง “เหยี่ยวทะเล”

 

ในช่วงชีวิตการทำงาน พรานบูรพ์ ได้ริเริ่มดัดแปลงเพลงในละครร้องที่มีลูกคู่ร้องรับ มาสู่แบบสากล เนื่องจากยุคนั้นมีลูกคู่ยืดยาดเกินควร จึงใส่เนื้อร้องเต็มหรือตัดให้กระชับแทนลูกคู่ ใช้ดนตรีคลอ และใช้เครื่องดนตรีฝรั่งบรรเลงแทนเครื่องพิณพาทย์ลาดตะโพนฉับแกระ จนเป็นที่นิยมกันมาก

 

เมื่อคณะละครราตรีพัฒนาระงับการแสดง เพราะเจ้าของมีภารกิจทางด้านโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น พรายบูรพ์จึงเข้าทำงาน น.ส.พ.ประจำกองบรรณาธิการเดลิเมล์รายวัน เขียนเรื่องสั้น เรื่องยาว และบทพากย์การ์ตูนใน “น.ส.พ.เดลิเมล์วันจันทร์”

 

 

6 ม.ค.2519   รำลึก \'พรานบูรพ์\' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

คณะละครจันทโรภาส

 

 

 

ต่อมาได้จัดตั้งคณะละครชื่อ “ศรีโอภาส” ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “จันทโรภาส” ละครที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือเรื่อง “จันทร์เจ้าขา” ซึ่งถ่ายทำเป็นภาพยนตร์ เมื่อปี 2499 แสดงนำโดย “เจือ จักษุรักษ์”, “สายสนม นางงามเพชรบุรี” และ “น้อย จันทร์คณา”

 

 

 

ชีวิตส่วนตัว

 

จวงจันทร์ จันทร์คณาสมรสกับ “นางศรี จันทร์คณา” มีบุตรและธิดา ดังนี้

นายจารุ จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม)

นางสาวจุไร จันทร์คณา (ถึงแก่กรรม)

นางสาวจามรี จันทร์คณา

นางสาวจริยา จันทร์คณา

และยังมีบุตรชายอีกหนึ่งคนคือ

นายจงรัก จันทร์คณา ที่เกิดจาก“นางเทียมน้อย เนาวโชติ”

จวงจันทร์ จันทร์คณาถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2519 อายุได้ 74 ปี จังหวัดนครปฐมได้ปั้นหุ่นของพรานบูรพ์จัดแสดงใน“พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย” ไว้เพื่อเป็นเกียรติด้วย

 

 

6 ม.ค.2519   รำลึก \'พรานบูรพ์\' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

 

 

 

สำหรับผลงานด้านต่างๆ ของพรานบูรณ์มีดังนี้ 

 

 

บทภาพยนตร์

 

ไม่เคยรัก (2483) ประพันธ์เพลงและกำกับการแสดงโดย พรานบูรพ์

ในสวนรัก (2481) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

อ้ายค่อม (2481) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

ค่ายบางระจัน (2482) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

สนิมในใจ (2482) สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์

สามหัวใจ (2482) สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์

แผลเก่า (2483) สร้างโดย บูรพาศิลป์ภาพยนตร์

ไม่เคยรัก (2483) สร้างโดย บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

วังหลวงวังหลัง (2493)

 

ผลงานกำกับภาพยนตร์

 

ไม่เคยรัก (2483)

 

 

6 ม.ค.2519   รำลึก \'พรานบูรพ์\' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

ไม่เคยรัก (2483) ประพันธ์เพลงและกำกับการแสดงโดย พรานบูรพ์

 

 

 

 

วังหลวงวังหลัง (2493)

ค่ายบางระจัน (2508)

 

 

ผลงานประพันธ์เพลง

 

นัดพบ

จันทร์เจ้าขา

กระแจะจันทร์

อยากจะรักสักครั้ง

กุหลาบร่วง (2476)

กล้วยไม้ลืมดอย (2477)

ในสวนรัก (ภาพยนตร์ ในสวนรัก 2481)

ลอยคอ (ภาพยนตร์ ในสวนรัก 2481)

ข้างบ้านเรือนเคียง (พรานบูรพ์ ร้อง) (ภาพยนตร์ ใครผิดใครถูก 2482)

ขวัญของเรียม (ภาพยนตร์ แผลเก่า 2483)

หัวใจและความรัก (ภาพยนตร์ ไม่เคยรัก 2483)

บุปผากับภมร (ภาพยนตร์ ไม่เคยรัก 2483)

สายสวาท (ภาพยนตร์ ไม่เคยรัก 2483)

จันทร์เจ้าขา (ภาพยนตร์ จันทร์เจ้าขา 2499)

 

 

6 ม.ค.2519   รำลึก \'พรานบูรพ์\' บรมครูละคร  นักปฏิรูปเพลงไทย

 

 

นารีต้องมีผัว (ภาพยนตร์ เกาะสวาทหาดสวรรค์ 2512)

จันทร์เจ้าขา ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

กล้วยไม้ลืมดอย (2477)

กุหลาบร่วง (2476)

ขวัญของเรียม (2483) ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

กระแจะจันทร์

อยากจะรักสักครั้ง

จันทร์สวาท ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร

จันทร์จากฟ้า ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

จันทร์ลอย ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

ทะวายต็ม ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

น้ำผึ้งรวง ขับร้อง เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

เคียงเรียม ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร

สั่งเรียม ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร

ช้ำ ช้ำ ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร

ต้นข้าวคอยฝน ขับร้อง ชรินทร์ นันทนาคร/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

เดือนดวงเดืยว ขับร้อง สุเทพ วงศ์กำแหง

หวลให้ใจหาย ขับร้อง สุเทพ วงศ์กำแหง

คนเห็นคน ขับร้อง สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

สูงสุดสอย ขับร้อง สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

ฉันรักเธอ ขับร้อง สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์/เพ็ญศรี พุ่มชูศรี

ต้นรักดอกโศก ขับร้อง สวลี ผกาพันธุ์

 

 

*************************************

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย