ข่าว

กรมศุลกากร กวาดล้าง 'บุหรี่ไฟฟ้า' มูลว่ากว่า 72 ล้านบาท เตรียมทำลายพรุ่งนี้

เกาะติดข่าวสาร >> คมชัดลึก ออนไลน์
logoline

กรมศุลกากร แถลงผลกวาดล้างคดีสำคัญ ระดมกวาดล้าง 'บุหรี่ไฟฟ้า' มูลค่ากว่า 72 ล้านบาท ตรวจยึดจากห้างร้าน-โกดัง เตรียมทำลายของกลางทั้งหมดพรุ่งนี้

นายพันธ์ทอง ลอยกุลนันท์ รองอธิบดีกรมศุลกากร รักษาราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านการพัฒนา และบริหารการจัดเก็บภาษี ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร แถลงผลกวาดล้าง 2 คดี คดีแรกคือ ระดมการกวาดล้าง 'บุหรี่ไฟฟ้า' และทำลายของกลางในความผิดตามกฎหมายศุลกากรที่คดีสิ้นสุดแล้ว มูลค่ากว่า 72 ล้านบาท

 

 

โดยก่อนหน้านี้ กรมศุลกากร ทำงานร่วมกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ได้จับกุมและตรวจยึดสินค้าจากห้างร้าน ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ รวมไปถึงโกดัง ซึ่งประกอบไปด้วย เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หัวบุหรี่ไฟฟ้า ที่ใช้สำหรับดูด และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีการลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทยมาโดยตลอด และมีการดำเนินคดีจนถึงที่สุด

 

สำหรับของกลางดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดินและรอการทำลาย โดยของกลางที่จะนำไปทำลายในครั้งนี้ก็จะประกอบไปด้วย เครื่องบุหรี่ไฟฟ้า น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หัวบุหรี่ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับดูด และอุปกรณ์อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 874,535ชิ้น มูลค่าความเสียหาย 72,019,523.46 บาท

 

 

"ต้องบอกว่า บุหรีไฟฟ้า เป็นสิ่งต้องห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าของหรือผู้ครอบครองมีความผิดตามกฎหมายศุลกากร ในฐานความผิดซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ จำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งสิ่งของอันรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้ผ่านพีธีการศุลกากร หรือเคลื่อนย้ายของออกจากยานพาหนะ คลังสินค้าทัณฑ์บนโรงพักสินค้า ที่มั่นคง ท่าเรือรับอนุญาต หรือเขตปลอดอากร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากการพนักงานศุลกากร"

 

 

โดยของกลางทั้งหมดจะถูกนำไปทำลายด้วยวิธีการทุบทำลายโดยรถบด ณ บริษัท โกลเด้นดีพ(ประเทศไทย) จำกัด ต.ตาเสา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันพรุ่งนี้ (24 ก.พ. 66)

 

 

นายพันธ์ทอง ยังเปิดเผยถึงกรณีที่ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ได้ออกมาแฉ และยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีไม่ให้มีการจับปรับสำหรับผู้ที่ใช้ บุหรี่ไฟฟ้า ว่า หลังจากที่ตำรวจทำการตรวจยึดจากผู้ที่ใช้หรือครอบครอง ตามกระบวนการก็จะต้องส่งของกลางให้กรมศุลกากร เมื่อผู้ใช้ยังรับและประสงค์ตกลงจะระงับคดีก็สามารถทำได้ทันที่ในชั้นกรมศุลกากร ไม่ต้องมีการส่งฟ้องศาลเหมือนคดีอาญาทั่วไป จากนั้นของกลางจะตกเป็นของแผ่น และเข้าสู่กระบวนการรอทำลายต่อไป

 

 

"ส่วนเรื่องการระงับหรือกวดขันการลักลอบนำเข้า บุหรี่ไฟฟ้า อย่างที่เคยพูดไปก่อนหน้านี้่เวลาตรวจจะต้องคำนึงถึงการอำนวยความสะดวกทางด้านการค้าด้วย เราจึงไม่สามารถตรวจได้ทุกตู้คอนเทนเนอร์ ได้แต่สุ่มตรวจ จึงทำให้มีการเล็ดลอดเข้ามาได้บ้างบางส่วน ซึ่งเราก็จะใช้วิธีการหาข่าวและกวาดล้างตามโกดังแทน"

 

กรมศุลกากร

ส่วนคดีที่ 2 คือการตรวจยึดสินค้าลักลอบหนี ศุลกากร ซึ่งเป็นสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา อาทิ เสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้าจากแบรนด์ดัง มูลค่าความเสียหายกว่า 150 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร ได้รับแจ้งว่ามีการเก็บสินค้าที่มีถิ่นกำเนิดต่างประเทศไว้ในโกดังสินค้า ในพื้นที่พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร จึงนำกำลังเข้าตรวจค้น พบสินค้าประเภท กระเป๋า รองเท้า ที่มีถิ่นกำเนิดในต่างประเทศ และไม่พบเอกสารผ่านพิธีการศุลกากรมาสำแดงจำนวนมาก ถึงถือว่ามีความผิดในฐานความผิด มาตรา 242 และมาตรา 246 ประกอบมาตรา 166 และมาตรา 167 แห่ง พรบ.ศุลกากร พ.ศ.2560 จึงได้ทำการตรวจยึดเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย

 

 

ทั้งนี้ทาง กรมศุลกากร เล็งเห็นและให้ความสำคัญกับการป้องกัน และปราบปรามการลักลอบนำเข้าสินค้าที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตามความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับสากล ร่วมถึงการสร้างมาตรฐานการป้องกันสังคม เพื่อประโยชน์ทางการค้าของผู้ประกอบการที่สุจริตและประชาชนทั่วไป

 

กรมศุลกากร

 

logoline

ข่าวที่น่าสนใจ